DNA by SPU
  • Home
  • ​Speaker
  • สมัคร #DNAbySPU รุ่นที่ 8
  • Alumni's Opinions
  • DNA JOURNAL
  • INFOGRAPHIC
  • #MottoTH
  • Privacy Policy
  • BLOG DNA7bySPU

#DNAjournal EP.4 #DNAbySPU  [CREATE BUSINESS AS CREATE AN ART FORM :: สร้างธุรกิจให้ประดุจดั่งสร้างงานศิลปะ]

9/18/2017

0 Comments

 
Picture
Picture
DNAbySPU #DNAjournal EP.4 @nakrobmoonmanas14
#DNAjournal EP.4 #DNAbySPU
[CREATE BUSINESS AS CREATE AN ART FORM :: สร้างธุรกิจให้ประดุจดั่งสร้างงานศิลปะ]
คุณนักรบ มูลมานัส กราฟฟิกดีไซเนอร์ งานคอลลาจ มือทองของไทย
.
Joseph Beuys (โจเซฟ บอยส์) ศิลปินชาวเยอรมันและอาจารย์ศิลปะด้านประติมากรรมที่ ดุสเซลดอร์ฟ อะคาเดมี ได้ส่งมอบคำประกาศอันทรงพลังให้กับนักเรียนศิลปะของเขาว่า “Everyone is an artist” (มนุษย์ทุกคนคือศิลปิน)
.
.
ซึ่งสอดล้องกับที่ Pablo Ruiz Picasso (ปาโบล รุยซ์ ปีกัสโซ) จิตรกรเอกของโลกชาวสเปน ศิลปินที่มีพรสวรรค์ในการสร้างสรรค์มากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 กล่าวว่า “All children are artists. The problem is how to remain an artist once he grows up” (เด็กทุกคนเป็นศิลปิน ปัญหาคือเราจะรักษาศิลปินไว้ได้อย่างไรเมื่อเขาเป็นผู้ใหญ่)
.
.
เป็นแนวคิดที่ชวนตั้งคำถามว่า “เรานั้นสามารถทำงานศิลปะได้จริงหรือ ?” ซึ่งในความเป็นจริงเราทุกคนไม่ได้เกิดมามีพรสวรรค์ทางด้านศิลปะ  เราไม่มีทักษะฝีมือเชิงช่างชั้นสูง เราขาดแนวคิดการจัดวางที่ดูสมมาตรแต่ทรงพลังและเลือกใช้คู่สีที่ไม่เข้ากันอย่างแรง  ส่วนเส้นกราฟิกที่เราวาดเพื่อฆ่าเวลาโดยเฉพาะระหว่างประชุมไม่ได้ใกล้เคียงกับคำว่า “ศิลปะ” เลยแม้แต่นิดเดียว
.
.
แต่มีงานศิลปะอยู่ประเภทหนึ่ง ที่ทำให้เราทำงานศิลปะได้โดยไม่ต้องอาศัยทักษะทางศิลปะ หรือใช้อุปกรณ์ราคาแพงหูฉี่  แต่ให้ความรู้สึกสนุก เปี่ยมไปด้วยจินตนาการ ให้เราลงมือทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ ประดุจว่าเราย้อนเวลากลับไปสู่ช่วงเวลาที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่สุดนั่นคือตอนเป็นเด็ก
.
.
เปล่า !! ไม่ใช่แนวแอ็บสแตร็กที่ดูแล้วไม่เข้าใจและต้องปีนบันไดเพื่อจะได้เห็นความงดงาม แต่เป็นทัศนศิลป์ที่ก้าวผ่านแรงต้านของกาลเวลาอย่างไร้รอยต่อ ที่สามารถเชื่อมโยงงานศิลปะยุคอดีตและปัจจุบันเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว และประเด็นที่สำคัญที่สุด คือทำให้เกิดความหมายใหม่
.
.
เรากำลังพูดถีงงานศิลปะประเภท #Collage (คอลลาจ) ซึ่งคือ “การใช้สิ่งรอบตัวที่แตกต่างกัน มาจัดเรียงอีกครั้ง เพื่อสร้างความหมายใหม่”
.
.
หลักสูตร #DNAbySPU ได้เชิญคุณนักรบ มูลมานัส กราฟฟิกดีไซเนอร์ งานคอลลาจ มือทองของไทยมาแชร์ความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับศิลปะคอลลาจ การตัดปะภาพเพื่อให้เกิดภาพจำใหม่ด้วยความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการนำไปปรับใช้กับธุรกิจต่างๆ ของผู้เรียนอย่างยั่งยืน
.
.
เราทุกคนล้วนมีความเป็นเป็นนักสะสมอยู่ในตัวเอง ลองมองย้อนกลับไปสมัยเราเป็นเด็กเราต้องเคยสะสมอะไรซักอย่าง อาจจะดูเหมือนไร้สาระ แต่ก็บ่งบอกถึงสัญชาตญาณในการเป็นนักสะสมของเรา ไม่ว่าจะป็นหนังสือการ์ตูน การ์ดพลัง ตุ้กตา ก้อนหินรูปทรงแปลกๆ หรือแม้แต่ฝาน้ำอัดลม
.
.
เมื่อเราก้าวเดินไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ เราเริ่มสะสมในสิ่งที่เราชื่นชอบและมีความหมายกับเรา เช่น กีตาร์ รองเท้า นาฬิกา พระเครือง งานศิลปะ หรือรถยนต์ราคาแพง และเมื่อเราก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการ สิ่งที่เราเลือกสะสมคือสิ่งที่มีค่าที่สุด คือ “ความรู้”
.
.
เราไม่ได้สะสมไปซะทุกสิ่งทุกอย่าง แต่เรา “เลือกจะสะสมในสิ่งที่เราเลือกแล้วเท่านั้น”  เราสะสมในสิ่งที่เราชื่นชอบ สิ่งที่เต็มไปด้วยความงดงามที่น่าชื่นชม สิ่งที่เราสามารถนำไปปรับใช้ได้ และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดของเรา
.
.
อิกอร์ สตราวินสกี้ (Igor Stravinsky) คีตกวีดนตรีคลาสสิกสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชาวรัสเซีย ต้องการที่จะแต่งเพลงเพื่อประกอบการแสดงบัลเล่ต์เรื่อง The Rite of Spring (พิธีบูชายัญในฤดูใบไม้ผลิ)
.
.
แทนที่เขาจะเริ่มคิดใหม่และแต่งเพลงจากศูนย์ แต่เขากลับทำเพลงใหม่ด้วยในวิธีการที่ดูเหมือนจะไม่สง่างามนัก เขาเลือกบทเพลงอมตะที่เขาชื่นชอบตั้งแต่วัยเด็กมาหนึ่งเพลง และไปหยิบโครงสร้างของเพลงและเนื้อเพลงบางส่วนจากบทเพลงอมตะเพื่อมาใช้ในงานเพลงของเขา แต่เขาแต่งเสียงประสาน และจังหวะใหม่ราวกับเป็นเพลงของเขาเอง ว่าง่ายๆคือ  ”ปรับแก้เพลงอมตะของคนอื่นให้เป็นเพลงใหม่ของเขา”
.
.
นักวิจารณ์ ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงสื่อต่างๆ ดูจะไม่ชอบใจกับแนวคิดนี้และสิ่งที่เขาทำเท่าไหร่นัก ถึงขั้นกล่าวหาว่าเขา “ก็อป” มาอย่างหน้าไม่อาย โดยเฉพาะสื่อที่ตั้งฉายาให้กับเขาว่าเป็น “ขุนโจรของวงการเพลง”
.
.
แต่เขาตอบกลับคนที่วิจารณ์ผลงานของเขาด้วยน้ำเสียงที่สงบนิ่งว่า “พวกท่านอาจจะเคารพในเพลงอมตะ แต่ผมมีความชื่นชมในเพลงอมตะนั้น”
.
.
เมื่อบัลเล่ต์เรื่อง “พิธีบูชายัญในฤดูใบไม้ผลิ”ได้ออกแสดง การแสดงชุดนี้ได้รับเสียงชื่นชมจากผู้ชมชาวรัสเซียและผู้ชมทั่วโลก นอกจากการแสดงและการเขียนบทที่งดงามแล้ว สิ่งสำคัญที่ทำให้การแสดงชุดนี้ทรงพลังและเข้าไปอยู่ในใจของผู้ชมบัลเล่ต์ทั่วโลกคือเพลงของเขา เพลงที่เขาแต่งขึ้นใหม่ จากบทเพลงอมตะ
.
.
“ไอเดียที่ไม่ซ้ำใครเลยนั้นไม่มีอยู่จริง ทุกอย่างล้วนได้รับแรงบันดาลใจจากไอเดียที่มีอยู่แล้ว”  ข้อความจากหนังสือระดับ New York Times Bestseller ชื่อ Steal Like An Artist (ขโมยให้ได้อย่างศิลปิน) เขียนโดย  Austin Kleon
.
.
อาจารย์ศิลปะอย่าง โจเซฟ บอยส์ หรือแม้กระทั้งจิตรกรเอกของโลกอย่างปีกัสโซ เริ่มต้นฝึกวาดภาพจากการวาดเลียนแบบงานศิลปะของศิลปินท่านอื่น
.
.
David bowie (เดวิด โบอี) นักร้องและนักแต่งเพลงชาวอังกฤษ ผู้ซึ่งเป็นทั้งนักแสดง และจิตรกร ได้รับการนับถือจากนักวิจารณ์เพลงและศิลปินอื่นๆว่า เป็นผู้เปลี่ยนแปลงดนตรีสู่ยุคใหม่ๆ เมื่อมีคนถามว่าทำไมเขาถึงสรางสรรค์ผลงานใหม่ๆได้เสมอ แต่เขาตอบอย่างติดตลกว่า “ผมแค่เป็นหัวขโมยที่มีรสนิยมดี”
.
.
หัวใจสำคัญของการสร้างสรรค์ผลงานคือ การเก็บเล็กผสมน้อยจากความคิดของคนอื่น แล้วนำมาผสมผสานกับความคิดของเราเอง เพื่อสร้างผลงานที่เป็นเอกลักษณ์และภาพจำของเราขึ้นมาเพราะเราก็คือ “ส่วนผสมของสิ่งที่เราเลือกแล้ว”
.
.
เราสามารถ “เลือก” ไอเดียจากครอบครัว เพื่อนที่ได้คุย ภาพยนตร์ที่ได้ดู เพลงที่ได้ฟัง บทความที่ได้อ่าน เมืองที่เราใช้ชีวิตอยู่ และจากสิ่งอื่นๆรอบตัว ให้เราค่อยๆสะสมไปเรื่อยๆ อย่างช้าๆและมีความหมาย แล้วจึงนำความฝันที่กระจัดกระจายเหล่านั้น มารวบรวมอย่างเป็นระเบียบและนำเสนออกมาเป็นตัวตนที่ชัดเจน
.
.
วันนี้เราอาจจะได้รับข้อความที่ “โลกส่งถึงเรา” ที่ทำให้เราได้เห็นโลกใบใหม่ และเมื่อโลกใบใหม่หลายๆใบมารวมกัน จะกลายเป็นจักรวาลทางความคิดที่ไม่สิ้นสุดอยู่ในหัวของเรา  และพรุ่งนี้โลกอาจจะได้รับข้อความที่ “เราส่งถึงโลก”
.
.
อ้างอิง :: หนังสือ Steal Like An Artist  ผู้เขียน Austin Kleon, http:// history.com
.
​
#itsyouYOU 
.
.
🔹🔹
#DNAbySPU2 
“COME JOIN THE RIDE”
🔹🔹
www.DNAbySPU.com
​

Speaker #DNAbySPU2
https://goo.gl/XGaKHx
.
หมายเหตุ ::
1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU
2. ข้อมูล EP.4 ต่อยอดจากการบรรยาย ของคุณนักรบ มูลมานัส กราฟฟิกดีไซเนอร์ งานคอลลาจ มือทองของไทยมาแชร์ความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับศิลปะคอลลาจ การตัดปะภาพเพื่อให้เกิดภาพจำใหม่ด้วยความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการนำไปปรับใช้กับธุรกิจต่างๆ ของผู้เรียนอย่างยั่งยืน SurpriseSpeaker #DNAbySPU 18 March 2017
จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU
www.DNAbySPU.com
ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
Picture
Picture
Picture
Picture
0 Comments



Leave a Reply.

    DNAbySPU

    หลักสูตรพัฒนาพันธุกรรม
    ​ทางความคิด

    สาขาการจัดการธุรกิจดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

    www.DNAbySPU.com
     089-4883655

    Archives

    June 2019
    May 2019
    April 2019
    March 2019
    February 2019
    January 2019
    November 2018
    October 2018
    September 2018
    August 2018
    July 2018
    June 2018
    May 2018
    April 2018
    January 2018
    December 2017
    November 2017
    October 2017
    September 2017

    Categories

    All

    RSS Feed

Powered by Create your own unique website with customizable templates.
  • Home
  • ​Speaker
  • สมัคร #DNAbySPU รุ่นที่ 8
  • Alumni's Opinions
  • DNA JOURNAL
  • INFOGRAPHIC
  • #MottoTH
  • Privacy Policy
  • BLOG DNA7bySPU