DNA by SPU
  • Home
  • ​Speaker
  • สมัคร #DNAbySPU รุ่นที่ 7
  • Alumni's Opinions
  • DNA JOURNAL
  • INFOGRAPHIC
  • #MottoTH
  • Privacy Policy
  • BLOG DNA7bySPU

#DNAjournal EP.10 #DNAbySPU [World changing We improving :: เมื่อโลกเปลี่ยน...เราต้องปรับ]

9/18/2017

0 Comments

 
Picture
Picture
#DNAjournal EP.10 #DNAbySPU 
[World changing We improving :: เมื่อโลกเปลี่ยน...เราต้องปรับ] 
คุณศุภกานต์ วงศ์แก้ว ภัณฑารักษ์ ปกติศิลป์ ผู้ปั้น 'ราชบุรี' 
.
.
ในโลกยุคดิจิตอล เราสามารถค้นหาคำตอบให้กับปัญหาหลายต่อหลายอย่าง ได้อย่างง่ายดายเพียงแค่ปลายนิ้ว แต่กลับเป็นเรื่องยากในการทำความเข้าใจลูกค้าของเรา และยิ่งซับซ้อนขึ้นไปอีกในการทำการสื่อสารการตลาด (Marketing communication) 
.
.
ในอดีตลูกค้าของเรา จะต้องรับข้อมูลข่าวสารต่างๆผ่านทาง “สื่อหลัก” เท่านั้นซึ่งมีอยู่ไม่กี่อย่าง เราจึงเริ่มมีแนวคิดในการ “พูดแทรก” ขึ้น เราแทรกตัวลงไปกับข้อมูลข่าวสารความเป็นไปของโลกและสังคมที่ลูกค้ารอที่จะรับรู้ 
.
.
เราจึงใช้ความคิดสร้างสรรค์และเทคนิคต่างๆพัฒนาภาพยนตร์โฆษณาที่จูงใจแต่แฝงด้วยความตลก ประทับใจ เศร้า หรือสนุกสนาน เราใช้คนมีชื่อเสียงโพสท์ท่าหล่อๆสวยๆในหนังสือพิมพ์ ใช้เสียงโฆษกสุดแสนไพเราะบนวิทยุ เราพยายามเล่นกับอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์และหวังว่าลูกค้าจะจำเราได้
.
.
แต่วันนี้ไม่ใช่อย่างนั้น อดีตอันหอมหวานได้ผ่านไปแล้ว เทคโนโลยีและสมาร์ทโฟนได้ทำให้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบเก่าไปสู่จุดจบ 
.
.
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีนั้น ทำให้ลูกค้าของเรามีพลังและตัวใหญ่ขึ้น วันนี้ลูกค้าของเรามีความเป็นตัวของตัวเอง มีความคิดสร้างสรรค์ และที่สำคัญชอบจะ “พูด” มากกว่า “ฟัง”
.
.
เมื่อไหร่ที่เรา “พูดแทรก” ลงไปในข่าวสารที่ลูกค้าต้องการรับรู้ จนลูกค้าของเราเกิดความรำคาญและรู้สึกไม่พอใจ ลูกค้าของเราจะลงโทษเรา ไม่ใช้ด้วยไม้เรียวแต่โดยการบล็อกและมองข้าม ซึ่งร้ายแรงกว่าการไม่สนใจเสียอีก
.
.
และบางครั้งถ้าเราพูดแทรกบ่อยๆจน “ล้ำเส้น” ลูกค้าจะใช้สมาร์ทโฟนโทรชวนเพื่อนของลูกค้ามาลงโทษเราอีกด้วย ดังนั้นเราทำตัวเหมือนในอดีตไม่ได้ แบบนั้นมันหมดสมัยไปเสียแล้ว
.
.
อย่างไรก็ตามการสื่อสารการตลาดนั้นก็เป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะในการแข่งขันกับคู่แข่งทางธุรกิจของเรา ดังนั้นเราต้องทำอย่างไรไม่ให้ลูกค้าปฎิเสธเรา ?
.
.
หลักสูตร #DNAbySPU ได้รับเกียรติจาก คุณศุภกานต์ วงศ์แก้ว ภัณฑารักษ์ ปกติศิลป์ ผู้ปั้น 'ราชบุรี' ให้มีชีวิตผ่านพื้นที่ศิลปะชุมชนโดยใช้เมืองทั้งเมืองให้เป็นเหมือนผืนผ้าใบ มาแนะนำวิธีในการทำการสื่อสารการตลาดที่ทันสมัย สนุกสนานแต่ทรงพลัง
.
.
User-Generated Content หรือ “เปิดพื้นที่ให้ลูกค้าร่วมกันสร้างเนื้อหา” เป็นเสมือนการสร้างสะพานเชื่อมระหว่างลูกค้าเราและธุรกิจของเราเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้เรื่องราวของเขาเดินทางไปพร้อมกับเรื่องราวของเรา
.
.
ด้วยแนวคิดที่ว่า “ไม่มีใครถ่ายทอดความงดงามของพื้นที่ราชบุรี ได้ดีไปกว่าคนในพื้นที่ราชบุรีเอง” จึงได้ให้ศิลปินมืออาชีพทำหน้าที่เหมือนที่ปรึกษา และผลักดันศักยภาพให้คนในพื้นที่สร้างงานศิลปะขึ้นมา เพื่อถ่ายทอดเรื่องราว ความรู้สึกต่างๆ ให้คนภายนอกได้รับรู้ โดยไม่ต้องทองทิ้งตัวตน
.
.
ซึ่งวิธีคิดแบบ “เปิดพื้นที่ให้ลูกค้าร่วมกันสร้างเนื้อหา” นี้มีความคล้ายคลึงกับพฤติกรรมของมนุษย์ในเนื้อหาของ “เศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม” (Behavioral Economics) ซึ่งสรุปว่ามนุษย์นั้นไม่ได้ใช้เหตุและผลในการตัดสินใจ แต่ใช้อารมณ์และพื้นฐานทางจิตวิทยาเป็นตัวกระตุ้นในการตัดสินใจต่างหาก 
.
.
จริงๆแล้วเรานั้นให้ความสำคัญกับการ”ไปถึงจุดหมาย” มากกว่า “ตัวจุดหมาย” เอง เรามีความสุขกับการต่อสู้ ในสิ่งที่ท้าทาย อุปสรรค และข้อจำกัดต่างๆ และถ้าเราได้จุดหมายมาครอบครองอย่างยากลำบากและตะเกียกตะกายเรากลับมีความสุขและสนุกมากกว่าการเดินไปง่ายๆเพื่อคว้าจุดหมายมาไว้ในครอบครอง”
.
.
และวิธีคิดนี้ไม่ได้เหมาะสมกับการทำสื่อสารการตลาดเพียงอย่างเดียว จริงๆแล้วมีผู้ประกอบการมากมาย ได้นำวิธีคิดนี้ ไปใช้กับการผลิตสินค้าอีกด้วย
.
.
ผู้ผลิตจะเตรียมสินค้าที่ “ทำเสร็จแค่ครึ่งเดียว” ไว้แล้ว ส่งมอบที่เหลือให้ “ผู้ซื้อ” นั้นทำต่อ เช่น แป้งเค้ก Imperial ที่ต้องใส่ไข่ไก่และวัตถุดิบผสมลงไปถึงจะสมบูรณ์แบบ ตุ้กตาโมเดลของเล่นหรือที่รู้จักกันในนาม “พลาโม” ของบริษัท Bandai ชุดเฟอร์นิเจอร์ที่แยกมาเป็นชิ้นๆเพื่อให้สามารถมาประกอบที่บ้านเองภายใต้ยี่ห้อ IKEA หรือแม้แต่ Lego ของเล่นที่เสริมพัฒนาการการเติบโตของกล้ามเนื้อมัดเล็กและจินตนาการในสมองของเด็กอายุ1ขวบครึ่งขึ้นไป 
.
.
ซึ่งวิธีคิดนี้เรามักรู้จักกันในนาม DIY หรือ Do It Yourself เป็นการสร้างให้เรา “มีความสุข”ระหว่างทำ ถึงแม้ว่าปลายทางรูปร่างจะดูไม่ได้เลยก็ตาม
.
.
บางคนมองว่า User-Generated Content เป้นเหมือนการปฏิเสธและปิดประตู แต่อยากเชิญชวนให้ผู้ประกอบการอย่างเราๆมองว่าเป็นการเชิญชวนมากกว่า เชิญชวนสู่ภาษาของเรา วัฒนธรรมของเรา และธุรกิจของเรา
.
.
ดั่งคำพูดของเบนจามิน แฟรงคลิน ผู้มีผลงานโดดเด่นในด้านวิทยาศาสตร์และการเมือง จนได้ปรากฏในธนบัตรของสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวไว้ว่า Tell me and I forget. Teach me and I remember. Involve me and I learn. “บอกฉัน ฉันจะลืม สอนฉัน ฉันจะจำ แต่ถ้าให้ฉันได้ทำ ฉันจะเรียนรู้”
.
.
อ้างอิง : https://www.behavioraleconomics.com/introduction-to-be/.
.
.

#itsyouYOU 

.
​.

🔹🔹
#DNAbySPU2 
“COME JOIN THE RIDE”
🔹🔹
www.DNAbySPU.com
​

Speaker #DNAbySPU2
https://goo.gl/XGaKHx

.
หมายเหตุ :
1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU
2. ข้อมูล EP.10 ต่อยอดจากการบรรยาย ของคุณศุภกานต์ วงศ์แก้ว ภัณฑารักษ์ปกติศิลป์ ผู้ปั้น 'ราชบุรี' ให้มีชีวิตผ่านพื้นที่ศิลปะชุมชนโดยใช้เมืองทั้งเมืองให้เป็นเหมือนผืนผ้าใบ #Speaker#DNAbySPU 22 April 2017
.
.
จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU
www.DNAbySPU.com
ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
0 Comments



Leave a Reply.

    DNAbySPU

    หลักสูตรพัฒนาพันธุกรรม
    ​ทางความคิด

    สาขาการจัดการธุรกิจดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

    www.DNAbySPU.com
     089-4883655

    Archives

    June 2019
    May 2019
    April 2019
    March 2019
    February 2019
    January 2019
    November 2018
    October 2018
    September 2018
    August 2018
    July 2018
    June 2018
    May 2018
    April 2018
    January 2018
    December 2017
    November 2017
    October 2017
    September 2017

    Categories

    All

    RSS Feed

Location

Contact Us

หลักสูตรพัฒนาพันธุกรรมทางความคิด (DNAbySPU)
สาขาการจัดการธุรกิจดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เลขที่ 2410/2 ถนนพหลโยธิน แขวงเสนานิคม 
เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
EMAIL : dnabyspu@gmail.com
TEL:
คุณลภัสรดา โกมุทพงศ (อุ้ม)  โทร: 089-4883655
  • Home
  • ​Speaker
  • สมัคร #DNAbySPU รุ่นที่ 7
  • Alumni's Opinions
  • DNA JOURNAL
  • INFOGRAPHIC
  • #MottoTH
  • Privacy Policy
  • BLOG DNA7bySPU