DNA by SPU
  • Home
  • ​Speaker
  • สมัคร #DNAbySPU รุ่นที่ 7
  • Alumni's Opinions
  • DNA JOURNAL
  • INFOGRAPHIC
  • #MottoTH
  • Privacy Policy
  • BLOG DNA7bySPU

#DNAjournal EP.13 #DNAbySPU [Learning from feeling :: เรียนรู้… จาก“มวลอารมณ์]

9/19/2017

0 Comments

 
Picture
Picture
#DNAjournal EP.13 #DNAbySPU [Learning from feeling :: เรียนรู้… จาก“มวลอารมณ์] คุณพล หุยประเสริฐ
ผู้ก่อตั้งบริษัท H.U.I เเละคอนเสิร์ตดีไซเนอร์อันดับหนึ่งของประเทศไทย
.
.
อะไรเป็นปัจจัยให้คนธรรมดาก้าวไปสู่จุดสุดยอดในสายอาชีพ ?
.
.
อะไรทำให้ “Barack Obama ” ชนะใจคนอเมริกัน และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 44      
​ของสหรัฐอเมริกา ทั้งๆ ที่ประสบการณ์ทางการเมืองน้อยกว่าผู้สมัคร John McCain จากพรรครีพับลิกันเกือบสิบปี
.
.
อะไรทำให้ Francis Ford Coppola ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง The Godfather สามารถยกระดับจากภาพยนตร์ที่เต็มไปด้วยความรุนแรงและการนองเลือด กลายมาเป็นภาพยนตร์ที่ต้องใช้ปัญญาขบคิดใคร่ครวญ และต้องไตร่ตรองเพ่งพินิจอย่างลึกซึ้ง
.
.
“การเล่าเรื่องที่มีประสิทธิภาพและน่าประทับใจ” เปรียบเสมือนบันไดที่จะพาเราไปสู่จุดสูงสุดในสายอาชีพ ยิ่งไปกว่านั้นการนำเสนอที่ยอดเยี่ยม จะเปิดโอกาสให้เราสามารถสร้าง “สภาวะผู้นำ” ที่จะทำให้เราโดดเด่นและแตกต่างจากคนอื่นๆ
.
.
อย่างไรก็ตาม “การเล่าเรื่อง” เปรียบเสมือนดาบสองคม หากใช้ได้อย่างทรงพลังและน่าประทับใจ ย่อมจะหยุดผู้ฟังและทำให้เขาอยู่กับเราต่อ แต่ถ้าใช้ได้อย่างไม่ถูกต้อง การนำเสนอจะกลายเป็นการสร้างความน่าเบื่อ และจะถูกทอดทิ้งทันที
.
.
ดังนั้นเราจะออกแบบการเล่าเรื่องอย่างไร ? ให้มีคุณภาพที่ยอดเยี่ยม เต็มเปี่ยมด้วยความประทับใจและสามารถผลักดันพฤติกรรมได้
.
.
หลักสูตร #DNAbySPU ได้รับเกียรติจากคุณพล หุยประเสริฐ ผู้ก่อตั้งบริษัท H.U.I และคอนเสิร์ตดีไซเนอร์อันดับหนึ่งของประเทศไทย มาให้ความรู้ในหัวข้อ “มวลอารมณ์ออกแบบได้”
.
.
“การเล่าเรื่องที่ดีก็เป็นแค่การบริหารจัดการมวลอารมณ์ที่ดี” เราต้องบริหารให้มวลอารมณ์ไม่อยู่นิ่ง มีจังหวะความเร็วและเคลื่อนไหวแตกต่างกันออกไป และที่สำคัญคือ ต้องระวังอย่าให้มันแตกก่อนเวลาอันควร
.
.
“มวลอารมณ์” คือ พลังงานที่ถูกส่งออกมาจากคนหมู่มาก ผ่านทางสัญญาณต่างๆ ที่แสดงความรู้สึก เปรียบเสมือนเป็นอากาศธาตุหรือเสียงดนตรี ที่เรามองไม่เห็นแต่กลับรู้สึกได้ และส่งผลต่อความรู้สึกอย่างมหาศาล.
.
.
เมื่อเรายกสมาร์ทโฟนขึ้นมาถ่ายรูปในงานคอนเสิร์ต นั่นเป็นสัญญาณของมวลอารมณ์ “ความตื่นตา” และเมื่อเรารู้สึกถึงเพลงที่มีจังหวะที่เร้าใจ ทำให้เราอยากลุกขึ้นมาเต้น นั่นคือมวลอารมณ์ของความ “สนุกสนาน”
.
.
มีหลายธุรกิจที่ได้นำแนวคิด “การบริหารจัดการมวลอารมณ์” ไปปรับใช้ ไม่ว่าจะเป็นในโรงภาพยนตร์ที่ใช้การเล่นระดับของมวลอารมณ์เพื่อไม่ให้ผู้ชมลุกไปไหน หรือรายการโทรทัศน์ ที่เล่าการเติบโตของตัวละครผ่านมวลอารมณ์ที่เปลี่ยนไป รวมถึงการนำเสนอสินค้าผ่านคุณสมบัติที่เชื่อมโยงกับมวลอารมณ์ของลูกค้า
.
.
จริงๆ แล้ว “มวลอารมณ์” ไม่ได้มีหน้าที่สร้างความประทับใจอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสามารถทำหน้าที่ตรวจจับข้อมูลทางด้านอารมณ์ของลูกค้าได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งปกติเป็นการยากมากๆในการเข้าถึงอารมณ์ของลูกค้า
.


.
เพราะลูกค้าไม่สามารถบอกเราตรงๆ ได้ว่าเขารู้สึกอย่างไร? จึงเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่ต้องถอดรหัสมวลอารมณ์ออก โดยผ่านวิธีการสังเกตสัญญาณที่ลูกค้าได้แสดงออกมา แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนา ปรับปรุง และต่อยอดเพื่อสร้างให้ธุรกิจของเราส่งมอบความประทับใจให้ลูกค้าในท้ายที่สุด
.
.
ดังคำพูดของ Bill Gates ผู้ก่อตั้งบริษัท Microsoft ได้กล่าวไว้ว่า Your most unhappy customers are your greatest source of learning. ลูกค้าคนที่ไม่แฮปปี้ที่สุด คือแหล่งการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
.
.
#itsyouYOU 
.
.
🔹🔹
#DNAbySPU2 
“COME JOIN THE RIDE”
🔹🔹
www.DNAbySPU.com
​

Speaker #DNAbySPU2
https://goo.gl/XGaKHx
​

.
หมายเหตุ
1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU
2. ข้อมูล EP.13 ต่อยอดจากการบรรยาย หัวข้อ คุณพล หุยประเสริฐ ผู้ก่อตั้งบริษัท H.U.I และคอนเสิร์ตดีไซเนอร์อันดับหนึ่งของประเทศไทย มาให้ความรู้ในหัวข้อ “มวลอารมณ์ออกแบบได้”
#Speaker #DNAbySPU 6 May 2017
.
.
จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU
www.DNAbySPU.com
ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
0 Comments

#DNAjournal EP.12 #DNAbySPU[The magic is in the product :: ชนะใจลูกค้า…ด้วยเวทมนตร์ในตัวสินค้า]

9/19/2017

0 Comments

 
Picture
Picture
#DNAjournal EP.12 #DNAbySPU[The magic is in the product :: ชนะใจลูกค้า…ด้วยเวทมนตร์ในตัวสินค้า]
คุณภัทรพร โพธิ์สุวรรณ์ Founder and CEO #EventPop
.
.
เราจะลดงบประมาณในการ “ซื้อสื่อ”ลงได้อย่างไร ?
.
.
ในการทำธุรกิจนั้น ถือได้ว่างบประมาณในการ “ซื้อสื่อ” นั้นมีความสำคัญมาก มากซะจนสามารถเป็นปัจจัยในการกำหนดผู้ชนะได้ ถ้าใครเป็นเจ้าของกระบอกเสียงที่ใหญ่กว่า เข้าถึงคนได้มากกว่าและบ่อยกว่า ก็ย่อมมีโอกาสจะเป็นผู้ชนะในสนามธุรกิจ
.
.
และในสมัยนี้ทุกคนใช้ Social media การซื้อสื่อเลยเป็นเรื่องที่ท้าทายมากขึ้น เราต้องหาไอเดียใหม่ๆ ให้ลูกค้าไม่ลืมเรา เช่น ถ้าเดี๋ยวนี่คนหาข้อมูลสินค้าโดยดูจากรีวิว เราเลยต้องจ่ายเงินให้คนรีวิวเพื่อเชียร์สินค้าของเรา หรือต้องสร้างหน่วยงานคอยตรวจตราว่า ในโลกออนไลน์ ตอนนี้ใครเป็นคนที่ได้รับความนิยม เราต้องเข้าไปสนับสนุน net idol หรือเพจที่ได้รับความนิยม เพื่อให้เค้า “ผูก” สินค้าเราเข้ากับสิ่งที่เค้าทำ
.
.
เราเพิ่มหรือย้ายงบประมาณเพื่อให้ลูกค้า “เห็น” เรา และลึกๆแล้วเราหวังว่าเมื่อลูกค้าได้เห็นการดำรงอยู่ของเรา และได้ยินเสียงของเรา ลูกค้าจะเชื่อเราและซื้อสินค้าของเรา
.
.
แต่ว่ามันเป็นอย่างนั้นจริงหรือ ? ทำไมบางธุรกิจถึงได้ใช้งบโฆษณาที่น้อยกว่าคู่แข่งอย่างเห็นได้ชัดแต่กลับสร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ได้ ในปี 2009 Apple ใช้งบโฆษณาน้อยกว่างบโฆษณาของ Microsoft เกือบครึ่ง แต่ Apple กลับเป็นผู้ชนะในด้านยอดขาย และเป็น Apple ที่สร้างแรงบันดาลใจให้คนทั่วโลก
.
.
ที่มากกว่านั้นบางธุรกิจ เช่น Facebook, Youtube Google หรือ Line ไม่ได้ใช้งบประมาณในการซื้อสื่อเลยด้วยซ้ำ แต่กลับเป็น “สินค้าที่มีแรงดึงดูด” และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ถ้างบประมาณซื้อสื่อคือตัวชี้วัดความสำเร็จ ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นล่ะ ?
.
.
หลักสูตร #DNAbySPU ได้รับเกียรติจาก คุณภัทรพร โพธิ์สุวรรณ์ Founder and CEO, EventPop แพล็ตฟอร์มครบวงจรสำหรับการจัดงาน event มาบรรยายในหัวข้อ “ธุรกิจเริ่มต้นได้จากการเห็นปัญหา” และ การสร้างจุดเด่น การสร้างความแตกต่างให้ธุรกิจอยู่รอดในตลาดการแข่งขันธุรกิจรูปแบบเดียวกัน
.
.
สิ่งนั้นไม่ใช่ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะของผู้บริหาร ทีมงาน หรือการวางกลยุทธ์ที่ชาญฉลาดและซับซ้อน แต่เป็นแนวคิดที่ธรรมดาสุดๆ แต่ในความเรียบง่ายนี้แหละที่เต็มไปพลังและมีประสิทธิภาพอยู่ครบถ้วน
.
.
“Product Excellence” หรือ “สินค้าที่เป็นเลิศ” คือแบบแผนที่เปลี่ยนจากผู้ตามเป็นผู้นำได้ในเวลาที่รวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องอาศัยเงินจำนวนมหาศาลในการซื้อสื่อ และเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การมัดใจลูกค้า
.
.
สินค้าทั่วไปจะถูกสร้างมาเพื่อแก้ปัญหาที่มองเห็นได้ แต่ “สินค้าที่เป็นเลิศ” นั้นจะถูกออกแบบมาเพื่อท้าทายปัญหาที่ลูกค้า “รู้สึกและมองไม่เห็น”
.
.
ในสมัยที่ Apple อยู่ภายใต้การบริหารของสตีฟ จ้อบส์ เขามองว่าถึงแม้โฆษณาจะสร้างสรรค์และดึงดูดเท่าไหร่ แต่ก็เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพราะถ้าสินค้าไม่ดีจริงลูกค้าจะมาหาเค้าครั้งเดียวและไม่กลับมาอีกเลย ดังนั้นเขาจึงบริหารและจัดสรรงบประมาณใหม่ โดยดึงงบประมาณในส่วนของการโฆษณา ย้ายมาเป็นงบประมาณในการ “พัฒนาผลิตภัณท์” ภายใต้โจทย์ที่ท้าทายทีมงานทีมงานอย่างมากคือ “เพื่อสร้างคอมพิวเตอร์ที่ดีที่สุด”
.
.
“เราไม่ได้สร้างบริการนี้เพื่อหาเงิน แต่เราสร้างเงินจากบริการที่เป็นเลิศ” (we don’t build services to make money; we make money to build better services.) เป็นคำกล่าวของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก นักธุรกิจชาวอเมริกันผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Facebook ในการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ในปี 2555 เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจต่อนักลงทุนว่าเงินที่ได้จากนักลงทุนนั้นจะนำไปสร้างผลิตภัณท์ที่จะผลิดอกออกผลในระยะยาว
.
.
และเมื่อลูกค้ารู้สึกได้ถึง “สินค้าที่เป็นเลิศ” ลูกค้าจะค่อยๆบอกต่อเรื่องราวนี้ออกไปสู่เพื่อนคนอื่น และบอกต่อคนอื่น ในวงที่กว้างขึ้น และ กว้างขึ้นเรื่อยๆ เพราะสินค้านี้เปลี่ยนแปลงชีวิตเขาได้ จึงน่าจะเปลี่ยนแปลงชิวิตของเพื่อนเขาได้เช่นกัน
.
.
แนวความคิดสินค้าที่เป็นเลิศ นั้นเป็นเรื่องที่ดีและจำเป็นต่อการเติบโต แต่ทว่าเราไม่สามารถจะบอกกับตัวเองได้ว่า สินค้าของเราเป็นเลิศแล้ว มีเพียงแต่ “ข้อเสนอแนะ” จากลูกค้าเท่านั้น ที่จะนำทางเราสู่การสร้างสินค้าที่เป็นเลิศอย่างแท้จริง
.
.
ดั่งคำพูดของเคน บลังชาร์ด นักเขียนชาวอเมริกันและผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างภาวะผู้นำ ที่ ได้กล่าวไว้อย่างทรงพลังว่า Feedback is the breakfast of champions.ข้อเสนอแนะนั้น…คืออาหารเช้าของผู้ชนะ
.
.
อ้างอิง : http://www.businessinsider.com/samsungs-gigantic-ad-budget-in-context-2013-4, https://www.forbes.com/sites/larrymagid/2012/02/01/zuckerberg-claims-we-dont-build-services-to-make-money/#5d74febe2b11
.
.
#itsyouYOU 
.
.
🔹🔹
#DNAbySPU2 
“COME JOIN THE RIDE”
🔹🔹
www.DNAbySPU.com
​

Speaker #DNAbySPU2
https://goo.gl/XGaKHx
​

.
หมายเหตุ
1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU
2. ข้อมูล EP.12 ต่อยอดจากการบรรยาย ของคุณภัทรพร โพธิ์สุวรรณ์ Founder and CEO, EventPop แพล็ตฟอร์มครบวงจรสำหรับการจัดงาน event มาบรรยายในหัวข้อ “ธุรกิจเริ่มต้นได้จากการเห็นปัญหา” และ การสร้างจุดเด่น การสร้างความแตกต่างให้ธุรกิจอยู่รอดในตลาดการแข่งขันธุรกิจรูปแบบเดียวกัน
#Speaker #DNAbySPU 29 April 2017
.
.
จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU
www.DNAbySPU.com
ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
Picture
Picture
Picture
Picture
0 Comments

#DNAjournal EP.11 #DNAbySPU [Next station “VDO content” :: สถานีต่อไป VDO content]

9/18/2017

0 Comments

 
Picture
Picture
#DNAjournal EP.11 #DNAbySPU 
[Next station “VDO content” :: สถานีต่อไป VDO content]
คุณอาทิตย์ ธำรงธัญวงศ์ พิธีกรรายการ เกาเหลาไอที
.
.
กาลิเลโอ กาลิเลอิ นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลีซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ได้กล่าวไว้ว่า “You cannot teach a man anything; you can only help him to find it within himself.” เราไม่สามารถจะสอนใครได้ เราทำได้เพียงช่วยให้เขาค้นพบศักยภาพที่อยู่ในตัวของเขาเท่านั้น
.
.
ย้อนกลับไปวัยเด็ก วัยที่เต็มไปด้วยความกล้าหาญและจินตนาการ วัยที่เรามีแรงเหลือเฟือสำหรับรองรับศักยภาพที่หลากหลาย ทุกวันคือการเริ่มต้นการผจญภัยใหม่ๆที่ไร้การสิ้นสุด 
.
.
ในวัยเด็กนั้น จะเป็นวัยที่เราซื่อสัตย์ต่อความฝันของตนเองมากที่สุด เราหลายคนอยากเป็น “คนดังและมีชื่อเสียง” เราอยากเป็นนักร้อง นักกีฬา ดารา เพราะเรายังไม่รู้จักโลก เราไร้เดียงสาและอ่อนโยนเกินกว่าจะเข้าใจในความหมายของข้อจำกัด 
.
.
พอเราโตขึ้น สายตาเราเริ่มเห็นได้มากขึ้น เรามองเห็นโลกในมุมที่กว้างขึ้นแต่มีโลกทัศน์ที่แคบลง ในระหว่างทางเราเริ่มเรียนรู้ว่า การจะเดินตามความฝันในวัยเด็กนั้นมันเป็นเรื่องไปไม่ได้ หรือถ้าเป็นไปได้ก็ยากแสนยาก เราบางคนจึงเลือกจะปิดผนึกความฝันในวัยเด็กไว้ และเก็บรักษาไว้ในมุมหนึ่งมุมใดในสมองของเรา
.
.
อย่างไรก็ตามด้วยสมาร์ทโฟนและเทคโนโลยีอันทันสมัย บวกเข้ากับพื้นที่ที่ไม่ปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ต่อสังคม สามารถกู้ความฝันในวัยเด็กให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง 
.
.
หลักสูตร #DNAbySPU ได้รับเกียรติจากคุณอาทิตย์ ธำรงธัญวงศ์ พิธีกรรายการ เกาเหลาไอที มาให้ความรู้ในหัวข้อ “ในยุคดิจิตอล VDO Content สำคัญอย่างไร”
.
.
ตอนนี้สิ่งที่เราทำ หรือพวกเราคนใดคนหนึ่ง สามารถกลายเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมได้ ภายในชั่วเวลาเพียงข้ามคืน เพียงเรามีความกล้าหาญที่จะเล่าเรื่องราวที่เราอยากจะเล่า และเปล่งเสียงออกมาในรูปแบบของวีดีโอ 
.
.
เราทุกคนคือผู้กำกับ เราทุกคนคือผู้สร้าง ผู้ที่รังสรรค์เรื่องราวให้มีชีวิตและจับต้องได้ เราไม่ต้องมีใครให้ไฟเขียวกับวีดีโอของเราอีกต่อไป เพราะตอนนี้ Social media พาเราทลายกำแพงจากข้อจำกัดนั้น ไม่ต้องมีใครมาบอกว่าว่าวีดีโอที่เราทำดีหรือแย่ สร้างสรรค์หรือใช้ไม่ได้ เราสามารถตอบได้เองด้วยจิตวิญญาณ และส่งวีดีโอนั้นไปสู่สายตามหาชนได้ทันที  
.
.
ในช่วงเวลานี้กล้อง งบประมาณ คุณภาพการถ่ายทำ ทีมงาน รวมถึงความผิดพลาดไม่ใช่ปัญหาอะไรเลย เพราะใจความอยู่ที่ “การเรียกร้องความสนใจ” นั่นคือสิ่งสำคัญที่สุด ถ้าวีดีโอชิ้นนั้น “เรียกร้อง” เราสำเร็จ และมีอะไรบางอย่างที่ทำให้เรา “สนใจ” เราก็พร้อมจะมองข้ามรายละเอียดเล็กๆน้อยๆนั่นไป 
.
.
จริงๆแล้วการเล่าเรื่องราวผ่าน VDO content นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเลย เพราะประวัติศาสตร์การเล่าเรื่องมีการพัฒนามาโดยตลอด เพื่อให้เหมาะสมกับจังหวะและช่วงเวลาตั้งแต่การวาดเรื่องราวการล่าสัตว์บนผนังถ้ำจนถึงวาดเรื่องราวส่วนตัวบนกำแพงเฟซบุ้ค 
.
.
เรื่องราวต่างๆไม่ได้เปลี่ยนไป เพียงแต่ถูกนำมาเล่าใหม่ โดยผ่านกระบอกเสียงที่เรียกว่าเทคโนโลยี ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดีของผู้ประกอบการที่จะหยิบฉวยช่วงเวลานี้ไว้ โอกาสที่จะทำให้สินค้ามีชีวิต มีเรื่องราวและเชื่อมโยงเข้ากับจิตใจลูกค้า เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกค้าเข้าใจวัฒนธรรมของเราและรักเรามากขึ้น
.
.
ดั่งคำกล่าวของ เฟร็ด โรเจอร์ส นักเล่านิทานและพิธีกรรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กชาวอเมริกัน กล่าวว่า “Frankly, there isn’t anyone you couldn’t learn to love once you’ve heard their story, “ไม่มีทางที่เราจะไม่รักใคร เมื่อเราได้รับฟังเรื่องราวของเขา” 
.
.
อ้างอิง : : https://en.wikipedia.org/wiki/Fred_Rogers
.
.
#itsyouYOU 
.
.
🔹🔹
#DNAbySPU2 
“COME JOIN THE RIDE”
🔹🔹
www.DNAbySPU.com
​

Speaker #DNAbySPU2
https://goo.gl/XGaKHx

​
.

หมายเหตุ 
1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU
2. ข้อมูล EP.11 ต่อยอดจากการบรรยาย ของคุณอาทิตย์ ธำรงธัญวงศ์ พิธีกรรายการ เกาเหลาไอที มาให้ความรู้ในหัวข้อ “ในยุคดิจิตอล VDO Content สำคัญอย่างไร”
 #Speaker #DNAbySPU 29 April 2017
.
.
จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU
www.DNAbySPU.com
ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
Picture
หลักสูตร DNAbySPU #DNAjournal EP.11 ,คุณอาทิตย์ ธำรงธัญวงศ์ พิธีกรรายการ เกาเหลาไอที ,Next station “VDO content” ,สถานีต่อไป VDO content ,คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Picture
Picture
Picture
Picture
0 Comments

#DNAjournal EP.10 #DNAbySPU [World changing We improving :: เมื่อโลกเปลี่ยน...เราต้องปรับ]

9/18/2017

0 Comments

 
Picture
Picture
#DNAjournal EP.10 #DNAbySPU 
[World changing We improving :: เมื่อโลกเปลี่ยน...เราต้องปรับ] 
คุณศุภกานต์ วงศ์แก้ว ภัณฑารักษ์ ปกติศิลป์ ผู้ปั้น 'ราชบุรี' 
.
.
ในโลกยุคดิจิตอล เราสามารถค้นหาคำตอบให้กับปัญหาหลายต่อหลายอย่าง ได้อย่างง่ายดายเพียงแค่ปลายนิ้ว แต่กลับเป็นเรื่องยากในการทำความเข้าใจลูกค้าของเรา และยิ่งซับซ้อนขึ้นไปอีกในการทำการสื่อสารการตลาด (Marketing communication) 
.
.
ในอดีตลูกค้าของเรา จะต้องรับข้อมูลข่าวสารต่างๆผ่านทาง “สื่อหลัก” เท่านั้นซึ่งมีอยู่ไม่กี่อย่าง เราจึงเริ่มมีแนวคิดในการ “พูดแทรก” ขึ้น เราแทรกตัวลงไปกับข้อมูลข่าวสารความเป็นไปของโลกและสังคมที่ลูกค้ารอที่จะรับรู้ 
.
.
เราจึงใช้ความคิดสร้างสรรค์และเทคนิคต่างๆพัฒนาภาพยนตร์โฆษณาที่จูงใจแต่แฝงด้วยความตลก ประทับใจ เศร้า หรือสนุกสนาน เราใช้คนมีชื่อเสียงโพสท์ท่าหล่อๆสวยๆในหนังสือพิมพ์ ใช้เสียงโฆษกสุดแสนไพเราะบนวิทยุ เราพยายามเล่นกับอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์และหวังว่าลูกค้าจะจำเราได้
.
.
แต่วันนี้ไม่ใช่อย่างนั้น อดีตอันหอมหวานได้ผ่านไปแล้ว เทคโนโลยีและสมาร์ทโฟนได้ทำให้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบเก่าไปสู่จุดจบ 
.
.
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีนั้น ทำให้ลูกค้าของเรามีพลังและตัวใหญ่ขึ้น วันนี้ลูกค้าของเรามีความเป็นตัวของตัวเอง มีความคิดสร้างสรรค์ และที่สำคัญชอบจะ “พูด” มากกว่า “ฟัง”
.
.
เมื่อไหร่ที่เรา “พูดแทรก” ลงไปในข่าวสารที่ลูกค้าต้องการรับรู้ จนลูกค้าของเราเกิดความรำคาญและรู้สึกไม่พอใจ ลูกค้าของเราจะลงโทษเรา ไม่ใช้ด้วยไม้เรียวแต่โดยการบล็อกและมองข้าม ซึ่งร้ายแรงกว่าการไม่สนใจเสียอีก
.
.
และบางครั้งถ้าเราพูดแทรกบ่อยๆจน “ล้ำเส้น” ลูกค้าจะใช้สมาร์ทโฟนโทรชวนเพื่อนของลูกค้ามาลงโทษเราอีกด้วย ดังนั้นเราทำตัวเหมือนในอดีตไม่ได้ แบบนั้นมันหมดสมัยไปเสียแล้ว
.
.
อย่างไรก็ตามการสื่อสารการตลาดนั้นก็เป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะในการแข่งขันกับคู่แข่งทางธุรกิจของเรา ดังนั้นเราต้องทำอย่างไรไม่ให้ลูกค้าปฎิเสธเรา ?
.
.
หลักสูตร #DNAbySPU ได้รับเกียรติจาก คุณศุภกานต์ วงศ์แก้ว ภัณฑารักษ์ ปกติศิลป์ ผู้ปั้น 'ราชบุรี' ให้มีชีวิตผ่านพื้นที่ศิลปะชุมชนโดยใช้เมืองทั้งเมืองให้เป็นเหมือนผืนผ้าใบ มาแนะนำวิธีในการทำการสื่อสารการตลาดที่ทันสมัย สนุกสนานแต่ทรงพลัง
.
.
User-Generated Content หรือ “เปิดพื้นที่ให้ลูกค้าร่วมกันสร้างเนื้อหา” เป็นเสมือนการสร้างสะพานเชื่อมระหว่างลูกค้าเราและธุรกิจของเราเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้เรื่องราวของเขาเดินทางไปพร้อมกับเรื่องราวของเรา
.
.
ด้วยแนวคิดที่ว่า “ไม่มีใครถ่ายทอดความงดงามของพื้นที่ราชบุรี ได้ดีไปกว่าคนในพื้นที่ราชบุรีเอง” จึงได้ให้ศิลปินมืออาชีพทำหน้าที่เหมือนที่ปรึกษา และผลักดันศักยภาพให้คนในพื้นที่สร้างงานศิลปะขึ้นมา เพื่อถ่ายทอดเรื่องราว ความรู้สึกต่างๆ ให้คนภายนอกได้รับรู้ โดยไม่ต้องทองทิ้งตัวตน
.
.
ซึ่งวิธีคิดแบบ “เปิดพื้นที่ให้ลูกค้าร่วมกันสร้างเนื้อหา” นี้มีความคล้ายคลึงกับพฤติกรรมของมนุษย์ในเนื้อหาของ “เศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม” (Behavioral Economics) ซึ่งสรุปว่ามนุษย์นั้นไม่ได้ใช้เหตุและผลในการตัดสินใจ แต่ใช้อารมณ์และพื้นฐานทางจิตวิทยาเป็นตัวกระตุ้นในการตัดสินใจต่างหาก 
.
.
จริงๆแล้วเรานั้นให้ความสำคัญกับการ”ไปถึงจุดหมาย” มากกว่า “ตัวจุดหมาย” เอง เรามีความสุขกับการต่อสู้ ในสิ่งที่ท้าทาย อุปสรรค และข้อจำกัดต่างๆ และถ้าเราได้จุดหมายมาครอบครองอย่างยากลำบากและตะเกียกตะกายเรากลับมีความสุขและสนุกมากกว่าการเดินไปง่ายๆเพื่อคว้าจุดหมายมาไว้ในครอบครอง”
.
.
และวิธีคิดนี้ไม่ได้เหมาะสมกับการทำสื่อสารการตลาดเพียงอย่างเดียว จริงๆแล้วมีผู้ประกอบการมากมาย ได้นำวิธีคิดนี้ ไปใช้กับการผลิตสินค้าอีกด้วย
.
.
ผู้ผลิตจะเตรียมสินค้าที่ “ทำเสร็จแค่ครึ่งเดียว” ไว้แล้ว ส่งมอบที่เหลือให้ “ผู้ซื้อ” นั้นทำต่อ เช่น แป้งเค้ก Imperial ที่ต้องใส่ไข่ไก่และวัตถุดิบผสมลงไปถึงจะสมบูรณ์แบบ ตุ้กตาโมเดลของเล่นหรือที่รู้จักกันในนาม “พลาโม” ของบริษัท Bandai ชุดเฟอร์นิเจอร์ที่แยกมาเป็นชิ้นๆเพื่อให้สามารถมาประกอบที่บ้านเองภายใต้ยี่ห้อ IKEA หรือแม้แต่ Lego ของเล่นที่เสริมพัฒนาการการเติบโตของกล้ามเนื้อมัดเล็กและจินตนาการในสมองของเด็กอายุ1ขวบครึ่งขึ้นไป 
.
.
ซึ่งวิธีคิดนี้เรามักรู้จักกันในนาม DIY หรือ Do It Yourself เป็นการสร้างให้เรา “มีความสุข”ระหว่างทำ ถึงแม้ว่าปลายทางรูปร่างจะดูไม่ได้เลยก็ตาม
.
.
บางคนมองว่า User-Generated Content เป้นเหมือนการปฏิเสธและปิดประตู แต่อยากเชิญชวนให้ผู้ประกอบการอย่างเราๆมองว่าเป็นการเชิญชวนมากกว่า เชิญชวนสู่ภาษาของเรา วัฒนธรรมของเรา และธุรกิจของเรา
.
.
ดั่งคำพูดของเบนจามิน แฟรงคลิน ผู้มีผลงานโดดเด่นในด้านวิทยาศาสตร์และการเมือง จนได้ปรากฏในธนบัตรของสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวไว้ว่า Tell me and I forget. Teach me and I remember. Involve me and I learn. “บอกฉัน ฉันจะลืม สอนฉัน ฉันจะจำ แต่ถ้าให้ฉันได้ทำ ฉันจะเรียนรู้”
.
.
อ้างอิง : https://www.behavioraleconomics.com/introduction-to-be/.
.
.

#itsyouYOU 

.
​.

🔹🔹
#DNAbySPU2 
“COME JOIN THE RIDE”
🔹🔹
www.DNAbySPU.com
​

Speaker #DNAbySPU2
https://goo.gl/XGaKHx

.
หมายเหตุ :
1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU
2. ข้อมูล EP.10 ต่อยอดจากการบรรยาย ของคุณศุภกานต์ วงศ์แก้ว ภัณฑารักษ์ปกติศิลป์ ผู้ปั้น 'ราชบุรี' ให้มีชีวิตผ่านพื้นที่ศิลปะชุมชนโดยใช้เมืองทั้งเมืองให้เป็นเหมือนผืนผ้าใบ #Speaker#DNAbySPU 22 April 2017
.
.
จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU
www.DNAbySPU.com
ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
0 Comments

#DNAjournal EP.9 #DNAbySPU[Desire for service to “Service design” :: จากความปรารถนาในบริการ สู่ “การออกแบบบริการ”]

9/18/2017

0 Comments

 
Picture
Picture
#DNAjournal EP.9 #DNAbySPU
[Desire for service to “Service design” :: จากความปรารถนาในบริการ สู่ “การออกแบบบริการ”]
สิรโสมย์ บริสุทธิ์สุวรรณ์ Co-Founder และ CEO, U Drink I Drive
.
.
เราจะสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจบริการได้อย่างไร ?
.
.
“Differentiate or Die” หรือ “ไม่ต่างก็ตาย” เป็นวลีที่แจ๊ค เทราท์ (Jack Trout) ปรมาจารย์ด้านการตลาดได้กล่าวไว้ และเป็นชื่อหนังสือของเขาซึ่งถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 2000 เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้จัดว่าเป็นสุดยอดคัมภีร์การตลาดเลยทีเดียว
.
.
“ไม่ต่างก็ตาย” เป็นวิธีคิดที่เรียบง่าย แต่ทรงพลัง หากเราไม่มีความแตกต่าง เราก็จะไม่มีความโดดเด่นในสนามแข่งขัน เมื่อเราไม่โดดเด่นเราก็จะปราศจากอาวุธ และกลายเป็นผู้พ่ายแพ้เพราะเราไม่สามารถต่อสู้กับคู่แข่งได้
.
.
เราจึงออกแบบผลิตภัณฑ์และรูปโฉมร้านค้าเพื่อให้แตกต่างจนลูกค้าสัมผัสได้ เราใส่ใจในรายละเอียดต่างๆ ตั้งแต่พรมเช็ดเท้าจนถึงอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศ  เราพยายามสร้างความประทับใจในทุกมิติเพื่อหวังว่าลูกค้าจะได้รับ “ประสบการณ์ชั้นดี” จากการบริการของเรา
.
.
แต่จริงๆแล้วสิ่งที่เรากำลังดิ้นรนสิ่งที่ลูกค้าต้องการจริงรึเปล่า ? เพราะโดยเนื้อแท้แล้วลูกค้าไม่ได้ต้องการแค่ “ประโยชน์ใช้สอย” หรือ “รูปลักษณ์” ของบริการเท่านั้น แต่พวกเขาต้องการ “ประสบการณ์”  ที่จะเติมเต็มความต้องการในชีวิตของพวกเขา
.
.
หรือเปลี่ยนให้เป็นคำถามที่ง่ายกว่านั้น “เราต้องทำอย่างไรถึงจะสื่อแนวคิดของเราไปถึงประสบการณ์ของลูกค้าได้ ?”
.
.
หลักสูตร #DNAbySPU ได้รับเกียรติจากคุณสิรโสมย์ บริสุทธิ์สุวรรณ์ Co-Founder และ CEO, U Drink I Drive บริการพนักงานขับรถส่วนตัวที่มาให้ความรู้ในหัวข้อ “เพราะ Service Mind สำคัญในธุรกิจบริการ” ดำเนินการสัมภาษณ์โดยพิธีกรรับเชิญ คุณเปอร์-สุวิกรม อัมระนันทน์
.
.
กลยุทธ์ที่ U Drink I Drive ใช้ในการถ่ายทอดแนวคิดไปสู่ประสบการณ์ของลูกค้าคือ “การออกแบบบริการ” หรือ Service Design ซึ่งเป็นการนำเอาข้อมูลของลูกค้า มาทำความเข้าใจและแปลงข้อมูลตัวเลขให้เป็นอารมณ์ของมนุษย์ แล้วจึงนำไปออกแบบบริการให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่สอดคล้องตามความต้องการ
.
.
ซึ่งการออกแบบบริการนั้นมีกระบวนการออกแบบ 3 ขั้นตอนคือ 1. สำรวจและเก็บข้อมูล 2. สร้างแนวคิดงานบริการ 3. นำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาต่อยอด และต้องทำซ้ำไปมาอยู่เรื่อยๆ เป็นวงกลมที่ไม่รู้จักจบสิ้น เพื่อพัฒนาไปสู่การส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า
.
.
ในขั้นตอนแรก U Drink I Drive กำเนิดจากการสำรวจของลูกค้าระดับบนที่มีไลฟ์สไตล์กิน-ดื่ม-เที่ยว และเป็นเจ้าของรถยนตร์ส่วนตัวราคาแพง ลึกๆแล้วลูกค้ากลุ่มนี้ มักจะไม่ได้วางแผนไว้ก่อนว่าคืนนี้ต้องไปดื่มสังสรรค์ที่ไหน แต่บังเอิญต้องไปงานสังสรรค์เพื่อเข้าสังคม และอาจเผลอดื่มจนมีอาการมึนเมา แต่ไม่อยากขับกลับเพราะมีความรับผิดชอบต่อสังคม ถ้าจะให้ทิ้งรถไว้ก็กลัวจะไม่ปลอดภัย
.
.
เมื่อได้ทาบข้อมูลแล้ว U Drink I Drive จึงออกแบบประสบการณ์ “ท่านเมา…เราขับให้” โดยให้บริการคนขับรถที่ดูแลลูกค้าตั้งแต่หน้าร้าน และขับรถพากลับถึงบ้านอย่างปลอดภัย ด้วยกำหนดความเร็วที่ไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทันทีที่ขึ้นรถจะมีบริการผ้าเย็นและน้ำดื่มบริการ อาจจะฟังเหมือนธรรมดา แต่สิ่งเล็กๆน้อยๆแบบนี้แหละที่สร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้เป็นอย่างดี
.
.
ในขั้นตอนสุดท้าย U Drink I Drive จะโทรไปสอบถามลูกค้าถึงประสบการณ์การใช้งาน  เพื่อนำมาวิเคราะห์ปรับปรุงรูปแบบการบริการและสร้างความ สะดวกและความพึงพอใจให้เกิดขึ้นสูงสุด ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการออกแบบบริการจะกลายเป็นมาตรฐานบริการ (Service Standard) ที่บริษัทจะใช้เป็นมาตรฐานในการให้พนักงานปฏิบัติตาม เพื่อส่งมอบบริการให้แก่ลูกค้าคนต่อไป
.
.
การออกแบบบริการ (Service Design) จึงถือเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่มีส่วนสำคัญ อย่างยิ่งในการกำหนดอนาคตของธุรกิจ  และการสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจบริการ รวมถึงพัฒนาศักยภาพของธุรกิจเราว่ายังมีอะไรที่ขาดและควรจะเติมเต็ม แต่ที่สำคัญที่สุด เราต้องปรับกระบวนคิดและเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อการบริการเสียใหม่
.
.
เราควรหันมอง “งานบริการ” ว่ามิใช่เพียงแค่การสร้างประสบการณ์ชั่วขณะและฉาบฉวยเท่านั้น แต่ยังหมายถึง “โอกาส” ที่จะช่วยสร้างสรรค์และผลักดันธุรกิจในระยะยาวให้ไปสู่เส้นทางของความสำเร็จได้
.
.
คำถามที่สำคัญคือ เราจะเลือกเดินตามเส้นทางที่คนอื่นทำไว้แล้วหรือจะกล้าสร้างสรรค์ให้เกิดเส้นทางใหม่ที่แตกต่าง
.
.
อนาคตเรา… เราเป็นคนกำหนด
.
.
อ้างอิง : ดาวน์โหลดฟรี eBook “คู่มือการออกแบบบริการ”
​ http://www.tcdc.or.th/projects/ServiceDesignThailand/
.
.
#DNAbySPU2
“IT’S COMING”
.
#DNAbySPU รุ่น 2 [Register NOW]
ยังไม่เปิด แต่หากสนใจลงชื่อไว้ก่อนที่นี่เลย
http://www.DNAbySPU.com/DNAbySPU2.html
.
หมายเหตุ :
1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU
2. ข้อมูล EP.9 ต่อยอดจากการบรรยาย ของคุณสิรโสมย์ บริสุทธิ์สุวรรณ์ Co-Founder และ CEO, U Drink I Drive บริการพนักงานขับรถส่วนตัวที่มาให้ความรู้ในหัวข้อ “เพราะ Service Mind สำคัญในธุรกิจบริการ” ดำเนินการสัมภาษณ์โดยพิธีกรรับเชิญ คุณเปอร์-สุวิกรม อัมระนันทน์ #Speaker #DNAbySPU 22 April 2017
.
.
จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU
www.DNAbySPU.com
ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
Picture
Picture
0 Comments

#DNAjournal EP.8 #DNAbySPU[Business design as a part of consumer’ lives :: เริ่มที่มนุษย์ จบที่พฤติกรรม]

9/18/2017

0 Comments

 
Picture
Picture
#DNAjournal EP.8 #DNAbySPU
[Business design as a part of consumer’ lives :: เริ่มที่มนุษย์ จบที่พฤติกรรม] คุณนันทิศา อัครเกษมพร Associate Manager Line@
.
.
เราจะออกแบบธุรกิจของเราให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตลูกค้าเราได้อย่างไร ?
.
.
เมื่อเราพูดถึง “การออกแบบ” หลายๆครั้งความคิดในหัวของเรามักจะเน้นไปที่การเชื่อมโยงแนวความคิดหลายๆอย่างการผสมผสานและลดทอนสิ่งต่างๆ โดยการเพิ่มเติมในส่วนเล็กๆน้อยๆเข้าไว้ด้วยกันและขจัดบางสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป 
.
.
ในฐานะผู้ประกอบการ เรามีความมุ่งมั่นที่จะตอบสนองความต้องการอันแท้จริงของลูกค้าของเรา เราจึงพยายามออกแบบสินค้าและบริการให้สวยและมีเสน่ห์ขึ้น ปรับปรุงให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น แก้ไขในส่วนที่ยากให้ดูน่าใช้มากขึ้น เพื่อหวังว่าลูกค้าของเราจะได้ประสบการณ์ที่ดีที่สุดจากเรา
.
.
แต่ทำไมหลายๆครั้งเราพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ดีที่สุด ใช้ง่ายที่สุด สวยที่สุดจนลูกค้าของเราเอ่ยปากชมเชย แต่ลูกค้ากลับไม่สนใจสินค้าและบริการของเราแต่กลับไปใช้จ่ายในธุรกิจคู่แข่ง หลายต่อหลายครั้ง หรือว่าการออกแบบนั้นจะไม่สามารถขับเคลื่อนพฤติกรรมได้ ?
.
.
ถ้าเราย้อนกลับไปศึกษาในปรัชญาของการออกแบบ เราจะพบว่าเราได้มองข้ามบางสิ่งบางอย่างที่สำคัญไป หลายๆครั้งถ้าพูดถีง “การออกแบบ” เรามักจะมองไปที่ความงดงามและสุนทรียภาพที่จับต้องได้ แต่ถ้าเราใช้เวลาอีกสักหน่อยเพื่อมองให้ลึกลงไปอีกขั้น เราจะมองเห็นในแก่นที่แท้จริงของการออกแบบนั่นคือ “การออกแบบที่คิดถึงผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง” หรือ (Human-centered design)
.
.
หลักสูตร #DNAbySPU ได้รับเกียรติจากคุณนันทิศา อัครเกษมพร Associate Manager ทีม LINE@ บริษัท ไลน์ พลัส คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ที่มาแนะนำวิธีการการออกแบบที่คิดถึงผู้ใช้เป็นศูนย์กลางซึ่งนำไปสู่การขับเคลื่อนพฤติกรรม
.
.
การทำการตลาดในอดีตมักจะพึ่งพาการทำโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ผ่านทางกระบอกเสียงอันใหญ่ที่ถ่ายทอดเสียงของเราให้ไปได้ไกลที่สุดและหวังว่าลูกค้าที่ได้ยินเสียงของเราจะทำตามที่เราบอกและมาใช้บริการธุรกิจของเรา  
.
.
ซึ่งลูกค้าก็ยินยอมรับสารที่เราส่งออกไปแต่โดยดีและทำในสิ่งที่เราปราถนาให้ทำ เพราะในอดีตลูกค้ามักไม่ค่อยมีตัวเลือกมากนัก ผู้ประกอบการอย่างเราจึงเคยชินกับการ “ผลักธุรกิจของเราไปสู่ลูกค้าของเรา 
.
.
แต่ในสมัยนี้ พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับเทคโนโลยีที่เติบโตแบบก้าวกระโดด ทำให้ลูกค้า “หวง” พื้นที่ส่วนตัวมากขึ้นและไม่ต้องการโดน “ขัดจังหวะ” ลูกค้าพยายามปิดกั้นเสียงที่เราส่งไปเพื่อแทรกบทสนทนาของเขา ลูกค้าปฎิเสธในข้อความที่เราส่งออกไป เราจึงไม่สามารถทำอย่างเก่าได้
.
.
ดังนั้นเราควรจะเปลี่ยนวิธีคิดของเรา เราควรยกเลิกระบบที่เรียกว่าการ “ผลัก” และควรส่งเสริมการ “ดึง” ขึ้นมาแทนที่ 
.
.
เราต้องดึงลูกค้าให้เข้ามามีส่วนร่วมกับธุรกิจของเรา ด้วยการวางผู้ใช้ไว้ศูนย์กลาง แล้วจึงสร้างโอกาสที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนพฤติกรรม โดยการปลุกเร้าลูกค้าให้ต้องการสินค้าของเราในห้วงเวลาที่กำลังจะจ่ายเงินให้ธุรกิจคู่แข่ง กระตุ้นลูกค้าในช่วงเวลาที่ลูกค้าควรได้รับการถูกกระตุ้น 
.
.
โดยแท้จริงไม่ได้นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและร่ำรวยไม่ได้ออกแบบสินค้าและบริการของเขาอย่างดีเยี่ยมเท่านั้น แต่เขาเหล่านั้นได้ออกแบบสิ่งที่กระตุ้นพฤติกรรมของมนุษย์เพื่อรองรับสินค้าของเขาด้วย
.
.
โทมัส อัลวา เอดิสัน คือชายที่ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าขึ้นสำเร็จเป็นคนแรกในโลก แต่สำหรับตัว เอดิสันเองแล้ว เขากลับไม่ได้พึงพอใจกับความสำเร็จตรงหน้าเท่าไหร่นัก เพราะสิงประดิษฐ์ที่นี้ถ้าขาดอุปกรณ์ที่ให้กำเนิดและส่งผ่านกระแสไฟฟ้าที่ใช้กันแพร่หลาย “หลอดไฟดวงแรกของโลก” จะเป็นได้แค่ผลิตภัณท์ต้นแบบที่เอาไป จัดแสดงตามงานแสดงเทคโนโลยีเท่านั้นหรือที่เราเรียกกันว่า “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” 
.
.
ดังนั้นงานของเอดิสันจึงยังไม่จบ สิ่งที่เขาต้องทำต่อคือ การนำสินค้าเข้าสู่ตลาดหรือ“นำงานวิจัยขึ้นหิ้งไปสู่ห้าง” และในหนึ่งปีหลังจากนั้นเขาได้จดทะเบียนสิทธิบัตรระบบจัดส่งไฟฟ้า (Electric Distribution System) เพื่อทำหน้าที่ผลิต จัดส่งและขายกระแสไฟฟ้าไปสู่ทุกครัวเรือนในนิวยอร์ก จึงทำให้หลอดไฟของเขาถูกใช้อย่างแพร่หลาย ด้วยวิธีคิดของเขาทำให้ และมีชื่ออยู่เหนือกาลเวลา โดยกลายเป็นสัญลักษณ์ในการคิดค้นนวัตกรรมของนวัตกรทั่วโลก
.
.
เพราะเอดิสันมองว่าสินค้าของเขาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่มนุษยชาติได้ การที่จะทำให้สินค้าของเขาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตลูกค้า เขาต้องสร้างโอกาสในการใช้งานเสียก่อน 
.
.
ดังนั้นผู้ประกอบที่ดีนั้น นอกเหนือจากจะให้ความสำคัญกับสินค้าแล้ว ควรจะให้ความสำคัญกับการออกแบบโอกาสในการใช้งานด้วย ซึ่งวิธีการในการหาโอกาสนั้นไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อน แต่กลับตรงไปตรงมาและง่ายแสนง่ายกว่าที่ราคิด เพียงแค่ดึงให้ผู้ใข้เป็น “ศุนย์กลาง” แล้วจึงเชื่อมโยงกับโอกาสในการใช้สินค้าของเราด้วยเครื่องมือที่เรามีเพื่อให้สินค้าของเราเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตลูกค้า
.
.
ดั่งคำพูดของกาลิเลโอ กาลิเลอิ นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลีซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ได้กล่าวไว้ว่า All truths are easy to understand once they are discovered; the point is to discover them. ความจริงในเรื่องต่างๆง่ายที่จะเข้าใจเมื่อมีการค้นพบแล้ว ประเด็นคือ เราต้องค้นหามันให้เจอ
.
.
อ้างอิง : https://en.wikipedia.org/wiki/Thomas_Edison
.
.
#itsyouYOU 
.
.
🔹🔹
#DNAbySPU2 
“COME JOIN THE RIDE”
🔹🔹
www.DNAbySPU.com
​

Speaker #DNAbySPU2
https://goo.gl/XGaKHx

​.

หมายเหตุ :
1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU
2. ข้อมูล EP.8 ต่อยอดจากการบรรยาย ของคุณนันทิศา อัครเกษมพร Associate Manager ทีม LINE@ บริษัท ไลน์ พลัส คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ที่มาแนะนำวิธีการการออกแบบที่คิดถึงผู้ใช้เป็นศูนย์กลางซึ่งนำไปสู่การขับเคลื่อนพฤติกรรม #Speaker #DNAbySPU 25 March 2017
.
.
จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU
www.DNAbySPU.com
ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
Picture
Picture
0 Comments

#DNAjournal EP.7 #DNAbySPU[Pursue the imperfect…ไล่ตามความไม่สมบูรณ์แบบ]

9/18/2017

0 Comments

 
Picture
Picture
#DNAjournal EP.7 #DNAbySPU
[Pursue the imperfect…ไล่ตามความไม่สมบูรณ์แบบ] คุณบอย สุวัฒน์ ปฐมภควันต์ ,Co-Founder #SKOOTAR
.
.
กรอบความคิด (Mindset) อะไรที่จะทำให้เราก้าวสู่ความสำเร็จ ?
.
.
แน่นอนว่าเมื่อถูกพูดโดยบุคคลที่ประสบความสำเร็จ คำพูดเหล่านี้จะดูมีน้ำหนักขึ้นทันที แต่มันเป็นแบบนั้นจริงๆ
​หรือเปล่า ?.
.
.
ต้องเป็น “ความพยายาม” แน่ๆ เพราะความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น… แต่บ่อยครั้งที่เราจะพยายามจะอ่านหนังสือที่ซื้อมาจากงานสัปดาห์หนังสือให้จบเล่ม  แต่พอผ่านไป 1 อาทิตย์ เราไม่เคยจะเปิดแม้แต่หน้าปกและลืมไปแล้วด้วยซ้ำว่าเคยซื้อมา
.
.
หรือว่า “ความตั้งใจ”  …มีหลายครั้งที่เราตั้งใจเต็มเปี่ยมที่จะลดไขมันส่วนเกิน ด้วยการตื่นเช้าสัปดาห์ละ 2 ครั้งเพื่อออกไปปั่นจักรยาน แต่พอผ่านไป 2 เดือน จักรยานเสือหมอบก็เปลี่ยนเป็นราวตากผ้าราคาแพง
.
.
อาจจะเป็น “ความสม่ำเสมอ” ก็ได้นะ … แต่ทำไมเราป้อนข้อมูลผ่านทางแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์เกือบทุกชั่วโมง ในทุกวัน แต่ความเร็วในการพิมพ์ก็ยังเท่าเดิม หนำซ้ำเรายังต้องมองตัวอักษรอยู่เลย
.
.
แน่นอนว่าอาจจะมีอีกมากมายหลายคำพูดคิดขึ้นมาเพื่อตอบคำถามข้างต้น ความรัก ความรับผิดชอบ ความทุ่มเท ความเอาใจใส่ ความคิดสร้างสรรค์ และอีกมากมาย
.
.
ทำไมบางคนมีคำเหล่านั้นก้องอยู่ในหัวใจ กลับรู้สึกว่าเส้นชัยของความสำเร็จนั้นยังอยู่อีกยาวไกล
.
.
แต่ในขณะที่บางคนไม่ได้มีคำเหล่านั้นแทรกตัวอยู่ในวิธีคิด แต่กลับมีภาพความสำเร็จหลายต่อหลายภาพ ?
.
.
คุณบอย สุวัฒน์ ปฐมภควันต์ Co-Founder and Co-CEO SKOOTAR บริการเรียกแมสเซ็นเจอร์ออนไลน์ชื่อดังของไทย มาแชร์ความรู้และประสบการณ์ส่วนตัวบนเส้นทางของผู้ประกอบการ SME และ Startup ในหลักสูตร #DNAbySPU ตอบคำถามว่า “อะไรคือจุดเริ่มต้นให้เราก้าวสู่ความสำเร็จ ?”
.
.
แต่มีกรอบความคิดหนึ่งระบุว่าคำพูดที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด ไม่ใช่จุดเริ่มต้น แต่เป็นแค่ “กระบวนการระหว่างทาง” เท่านั้น
.
.
“กรอบความคิดแบบเติบโต” (Growth Mindset) เป็นแนวคิดที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการประสบความสำเร็จ ซึ่งอ้างอิงจากผลการวิจัยของศาตราจารย์   คารอล ดเว็ค (Carol S. Dweck)             ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์และจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
.
.
แนวคิดนี้เชื่อว่า ความสามารถถูกสร้างได้ด้วยการเรียนรู้ ปัญหาและอุปสรรคเป็นโอกาสที่จะนำไปสู่การพัฒนาและเติบโต
.
.
คนที่มี “กรอบความคิดแบบเติบโต” จะกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ ชอบที่จะเรียนรู้จากปัญหา สนุกเวลาที่เจอโจทย์ยากๆ มีความพยายามที่จะหาทางแก้ไขปัญหาอุปสรรค พัฒนาสิ่งใหม่ๆ ที่ท้าทาย มีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ มักมีคำถามในเรื่องการเรียน รวมถึงสิ่งต่างๆ รอบตัว
.
.
โจซัว เวซกิ้น Joshua Waitzkin ชาวอเมริกัน ผู้ถูกขนานนามว่า “เด็กมหัศจรรย์” (The prodigy)จากการแชมป์หมากรุกระดับชาติ 8 สมัย ด้วยพรสวรรค์อันน่าทึ่งในด้านการเล่นหมากรุก ทำให้เรื่องราวชีวิตของเขาได้ถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ Searching for Bobby Fitcher
.
.
หลังจากที่เขาประสบความสำเร็จในการทำงานศิลปะผ่านกระดานเดินหมากรุกแล้ว เขาได้ตัดสินใจที่จะพัฒนาตัวเองอีกขั้น คราวนี้เขาจะเริ่มต้นในสิ่งแตกต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง นั่นคือ “ไทเก็ก” (Tai Chi) ซึ่งเป็นกีฬาแบบปะทะ
.
.
ในตอนแรกหลายคนมองว่าไทเก็ก น่าจะเป็นแค่งานอดิเรกของเขา  เพราะการเล่นหมากรุกซึ่งเป็นการวางกลยุทธ์บนกระดานไม่เหมือนกับกีฬาที่ต้องใช้ทักษะในการต่อสู้และความยืดหยุ่นของร่างกายโดยสิ้นเชิง สองสิ่งนี้แตกต่างกันจนเกินไป ไม่มีทางไปด้วยกันได้
.
.
แต่เขากลับสร้างความตกตะลึงให้คนรอบข้าง แม้แต่ครอบครัวของเขาเอง  ด้วยการก้าวเข้าสู่ตำแหน่งแชมป์โลกไทเก็ก ไม่ใช่แค่ครั้งเดียวเท่านั้น แต่เป็นถึง 2 สมัย
.
.
หลังจากนั้นไม่นานเขาได้แต่งหนังสือเกี่ยวกับการเรียนรู้และเชิดชูในศักยภาพของมนุษย์ในชื่อ The Art of Learning: An Inner Journey to Optimal Performance
.
.
ในหนังสือของเขา มีบทหนึ่งระบุว่า “สิ่งที่ดีที่สุดที่เคยเกิดขึ้นในชีวิตเขาคือ ความพ่ายแพ้ในระดับประเทศครั้งแรก ซึ่งทำให้เขาไม่ต้องเจอกับดักของความสำเร็จ และสิ่งที่ดีน้อยที่สุดในชีวิตเขาคือการถูกเรียกว่า “เด็กมหัศจรรย์”
.
.
เขาให้คำนิยามของคำว่า “กับดักของความสำเร็จ” และคำว่า “เด็กมหัศจรรย์” ในแนวทางที่ใกล้เคียงกัน คือ การเชื่อว่าตนเองมีพรสวรรค์เหนือคนอื่น ทำให้เขาหยุดเรียนรู้ ไม่ต้องพัฒนาอะไรอีกแล้ว เพราะเขาได้ยืนอยู่บนจุดบนสุดแล้ว
.
.
และจากการค้นคว้าเพิ่มเติม ทำให้เราได้ทราบว่า“กรอบความคิดแบบเติบโต”  นั้นได้ถูกฝังอยู่ในวิธีคิดของบุคคลที่ประสบความสำเร็จหลายต่อหลายคน
.
.
Walter Elias Disney ถูกไล่ออกจากบริษัทหนังสือพิมพ์ ด้วยเหตุผลว่า ไร้จินตนาการ และขาดความคิดเป็นของตัวเอง แต่ด้วย“กรอบความคิดแบบเติบโต” เขากลับมาสู้ใหม่และกลายเป็นผู้สร้างผลงานการ์ตูนที่แพร่หลาย และประสบความสำเร็จมากที่สุดของโลกคนหนึ่ง
.
.
Michael Jeffrey Jordan เคยถูกคัดออกจากทีมบาสเกตบอลของโรงเรียน แต่ด้วย “กรอบความคิดแบบเติบโต”  ทำให้เขากลายเป็นหนึ่งในนักกีฬาที่มีรายได้มากที่สุดในประวัติศาสตร์ และผู้ก่อตั้งศูนย์ เจมส์ อาร์.จอร์แดน บอยส์ แอนด์ เกิร์ลส์ คลับ แอน แฟมิลี่ ไลฟ์ เซ็นเตอร์ ซึ่งให้ความช่วยเหลือเด็กๆ จากทั่วประเทศทั้งด้านชีวิตความเป็นอยู่ การศึกษาและให้การอบรมทางด้านกีฬาแก่เยาวชนผู้สนใจด้วย
.
.
คนประสบความสำเร็จย่อมต้องเคยล้มเหลวมาก่อน แต่สิ่งนั้นทำให้เขายอมรับในความผิดพลาดและเรียนรู้ว่า “เขายังไม่รู้อะไร”
.
.
สำหรับผู้ประกอบการที่จะนำแนวคิดนี้เป็นประโยชน์และต้องการจะนำไปปรับใช้นั้น แทบจะไม่ต้องทำอะไรเลย ทำตัวให้เหมือนเดิมทุกอย่าง มีสิ่งที่ต้องทำอย่างเดียวเท่านั้น
.
.
คือ การเปลี่ยนองศาของการมองของ “ปัญหา” เสียใหม่ แค่หนึ่งองศาเท่านั้น ไม่ได้ยากอะไรเลย
.
.
แต่คราวนี้ให้จ้องมองปัญหาอย่างเข้าใจและพิจารณาอย่างสงบนิ่ง และหาวิธีแก้ปัญหาอย่างได้ผล เราจะได้ความหมายใหม่ คือ “โอกาส”
.
.
เพราะการเดินทางจากดาวอังคารกับดาวพฤหัสแตกต่างกันแค่องศาเดียว
.
.
อ้างอิง :
– หนังสือ The Art of Learning: An Inner Journey to Optimal Performance ผู้เขียน Joshua Waitzkin
– http://leader.innoobec.com/wp-content/uploads/2016/02/Mindset-Book-Final_11JUN2015.compressed.pdf
–  https://whitehatcrew.com/blog/a-mere-one-degree-difference
.
.
#itsyouYOU 
.
.
🔹🔹
#DNAbySPU2 
“COME JOIN THE RIDE”
🔹🔹
www.DNAbySPU.com
​

Speaker #DNAbySPU2
https://goo.gl/XGaKHx

​.

หมายเหตุ :
1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU
2. ข้อมูล EP.7 ต่อยอดจากการบรรยาย คุณบอย สุวัฒน์ ปฐมภควันต์ Co-Founder and Co-CEO, SKOOTAR บริการเรียกแมสเซ็นเจอร์ออนไลน์ชื่อดังของไทย ที่มาแชร์ความรู้และประสบการณ์ส่วนตัวบนเส้นทางของผู้ประกอบการ SME และ Startup และตอบคำถามว่า “อะไรคือจุดเริ่มต้นให้เราก้าวสู่ความสำเร็จ ?”#Speaker #DNAbySPU 25 March 2017
.
จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU
www.DNAbySPU.com
ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
Picture
Picture
Picture
Picture
0 Comments

#DNAjournal EP.6 #DNAbySPU[Small is beautiful … ยิ่งเล็กน้อยยิ่งงดงาม]

9/18/2017

0 Comments

 
Picture
#DNAjournal EP.6 #DNAbySPU
[Small is beautiful … ยิ่งเล็กน้อยยิ่งงดงาม] :: คุณหนุ่ม อำนาจ รัตนมณี ผู้ก่อตั้งร้านหนังสือเดินทาง
.
.
Small is beautiful
ยิ่งเล็กน้อยยิ่งงดงาม
.
.
อะไรคือแรงผลักดันให้คนบางคนทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้และเต็มไปด้วยความยากลำบาก ?
.
.
อะไรคือสิ่งที่ทำให้เรามีความมั่นใจในการตัดสินใจอะไรบางอย่าง มั่นใจจนเปล่งเสียงออกมาว่า “ฉันรู้ว่าการตัดสินใจของฉันถูกต้อง” ทั้งๆที่เราไม่สามารถอธิบายด้วยคำพูดให้คนอื่นทราบถึงเหตุผลได้ แต่เราก็ยังมั่นใจกับการตัดสินใจครั้งนั้น
.
.
และถึงแม้ว่าการตัดสินใจนั้นจะนำมาสู่ปัญหา แต่เรายินดีที่จะเผชิญกับปัญหาที่จะตามมา ถึงแม้ผลลัพธ์จะไม่ได้เป็นอย่างที่คาด เราก็พร้อมจะยืนรับฟังด้วยหัวใจที่สงบนึ่ง
.
.
หลักสูตร #DNAbySPU ได้รับเกียรติจากแขกรับเชิญสุดพิเศษ คุณหนุ่ม อำนาจ รัตนมณี ผู้ก่อตั้งร้านหนังสือเดินทาง และ 100 Idols บุคคลสาธารณะ โดย Aday 2551 ผู้มาปลุก Passion ให้ ‘เดินตามสิ่งที่เรารัก’ และสร้าง ‘ตำนาน’ เป็นของตัวเอง
.
.
คุณหนุ่มได้มาแชร์วิธีการปรับตัวกับสิ่งพิมพ์ออนไลน์สู่จุดรอดของธุรกิจ ที่ทำให้ร้านหนังสืออิสระของเขาสามารถเปิดให้บริการยืนหยัดอย่างมั่นคงมากว่า 16 ปี ทวนกระแสขาลงของร้านหนังสือในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง
.
.
วิธีการนั้นเป็นวิธีการที่เรียบง่าย กระชับ ทรงพลังและสร้างแรงบันดาลใจ รวมถึงยังสอดคล้องกับปรัชญาการออกแบบงานศิลปะประเภทต่างๆ เช่น การออกแบบแฟชั่น ตกแต่งภายใน วิจิตรศิลป์ การประพันธ์เพลง และแนวทางการใช้ชีวิต
.
.
ปรัชญานั้นคือ “น้อยคือมาก” (Less is more) หรือการลงมือทำแบบน้อยแต่เน้น เริ่มต้นจากกระบวนการคิดหลายๆ รูปแบบ แล้วตัดทอนสิ่งที่ไม่จำเป็นออก ให้เหลือแค่ใจความสำคัญจริงๆ เท่านั้นเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด
.
.
สำนวน Less is more ปรากฏครั้งแรกในบทกวีของ Robert Browning กวีเอกชาวอังกฤษในศตวรรษที่ 19 ต่อมา Ludwig Mies Van Der Goh สถาปนิกชาวเยอรมัน ได้นำเอาสำนวน “Less is more” มาประยุกต์ใช้ในงานออกแบบอาคาร บนความเรียบง่ายแต่พิถีพิถัน สวยงามแต่ลุ่มลึกในความคิด จนกลายเป็นหัวใจหลักของการออกแบบศิลปะ และได้ถูกพัฒนาเป็น เทรนด์สไตล์มินิมอลในเวลาต่อมา
.
.
หากเปรียบเทียบกับสินค้าหรือบริการ หรือแม้แต่การออกแบบต่างๆ การทำผลงานออกมาอย่างเรียบง่ายและชัดเจน ลูกค้าจะสามารถถอดความได้ง่ายกว่าและเข้าใจได้มากกว่า ทำให้ผลงานนั้นดูโดดเด่นและเป็นที่ยอมรับ
.
.
แต่ก่อนที่เราจะไปสู่ปลายทางของปรัชญา Less is more เพื่อปรับใช้กับธุรกิจของเราได้ เราต้องผ่านจุดเริ่มต้นก่อน นั่นคือ ”ความชัดเจนว่าทำไมถึงทำ” (Why) เมื่อเราชัดเจนแล้ว เราจะรู้โดยอัตโนมัติว่าต้องทำอย่างไร (How) และต้องทำอะไรบ้างที่เพื่อไปสู่สิ่งที่ต้องการ (What)
.
.
สตรีชาวเคนยา ชื่อ ดร.วังการี มาไท (Dr. Wangari Maathai) ได้เดินทางไปทุกหมู่บ้านทั่วประเทศเคนยา เธอได้เรียนรู้ว่า หญิงชาวเคนยาใช้เวลามากขึ้นเป็นเวลาหลายชั่วโมงในการออกไปหาไม้ฟืนสำหรับหุงต้มอาหาร ด้วยความเป็นอยู่ที่ แร้นแค้น และขาดความรู้ด้านโภชนาการทำให้ชาวบ้านเกิดโรคขาดสารอาหาร และชาวบ้านขาดรายได้ลงอย่างสิ้นเชิง
.
.
เธอตระหนักว่า ต้นไม้มาจะช่วยแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากแร้นแค้นที่ชาวเคนยาประสบอยู่ เพราะ “ต้นไม้”จะทำให้พวกเขามีอาหารกิน มีสมุนไพรรักษาโรค ช่วยให้มีอาชีพ ดำรงชีพอยู่ได้การมีอยู่มีกิน และช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และในที่สุด….. ก็จะนำมาซึ่งความมั่นคงในชีวิตชาวแอฟริกา
.
.
เธอได้ริเริ่มจัดตั้งกลุ่ม “ขบวนการแนวร่วมสีเขียว” (Green Belt Movement) เพื่อรณรงค์ให้ชาวเคนยาปลูกต้นไม้คนละหนึ่งต้น เมื่อชาวเคนยาทุกคนพร้อมใจกันปลูกต้นไม้คนละต้น ประเทศเคนยาก็มีต้นไม้เพิ่มขึ้นมา 15 ล้านต้นในทันที
.
.
แน่นอนว่าผู้เชี่ยวชาญหลายต่อหลายคนในวงการต่างๆ พร้อมใจกันมอบสายตาที่เย็นชาและคำเยาะเย้ยให้แก่แนวคิดของเธอว่าต้องล้มเหลวอย่างแน่นอนเพราะเธอไม่มีงบประมาณโฆษณา ประชาสัมพันธ์อย่างมหาศาล ไม่เว้นแม้แต่ชาวบ้านที่เธอไปคุยด้วยว่าแนวคิดของเธอเป็นความคิดที่เพ้อฝันและโลกสวย เพราะตัวชาวบ้านเองแทบจะเอาชีวิตไม่รอดอยู่แล้ว
.
.
แต่เธอเลือกที่จะไม่สนใจเสียงและสายตาเหล่านั้นและเดินหน้าต่อไป
.
.
ต่อมาไม่นานขบวนการแนวร่วมสีเขียวสามารถปลูกต้นไม้ได้ถึง 30 ล้านต้น และกลายเป็น 45 ล้านต้นในเวลาต่อมา ปัจจุบันนี้ประเทศเคนยาจึงเขียวชะอุ่มปกคลุมไปด้วยต้นไม้ จะยังเหลือก็แต่เพียงในพื้นที่เขตทะเลทรายเท่านั้น
.
.
การคืนสภาพให้แก่ป่าเป็นการเปลี่ยนแปลงชีวิตที่สตรีชาวเคนยาจับต้องได้ ต้นไม้ทำให้พวกผู้หญิงมีไม้ฟืนสำหรับทำเป็นเชื้อเพลิงหุงต้มในครัวเรือน มีรั้วไว้ป้องกันบริเวณบ้านได้ ต้นไม้ยังเป็นแหล่งผลิตอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการให้แก่ทุกคน และทำให้พวกเธอมีโอกาสหารายได้มาจุนเจือครอบครัวอีกด้วย
.
.
เพราะเธอชัดเจนกับแนวคิดที่ว่า “ผืนดินที่มีต้นไม้อุดมสมบูรณ์ เป็นพื้นฐานที่ทำให้พวกเรามีชีวิตอยู่รอดได้” ทำให้ คณะกรรมการพิจารณารางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ปี 2004 เห็นควรมอบรางวัลให้แก่ ดร.วังการี มาไท เป็นเป็นผู้หญิงคนแรกในประวัติศาสตร์ของทวีปแอฟริกาที่ได้รับรางวัลโนเบล
.
.
คุณหนุ่มเริ่มต้นจากความรักในหนังสือ ด้วยความชัดเจนว่าทำไมถึงทำ (WHY) จึงเลือกเปิดร้านหนังสืออิสระในแนวที่ตัวเองถนัดและชื่นชอบ คุณหนุ่มจึงมีภูมิต้านทานที่จะฟังในเสียงวิพากวิจารณ์เชิงลบ คำบั่นทอน และคำสบประมาท หรือที่คุณหนุ่มเรียกว่า “สภาวะทดสอบจิต”
.
.
ในขั้นตอนการตกแต่งร้าน (How) คุณหนุ่มสมมติว่าถ้าเป็นนักอ่านคนหนึ่ง เดินเข้าไปในร้านหนังสือ บรรยากาศแบบไหนที่อยากได้ ก็เอาตรงนั้นเป็นจุดตั้งต้น คุณหนุ่มจึงตั้งใจให้บรรยากาศในร้านอบอุ่นและเป็นกันเองเหมือนห้องนั่งเล่นในบ้านที่พร้อมจะต้อนรับแขกอยู่เสมอ
.
.
ในขั้นตอนการเลือกหนังสือมาไว้ในร้าน (What) ก็จะเป็นหนังสือแนว “เดินทางและท่องเที่ยว” เพื่อสร้างภาพจำว่าเป็นร้านหนังสือที่ “เล็กแต่ลึก” แตกต่างจากร้านหนังสือยักษ์ใหญ่ที่ “มากและกว้าง” โดยสิ้นเชิง
.
.
ด้วยแนวคิดเล็กๆ นี้ “ร้านหนังสือเดินทาง” ร้านเล็กๆ ที่สร้างด้วยหัวใจที่ยิ่งใหญ่ จึงดึงดูดคนไทยและคนทั่วโลกที่รักในการเดินทางให้มาที่ร้านของคุณหนุ่ม ดึงดูดความสนใจจากสื่อระดับโลก และดึงดูดผู้บริหารของร้านหนังสือยักษ์ใหญ่ให้มาดูงานที่ร้านของคุณหนุ่ม
.
.
สำหรับผู้ประกอบการที่จะนำแนวคิดนี้ไปปรับใช้ ไม่จำเป็นต้องไปเรียนรู้จากที่ไหน ขอแค่ใช้เวลาอย่างสงบในการเริ่มต้นคุยกับตัวเอง ฟังเสียงหัวใจตนเอง ตอบตัวเองให้ได้ว่าทำไมถึงทำ (WHY)
.
.
แน่นอนว่าอาจจะยากซักหน่อย แต่คงไม่ยากเกินไป ที่จะหาคำตอบที่ก้องอยู่ในหัวใจตนเอง เมื่อได้คำตอบแล้วแล้วจึงเริ่มลงมือทำด้วยความปรารถนาอันแรงกล้านั้น และอย่าลืมเปิดใจต่อความล้มเหลวและความผิดพลาด เพื่อที่เราจะได้เริ่มใหม่ด้วยบทเรียนที่ได้เรียนรู้มา
.
.
แล้ววันหนี่งเราจะปลดล็อคธุรกิจที่เกือบจะสมบูรณ์แบบได้ และใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในเส้นทางที่เราออกแบบเอง
.
.
อ้างอิง : หนังสือ the challenge for Africa ผู้เขียน Wangari Maathai /หนังสือ “ตั้งคำถามเพียง 1 ข้อ ก็พลิกจากตามขึ้นมานำ” (Start With Why) ผู้เขียน Simon Sinek / หนังสือ “ทำน้อยให้ได้มาก” (The Power of Less) ผู้เขียน Leo Babauta
.
.
#itsyouYOU 
.
.
🔹🔹
#DNAbySPU2 
“COME JOIN THE RIDE”
🔹🔹
www.DNAbySPU.com
​

Speaker #DNAbySPU2
https://goo.gl/XGaKHx

.
​หมายเหตุ :
1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU
2. ข้อมูล EP.6 ต่อยอดจากการบรรยาย ของคุณคุณหนุ่ม อำนาจ รัตนมณี ผู้ก่อตั้งร้านหนังสือเดินทาง และ 100 Idols บุคคลสาธารณะ โดย A day 2551 ผู้มาปลุก Passion ให้ ‘เดินตามสิ่งที่เรารัก’ และสร้าง ‘ตำนาน’ เป็นของตัวเอง #Speaker #DNAbySPU 25 March 2017
.
จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU
www.DNAbySPU.com
Picture
Picture
0 Comments

#DNAjournal EP.5 #DNAbySPU[Make product photography as if a communication tool. ให้การภาพถ่ายสินค้าเปรียบเสมือน เครื่องมือการสื่อสาร]

9/18/2017

0 Comments

 
Picture
Picture
#DNAjournal EP.5 #DNAbySPU
[Make product photography as if a communication tool. ให้การภาพถ่ายสินค้าเปรียบเสมือน เครื่องมือการสื่อสาร]
.
.
Make product photography as if a communication tool.
ให้การถ่ายภาพสินค้าเปรียบเสมือนเครื่องมือการสื่อสาร
.
.
Erik Johansson ช่างภาพและนักตกแต่งภาพระดับโลกชาวสวีเดน กล่าวถึงแนวคิดการถ่ายรูปว่า “เพราะเราต้องการบันทึกไอเดีย ไม่ใช่เพียงแค่ช่วงจังหวะเวลา (It’s more about capturing an idea than about capturing a moment really) ดังนั้นก่อนกดชัตเตอร์เพื่อสร้างภาพถ่ายที่สวยงามเราต้องทำอะไรบ้าง ?
.
.
หลักสูตร #DNAbySPU ได้เชิญคุณกอล์ฟ สิรภพ วรรณทอง #GolfSirapopPhoto มาแชร์เคล็ดลับในหัวข้อ “การถ่ายสินค้าให้สวยงามด้วยสมาร์ทโฟน” เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และลงมือถ่ายภาพสินค้าของตนเองในขณะเรียน ภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
.
.
แน่นอน… ต้องอาศัยเทคนิคนิดหน่อยเพื่อให้ภาพที่ได้ออกมาดูดีที่สุด เช่น การโฟกัส มุมกล้อง การจัดองค์ประกอบภาพ ทิศทางแสง และสิ่งที่ห้ามลืมเด็ดขาด คือ กฎสามส่วน (Rule of third) ซึ่งถูกค้นพบโดย ปีทาโกรัส (Pythagoras) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ที่อ้างอิงจากทฤษฎีระบบสัดส่วนที่ดีที่สุดในการมองเห็นและระบบประสาทสัมผัสของมนุษย์
.
.
จริงอยู่ ถ้าขาดสิ่งเหล่านั้น ภาพที่ออกมาคงจะดูไม่ดีซักเท่าไหร่ ไม่มีพลัง และคงไม่ได้สร้างความน่าสนใจ แต่สิ่งเหล่านั้นคือส่วนประกอบของภาพและมีบางสิ่งบางอย่างที่สำคัญกว่านั้น
.
.
นั่นคือ “การวางแผน” เบื้องหลังของภาพถ่ายชั้นดีมากมาย ขั้นตอนจะไปอยู่ที่การวางแผนเสียมากกว่า การวางแผนจะช่วยจัดระบบความคิดของเราให้มีความชัดเจน และจะคอยกลั่นกรองว่าเราจะถ่ายทอด “การเล่าเรื่องด้วยภาพ” (Visual narrative) ออกมาทางภาพได้อย่างไร ?
.
.
“เพราะภาพที่ดีสะท้อนถึงการวางแผนอย่างดี” เราควรเริ่มต้นที่การออกแบบสิ่งที่เราอยากจะบอก ร่างไอเดีย จัดองค์ประกอบให้ลงตัว เพิ่มความน่าสนใจโดยการเติมพร็อพ รวมสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกันแล้วจึงจบขั้นตอนด้วยการกดชัตเตอร์
.
.
สำหรับการถ่ายรูปสินค้า นอกจากจะต้องมีการวางแผนที่ดีเยี่ยมแล้ว เรายังต้องผสมสูตรเด็ดลงไปด้วย นั่นคือ วิธีคิด รสนิยม คุณสมบัติและราคา ใส่ลงไปในแต่ละส่วนของรูปภาพ ก่อนที่เราจะกดชัตเตอร์แต่ละครั้ง
.
.
เพื่อออกแบบให้ภาพถ่ายสินค้าของเรา เป็นเสมือนลายเซ็นที่จะสร้างภาพจำ เมื่อลูกค้าได้เห็นภาพถ่ายในรูปแบบนี้บ่อยๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เห็นจนชินตา ภาพนั้นจะกลายเป็น สัญลักษณ์ และนำไปสู่ภาพถ่ายในรูปแบบที่ค่อนข้างคล้ายหรือแตกต่าง
.
.
แต่ที่น่าเสียดายคือเราหลายๆ คนไม่ได้ใส่ใจในภาพถ่ายเท่าที่ควร โดยเฉพาะภาพถ่ายที่จะนำไปใช้เป็นสื่อโฆษณาใน Social media ซึ่งเป็นเหมือนไม้ประดับและไม่จำเป็นที่จะมีความสวยงามมากนัก อาจเป็นเพราะธรรมชาติของ Social media ที่หลังจากนั้นไม่กี่วัน ภาพนั้นจะมีสถานะ “หมดอายุ” ไปแล้ว
.
.
12 มกราคม 2007 ในเช้าวันทำงานที่ทุกคนเร่งรีบเดินทาง มีชายคนหนึ่งวางสัมภาระลงและเริ่มสีไวโอลิน ที่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน L”Enfant Plaza ที่เมืองวอชิงตัน ดีซี เป็นเวลา 45 นาที
.
.
สามนาทีแรกผ่านไป มีชายวัยกลางคนสังเกตเห็นนักไวโอลิน เขาชะลอฝีเท้า แต่ก็เดินต่อไป
.
.
หนึ่งนาทีต่อมา เขาได้รับเงินดอลล่าร์แรก จากผู้หญิงคนนึงที่ให้เงินโดยไม่หยุดเดิน แล้วก็เลยจากไป
.
.
ไม่กี่นาทีต่อมาชายคนหนึ่ง เอนหลังพิงกำแพงดูการแสดงของนักไวโอลิน แต่ก็ไม่วายมองนาฬิกาแล้วก็ออกเดินต่อ
.
.
คนที่ตั้งใจดูมากที่สุด ดูจะเป็นเด็กน้อยอายุ 3 ขวบ แต่แม่ก็พยายามบังคับให้หนูน้อยเดินต่อ และดูเหมือนเด็กๆ ทุกคนก็จะชอบดู แต่โดนพ่อแม่ บังคับให้รีบเดินต่อเหมือนกัน
.
.
ตลอดระยะเวลาการแสดง 45 นาที มีคนที่หยุดดู และให้เงินวณิพกเพียง 20 คน เป็นจำนวน 32 ดอลลาร์ จากทั้งหมด 1,100 คน
.
.
เมื่อการแสดงจบลง ความเงียบงันก็เข้าแทนที่ ไม่มีใครรู้ว่าการแสดงจบแล้ว ไม่มีเสียงปรบมือ เหมือนไม่มีใครรับรู้เลยว่าเคยมีการแสดงเกิดขึ้น
.
.
นี่คือเรื่องจริงจากการทดสอบทางสังคมของหนังสือพิมพ์ Washington Post โดยคอลัมนิสต์ Gene Weingarten ที่ได้เชิญ Joshua Bell หนึ่งในนักไวโอลินที่เก่งที่สุดในโลก เขาเล่นไวโอลินให้กับ Philadelphia Orchestra ที่ Riccado Muti เป็นวาทยากรเมื่ออายุเพียง 14 ปี และอีก 4 ปีต่อมาเขาได้เล่นไวโอลินที่ Carnegie Hall ซึ่งถือว่าเป็นการแสดงดนตรีในสถานที่ที่เป็นสุดยอดของโลก
.
.
นอกจากประวัติแล้ว ผลงานของเขาก็ไม่ธรรมดา อยู่เบื้องหลังงานเพลงในภาพยนตร์ระดับฮอลลีวู้ดมากมายและได้รับรางวัล แกรมมี่มาแล้วในปี 1993 นอกจากนี้เขาคือผู้เล่นไวโอลินในภาพยนตร์ตุ๊กตาทองเรื่อง “The Red Violin”
.
.
เพลงที่เขาเลือกเล่น ก็เพลงที่เป็นบทประพันธ์ที่ยากและไพเราะที่สุดบทหนึ่งของบาค ด้วยไวโอลีน Gibson ex huberman stradivarius of 1713 ซึ่งมีอายุเกือบ 300 ปี ซึ่งถือว่าเป็นไวโอลีนที่ดีที่สุดในโลก
.
.
ด้วยส่วนประกอบทั้งหมดนี้ทำให้ 2 วันก่อนหน้าที่เขาจะมาแสดงในรถไฟฟ้าใต้ดิน บัตรคอนเสิร์ตที่เมืองบอสตันเต็มทุกที่นั่ง ด้วยราคาบัตรเริ่มต้นที่สูงถึง 100 ดอลลาห์ เพลงที่เล่นวันนี้ก็เป็นเพลงเดียวกับในคอนเสิร์ตที่บอสตัน ไวโอลีนก็ตัวเดียวกัน เวลาที่ใช้แสดงก็เท่ากัน ส่วนประกอบทั้งหมดเหมือนกันทุกอย่าง แต่ผลลัพธ์ต่างกันโดยสิ้นเชิง
.
.
ถึงแม้ว่าสินค้าของเราจะมี “จุดซื้อ”อยู่มากมายแต่อย่ามองข้ามการนำเสนอ เพราะเรากำลังทำการสื่อสารกับมนุษย์ผ่านทางการเล่าเรื่องด้วยภาพ เพราะภาพจะส่งผลกระทบต่อทัศนคติ และเป็นทัศนคตินี่เองที่ผลักดันพฤติกรรม
.
.
ไม่จำเป็นว่าเราต้องจ้างช่างภาพราคาแพงมาถ่ายรูปสินค้า แต่แค่มาชี้ช่องทางให้เห็นถึง “วิธีคิด” ที่อยู่ข้างหลังภาพถ่าย ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และมีความสำคัญขนาดไหน? เพื่อจะก่อให้เกิดปัญญา (Wisdom) และนำไปปรับใช้กับสินค้าอย่างยั่งยืน
.
.
เพราะตอนนี้เครื่องมือต่างๆ มีพร้อมอยู่แล้ว…. สิ่งเดียวที่จำกัดเราไว้คือจินตนาการ
.
.
อ้างอิง
Product Photography 101


https://.washingtonpost.com/socialexperiment
https://goo.gl/KxjBRs
https://goo.gl/DWxolk
.
.
#itsyouYOU 
.
.
🔹🔹
#DNAbySPU2 
“COME JOIN THE RIDE”
🔹🔹
www.DNAbySPU.com
​

Speaker #DNAbySPU2
https://goo.gl/XGaKHx
​

.

หมายเหตุ :
1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU
2. ข้อมูล EP.4 ต่อยอดจากการบรรยาย ของคุณสิรภพ วรรณ Founder at GolfSirapop Photo มาแชร์เคล็ดลับในหัวข้อ “การถ่ายสินค้าให้สวยงามด้วยสมาร์ทโฟน” เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และลงมือถ่ายภาพสินค้าของตนเองในขณะเรียน ภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ #Speaker #DNAbySPU 25 March 2017
.
จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU
http://www.DNAbySPU.com
ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
Picture
Picture
Picture
Picture
Picture
0 Comments

#DNAjournal EP.4 #DNAbySPU  [CREATE BUSINESS AS CREATE AN ART FORM :: สร้างธุรกิจให้ประดุจดั่งสร้างงานศิลปะ]

9/18/2017

0 Comments

 
Picture
Picture
DNAbySPU #DNAjournal EP.4 @nakrobmoonmanas14
#DNAjournal EP.4 #DNAbySPU
[CREATE BUSINESS AS CREATE AN ART FORM :: สร้างธุรกิจให้ประดุจดั่งสร้างงานศิลปะ]
คุณนักรบ มูลมานัส กราฟฟิกดีไซเนอร์ งานคอลลาจ มือทองของไทย
.
Joseph Beuys (โจเซฟ บอยส์) ศิลปินชาวเยอรมันและอาจารย์ศิลปะด้านประติมากรรมที่ ดุสเซลดอร์ฟ อะคาเดมี ได้ส่งมอบคำประกาศอันทรงพลังให้กับนักเรียนศิลปะของเขาว่า “Everyone is an artist” (มนุษย์ทุกคนคือศิลปิน)
.
.
ซึ่งสอดล้องกับที่ Pablo Ruiz Picasso (ปาโบล รุยซ์ ปีกัสโซ) จิตรกรเอกของโลกชาวสเปน ศิลปินที่มีพรสวรรค์ในการสร้างสรรค์มากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 กล่าวว่า “All children are artists. The problem is how to remain an artist once he grows up” (เด็กทุกคนเป็นศิลปิน ปัญหาคือเราจะรักษาศิลปินไว้ได้อย่างไรเมื่อเขาเป็นผู้ใหญ่)
.
.
เป็นแนวคิดที่ชวนตั้งคำถามว่า “เรานั้นสามารถทำงานศิลปะได้จริงหรือ ?” ซึ่งในความเป็นจริงเราทุกคนไม่ได้เกิดมามีพรสวรรค์ทางด้านศิลปะ  เราไม่มีทักษะฝีมือเชิงช่างชั้นสูง เราขาดแนวคิดการจัดวางที่ดูสมมาตรแต่ทรงพลังและเลือกใช้คู่สีที่ไม่เข้ากันอย่างแรง  ส่วนเส้นกราฟิกที่เราวาดเพื่อฆ่าเวลาโดยเฉพาะระหว่างประชุมไม่ได้ใกล้เคียงกับคำว่า “ศิลปะ” เลยแม้แต่นิดเดียว
.
.
แต่มีงานศิลปะอยู่ประเภทหนึ่ง ที่ทำให้เราทำงานศิลปะได้โดยไม่ต้องอาศัยทักษะทางศิลปะ หรือใช้อุปกรณ์ราคาแพงหูฉี่  แต่ให้ความรู้สึกสนุก เปี่ยมไปด้วยจินตนาการ ให้เราลงมือทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ ประดุจว่าเราย้อนเวลากลับไปสู่ช่วงเวลาที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่สุดนั่นคือตอนเป็นเด็ก
.
.
เปล่า !! ไม่ใช่แนวแอ็บสแตร็กที่ดูแล้วไม่เข้าใจและต้องปีนบันไดเพื่อจะได้เห็นความงดงาม แต่เป็นทัศนศิลป์ที่ก้าวผ่านแรงต้านของกาลเวลาอย่างไร้รอยต่อ ที่สามารถเชื่อมโยงงานศิลปะยุคอดีตและปัจจุบันเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว และประเด็นที่สำคัญที่สุด คือทำให้เกิดความหมายใหม่
.
.
เรากำลังพูดถีงงานศิลปะประเภท #Collage (คอลลาจ) ซึ่งคือ “การใช้สิ่งรอบตัวที่แตกต่างกัน มาจัดเรียงอีกครั้ง เพื่อสร้างความหมายใหม่”
.
.
หลักสูตร #DNAbySPU ได้เชิญคุณนักรบ มูลมานัส กราฟฟิกดีไซเนอร์ งานคอลลาจ มือทองของไทยมาแชร์ความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับศิลปะคอลลาจ การตัดปะภาพเพื่อให้เกิดภาพจำใหม่ด้วยความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการนำไปปรับใช้กับธุรกิจต่างๆ ของผู้เรียนอย่างยั่งยืน
.
.
เราทุกคนล้วนมีความเป็นเป็นนักสะสมอยู่ในตัวเอง ลองมองย้อนกลับไปสมัยเราเป็นเด็กเราต้องเคยสะสมอะไรซักอย่าง อาจจะดูเหมือนไร้สาระ แต่ก็บ่งบอกถึงสัญชาตญาณในการเป็นนักสะสมของเรา ไม่ว่าจะป็นหนังสือการ์ตูน การ์ดพลัง ตุ้กตา ก้อนหินรูปทรงแปลกๆ หรือแม้แต่ฝาน้ำอัดลม
.
.
เมื่อเราก้าวเดินไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ เราเริ่มสะสมในสิ่งที่เราชื่นชอบและมีความหมายกับเรา เช่น กีตาร์ รองเท้า นาฬิกา พระเครือง งานศิลปะ หรือรถยนต์ราคาแพง และเมื่อเราก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการ สิ่งที่เราเลือกสะสมคือสิ่งที่มีค่าที่สุด คือ “ความรู้”
.
.
เราไม่ได้สะสมไปซะทุกสิ่งทุกอย่าง แต่เรา “เลือกจะสะสมในสิ่งที่เราเลือกแล้วเท่านั้น”  เราสะสมในสิ่งที่เราชื่นชอบ สิ่งที่เต็มไปด้วยความงดงามที่น่าชื่นชม สิ่งที่เราสามารถนำไปปรับใช้ได้ และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดของเรา
.
.
อิกอร์ สตราวินสกี้ (Igor Stravinsky) คีตกวีดนตรีคลาสสิกสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชาวรัสเซีย ต้องการที่จะแต่งเพลงเพื่อประกอบการแสดงบัลเล่ต์เรื่อง The Rite of Spring (พิธีบูชายัญในฤดูใบไม้ผลิ)
.
.
แทนที่เขาจะเริ่มคิดใหม่และแต่งเพลงจากศูนย์ แต่เขากลับทำเพลงใหม่ด้วยในวิธีการที่ดูเหมือนจะไม่สง่างามนัก เขาเลือกบทเพลงอมตะที่เขาชื่นชอบตั้งแต่วัยเด็กมาหนึ่งเพลง และไปหยิบโครงสร้างของเพลงและเนื้อเพลงบางส่วนจากบทเพลงอมตะเพื่อมาใช้ในงานเพลงของเขา แต่เขาแต่งเสียงประสาน และจังหวะใหม่ราวกับเป็นเพลงของเขาเอง ว่าง่ายๆคือ  ”ปรับแก้เพลงอมตะของคนอื่นให้เป็นเพลงใหม่ของเขา”
.
.
นักวิจารณ์ ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงสื่อต่างๆ ดูจะไม่ชอบใจกับแนวคิดนี้และสิ่งที่เขาทำเท่าไหร่นัก ถึงขั้นกล่าวหาว่าเขา “ก็อป” มาอย่างหน้าไม่อาย โดยเฉพาะสื่อที่ตั้งฉายาให้กับเขาว่าเป็น “ขุนโจรของวงการเพลง”
.
.
แต่เขาตอบกลับคนที่วิจารณ์ผลงานของเขาด้วยน้ำเสียงที่สงบนิ่งว่า “พวกท่านอาจจะเคารพในเพลงอมตะ แต่ผมมีความชื่นชมในเพลงอมตะนั้น”
.
.
เมื่อบัลเล่ต์เรื่อง “พิธีบูชายัญในฤดูใบไม้ผลิ”ได้ออกแสดง การแสดงชุดนี้ได้รับเสียงชื่นชมจากผู้ชมชาวรัสเซียและผู้ชมทั่วโลก นอกจากการแสดงและการเขียนบทที่งดงามแล้ว สิ่งสำคัญที่ทำให้การแสดงชุดนี้ทรงพลังและเข้าไปอยู่ในใจของผู้ชมบัลเล่ต์ทั่วโลกคือเพลงของเขา เพลงที่เขาแต่งขึ้นใหม่ จากบทเพลงอมตะ
.
.
“ไอเดียที่ไม่ซ้ำใครเลยนั้นไม่มีอยู่จริง ทุกอย่างล้วนได้รับแรงบันดาลใจจากไอเดียที่มีอยู่แล้ว”  ข้อความจากหนังสือระดับ New York Times Bestseller ชื่อ Steal Like An Artist (ขโมยให้ได้อย่างศิลปิน) เขียนโดย  Austin Kleon
.
.
อาจารย์ศิลปะอย่าง โจเซฟ บอยส์ หรือแม้กระทั้งจิตรกรเอกของโลกอย่างปีกัสโซ เริ่มต้นฝึกวาดภาพจากการวาดเลียนแบบงานศิลปะของศิลปินท่านอื่น
.
.
David bowie (เดวิด โบอี) นักร้องและนักแต่งเพลงชาวอังกฤษ ผู้ซึ่งเป็นทั้งนักแสดง และจิตรกร ได้รับการนับถือจากนักวิจารณ์เพลงและศิลปินอื่นๆว่า เป็นผู้เปลี่ยนแปลงดนตรีสู่ยุคใหม่ๆ เมื่อมีคนถามว่าทำไมเขาถึงสรางสรรค์ผลงานใหม่ๆได้เสมอ แต่เขาตอบอย่างติดตลกว่า “ผมแค่เป็นหัวขโมยที่มีรสนิยมดี”
.
.
หัวใจสำคัญของการสร้างสรรค์ผลงานคือ การเก็บเล็กผสมน้อยจากความคิดของคนอื่น แล้วนำมาผสมผสานกับความคิดของเราเอง เพื่อสร้างผลงานที่เป็นเอกลักษณ์และภาพจำของเราขึ้นมาเพราะเราก็คือ “ส่วนผสมของสิ่งที่เราเลือกแล้ว”
.
.
เราสามารถ “เลือก” ไอเดียจากครอบครัว เพื่อนที่ได้คุย ภาพยนตร์ที่ได้ดู เพลงที่ได้ฟัง บทความที่ได้อ่าน เมืองที่เราใช้ชีวิตอยู่ และจากสิ่งอื่นๆรอบตัว ให้เราค่อยๆสะสมไปเรื่อยๆ อย่างช้าๆและมีความหมาย แล้วจึงนำความฝันที่กระจัดกระจายเหล่านั้น มารวบรวมอย่างเป็นระเบียบและนำเสนออกมาเป็นตัวตนที่ชัดเจน
.
.
วันนี้เราอาจจะได้รับข้อความที่ “โลกส่งถึงเรา” ที่ทำให้เราได้เห็นโลกใบใหม่ และเมื่อโลกใบใหม่หลายๆใบมารวมกัน จะกลายเป็นจักรวาลทางความคิดที่ไม่สิ้นสุดอยู่ในหัวของเรา  และพรุ่งนี้โลกอาจจะได้รับข้อความที่ “เราส่งถึงโลก”
.
.
อ้างอิง :: หนังสือ Steal Like An Artist  ผู้เขียน Austin Kleon, http:// history.com
.
​
#itsyouYOU 
.
.
🔹🔹
#DNAbySPU2 
“COME JOIN THE RIDE”
🔹🔹
www.DNAbySPU.com
​

Speaker #DNAbySPU2
https://goo.gl/XGaKHx
.
หมายเหตุ ::
1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU
2. ข้อมูล EP.4 ต่อยอดจากการบรรยาย ของคุณนักรบ มูลมานัส กราฟฟิกดีไซเนอร์ งานคอลลาจ มือทองของไทยมาแชร์ความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับศิลปะคอลลาจ การตัดปะภาพเพื่อให้เกิดภาพจำใหม่ด้วยความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการนำไปปรับใช้กับธุรกิจต่างๆ ของผู้เรียนอย่างยั่งยืน SurpriseSpeaker #DNAbySPU 18 March 2017
จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU
www.DNAbySPU.com
ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
Picture
Picture
Picture
Picture
0 Comments
<<Previous
Forward>>

    DNAbySPU

    หลักสูตรพัฒนาพันธุกรรม
    ​ทางความคิด

    สาขาการจัดการธุรกิจดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

    www.DNAbySPU.com
     089-4883655

    Archives

    June 2019
    May 2019
    April 2019
    March 2019
    February 2019
    January 2019
    November 2018
    October 2018
    September 2018
    August 2018
    July 2018
    June 2018
    May 2018
    April 2018
    January 2018
    December 2017
    November 2017
    October 2017
    September 2017

    Categories

    All

    RSS Feed

Location

Contact Us

หลักสูตรพัฒนาพันธุกรรมทางความคิด (DNAbySPU)
สาขาการจัดการธุรกิจดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เลขที่ 2410/2 ถนนพหลโยธิน แขวงเสนานิคม 
เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
EMAIL : dnabyspu@gmail.com
TEL:
คุณลภัสรดา โกมุทพงศ (อุ้ม)  โทร: 089-4883655
  • Home
  • ​Speaker
  • สมัคร #DNAbySPU รุ่นที่ 7
  • Alumni's Opinions
  • DNA JOURNAL
  • INFOGRAPHIC
  • #MottoTH
  • Privacy Policy
  • BLOG DNA7bySPU