DNA by SPU
  • Home
  • ​Speaker
  • สมัคร #DNAbySPU รุ่นที่ 7
  • Alumni's Opinions
  • DNA JOURNAL
  • INFOGRAPHIC
  • #MottoTH
  • Privacy Policy
  • BLOG DNA7bySPU

#DNAjournal EP.8 #DNAbySPU[Business design as a part of consumer’ lives :: เริ่มที่มนุษย์ จบที่พฤติกรรม]

9/18/2017

0 Comments

 
Picture
Picture
#DNAjournal EP.8 #DNAbySPU
[Business design as a part of consumer’ lives :: เริ่มที่มนุษย์ จบที่พฤติกรรม] คุณนันทิศา อัครเกษมพร Associate Manager Line@
.
.
เราจะออกแบบธุรกิจของเราให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตลูกค้าเราได้อย่างไร ?
.
.
เมื่อเราพูดถึง “การออกแบบ” หลายๆครั้งความคิดในหัวของเรามักจะเน้นไปที่การเชื่อมโยงแนวความคิดหลายๆอย่างการผสมผสานและลดทอนสิ่งต่างๆ โดยการเพิ่มเติมในส่วนเล็กๆน้อยๆเข้าไว้ด้วยกันและขจัดบางสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป 
.
.
ในฐานะผู้ประกอบการ เรามีความมุ่งมั่นที่จะตอบสนองความต้องการอันแท้จริงของลูกค้าของเรา เราจึงพยายามออกแบบสินค้าและบริการให้สวยและมีเสน่ห์ขึ้น ปรับปรุงให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น แก้ไขในส่วนที่ยากให้ดูน่าใช้มากขึ้น เพื่อหวังว่าลูกค้าของเราจะได้ประสบการณ์ที่ดีที่สุดจากเรา
.
.
แต่ทำไมหลายๆครั้งเราพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ดีที่สุด ใช้ง่ายที่สุด สวยที่สุดจนลูกค้าของเราเอ่ยปากชมเชย แต่ลูกค้ากลับไม่สนใจสินค้าและบริการของเราแต่กลับไปใช้จ่ายในธุรกิจคู่แข่ง หลายต่อหลายครั้ง หรือว่าการออกแบบนั้นจะไม่สามารถขับเคลื่อนพฤติกรรมได้ ?
.
.
ถ้าเราย้อนกลับไปศึกษาในปรัชญาของการออกแบบ เราจะพบว่าเราได้มองข้ามบางสิ่งบางอย่างที่สำคัญไป หลายๆครั้งถ้าพูดถีง “การออกแบบ” เรามักจะมองไปที่ความงดงามและสุนทรียภาพที่จับต้องได้ แต่ถ้าเราใช้เวลาอีกสักหน่อยเพื่อมองให้ลึกลงไปอีกขั้น เราจะมองเห็นในแก่นที่แท้จริงของการออกแบบนั่นคือ “การออกแบบที่คิดถึงผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง” หรือ (Human-centered design)
.
.
หลักสูตร #DNAbySPU ได้รับเกียรติจากคุณนันทิศา อัครเกษมพร Associate Manager ทีม LINE@ บริษัท ไลน์ พลัส คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ที่มาแนะนำวิธีการการออกแบบที่คิดถึงผู้ใช้เป็นศูนย์กลางซึ่งนำไปสู่การขับเคลื่อนพฤติกรรม
.
.
การทำการตลาดในอดีตมักจะพึ่งพาการทำโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ผ่านทางกระบอกเสียงอันใหญ่ที่ถ่ายทอดเสียงของเราให้ไปได้ไกลที่สุดและหวังว่าลูกค้าที่ได้ยินเสียงของเราจะทำตามที่เราบอกและมาใช้บริการธุรกิจของเรา  
.
.
ซึ่งลูกค้าก็ยินยอมรับสารที่เราส่งออกไปแต่โดยดีและทำในสิ่งที่เราปราถนาให้ทำ เพราะในอดีตลูกค้ามักไม่ค่อยมีตัวเลือกมากนัก ผู้ประกอบการอย่างเราจึงเคยชินกับการ “ผลักธุรกิจของเราไปสู่ลูกค้าของเรา 
.
.
แต่ในสมัยนี้ พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับเทคโนโลยีที่เติบโตแบบก้าวกระโดด ทำให้ลูกค้า “หวง” พื้นที่ส่วนตัวมากขึ้นและไม่ต้องการโดน “ขัดจังหวะ” ลูกค้าพยายามปิดกั้นเสียงที่เราส่งไปเพื่อแทรกบทสนทนาของเขา ลูกค้าปฎิเสธในข้อความที่เราส่งออกไป เราจึงไม่สามารถทำอย่างเก่าได้
.
.
ดังนั้นเราควรจะเปลี่ยนวิธีคิดของเรา เราควรยกเลิกระบบที่เรียกว่าการ “ผลัก” และควรส่งเสริมการ “ดึง” ขึ้นมาแทนที่ 
.
.
เราต้องดึงลูกค้าให้เข้ามามีส่วนร่วมกับธุรกิจของเรา ด้วยการวางผู้ใช้ไว้ศูนย์กลาง แล้วจึงสร้างโอกาสที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนพฤติกรรม โดยการปลุกเร้าลูกค้าให้ต้องการสินค้าของเราในห้วงเวลาที่กำลังจะจ่ายเงินให้ธุรกิจคู่แข่ง กระตุ้นลูกค้าในช่วงเวลาที่ลูกค้าควรได้รับการถูกกระตุ้น 
.
.
โดยแท้จริงไม่ได้นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและร่ำรวยไม่ได้ออกแบบสินค้าและบริการของเขาอย่างดีเยี่ยมเท่านั้น แต่เขาเหล่านั้นได้ออกแบบสิ่งที่กระตุ้นพฤติกรรมของมนุษย์เพื่อรองรับสินค้าของเขาด้วย
.
.
โทมัส อัลวา เอดิสัน คือชายที่ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าขึ้นสำเร็จเป็นคนแรกในโลก แต่สำหรับตัว เอดิสันเองแล้ว เขากลับไม่ได้พึงพอใจกับความสำเร็จตรงหน้าเท่าไหร่นัก เพราะสิงประดิษฐ์ที่นี้ถ้าขาดอุปกรณ์ที่ให้กำเนิดและส่งผ่านกระแสไฟฟ้าที่ใช้กันแพร่หลาย “หลอดไฟดวงแรกของโลก” จะเป็นได้แค่ผลิตภัณท์ต้นแบบที่เอาไป จัดแสดงตามงานแสดงเทคโนโลยีเท่านั้นหรือที่เราเรียกกันว่า “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” 
.
.
ดังนั้นงานของเอดิสันจึงยังไม่จบ สิ่งที่เขาต้องทำต่อคือ การนำสินค้าเข้าสู่ตลาดหรือ“นำงานวิจัยขึ้นหิ้งไปสู่ห้าง” และในหนึ่งปีหลังจากนั้นเขาได้จดทะเบียนสิทธิบัตรระบบจัดส่งไฟฟ้า (Electric Distribution System) เพื่อทำหน้าที่ผลิต จัดส่งและขายกระแสไฟฟ้าไปสู่ทุกครัวเรือนในนิวยอร์ก จึงทำให้หลอดไฟของเขาถูกใช้อย่างแพร่หลาย ด้วยวิธีคิดของเขาทำให้ และมีชื่ออยู่เหนือกาลเวลา โดยกลายเป็นสัญลักษณ์ในการคิดค้นนวัตกรรมของนวัตกรทั่วโลก
.
.
เพราะเอดิสันมองว่าสินค้าของเขาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่มนุษยชาติได้ การที่จะทำให้สินค้าของเขาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตลูกค้า เขาต้องสร้างโอกาสในการใช้งานเสียก่อน 
.
.
ดังนั้นผู้ประกอบที่ดีนั้น นอกเหนือจากจะให้ความสำคัญกับสินค้าแล้ว ควรจะให้ความสำคัญกับการออกแบบโอกาสในการใช้งานด้วย ซึ่งวิธีการในการหาโอกาสนั้นไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อน แต่กลับตรงไปตรงมาและง่ายแสนง่ายกว่าที่ราคิด เพียงแค่ดึงให้ผู้ใข้เป็น “ศุนย์กลาง” แล้วจึงเชื่อมโยงกับโอกาสในการใช้สินค้าของเราด้วยเครื่องมือที่เรามีเพื่อให้สินค้าของเราเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตลูกค้า
.
.
ดั่งคำพูดของกาลิเลโอ กาลิเลอิ นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลีซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ได้กล่าวไว้ว่า All truths are easy to understand once they are discovered; the point is to discover them. ความจริงในเรื่องต่างๆง่ายที่จะเข้าใจเมื่อมีการค้นพบแล้ว ประเด็นคือ เราต้องค้นหามันให้เจอ
.
.
อ้างอิง : https://en.wikipedia.org/wiki/Thomas_Edison
.
.
#itsyouYOU 
.
.
🔹🔹
#DNAbySPU2 
“COME JOIN THE RIDE”
🔹🔹
www.DNAbySPU.com
​

Speaker #DNAbySPU2
https://goo.gl/XGaKHx

​.

หมายเหตุ :
1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU
2. ข้อมูล EP.8 ต่อยอดจากการบรรยาย ของคุณนันทิศา อัครเกษมพร Associate Manager ทีม LINE@ บริษัท ไลน์ พลัส คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ที่มาแนะนำวิธีการการออกแบบที่คิดถึงผู้ใช้เป็นศูนย์กลางซึ่งนำไปสู่การขับเคลื่อนพฤติกรรม #Speaker #DNAbySPU 25 March 2017
.
.
จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU
www.DNAbySPU.com
ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
Picture
Picture
0 Comments



Leave a Reply.

    DNAbySPU

    หลักสูตรพัฒนาพันธุกรรม
    ​ทางความคิด

    สาขาการจัดการธุรกิจดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

    www.DNAbySPU.com
     089-4883655

    Archives

    June 2019
    May 2019
    April 2019
    March 2019
    February 2019
    January 2019
    November 2018
    October 2018
    September 2018
    August 2018
    July 2018
    June 2018
    May 2018
    April 2018
    January 2018
    December 2017
    November 2017
    October 2017
    September 2017

    Categories

    All

    RSS Feed

Location

Contact Us

หลักสูตรพัฒนาพันธุกรรมทางความคิด (DNAbySPU)
สาขาการจัดการธุรกิจดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เลขที่ 2410/2 ถนนพหลโยธิน แขวงเสนานิคม 
เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
EMAIL : dnabyspu@gmail.com
TEL:
คุณลภัสรดา โกมุทพงศ (อุ้ม)  โทร: 089-4883655
  • Home
  • ​Speaker
  • สมัคร #DNAbySPU รุ่นที่ 7
  • Alumni's Opinions
  • DNA JOURNAL
  • INFOGRAPHIC
  • #MottoTH
  • Privacy Policy
  • BLOG DNA7bySPU