DNA by SPU
  • Home
  • ​Speaker
  • สมัคร #DNAbySPU รุ่นที่ 7
  • Alumni's Opinions
  • DNA JOURNAL
  • INFOGRAPHIC
  • #MottoTH
  • Privacy Policy
  • BLOG DNA7bySPU

#DNAjournal2 #EP11Digital Transformation "หัวข้อที่ดูใหญ่โต แต่กลับเชื่อมโยงได้ไม่ยาก"

12/4/2017

0 Comments

 
Picture
Picture
#DNAjournal2 #EP11

.

.

Digital Transformation

หัวข้อที่ดูใหญ่โต...แต่กลับเชื่อมโยงได้ไม่ยาก

.

.

Tefan Heck อาจารย์เศรษฐศาสตร์นวัตกรรมและทรัพยากรจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ร่วมกับ Matt Rogers จากบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจ McKinsey & Company เขียนหนังสือชื่อว่า Resource Revolution: How to Capture the Biggest Business Opportunity in a Century ที่ได้ฉายภาพให้เห็นว่า ในขณะที่ทั้งโลกกำลังกังวลกับทรัพยากรที่ร่อยหรอลงเรื่อยๆ ย่อมมีผู้ประกอบการล้มเหลวเป็นธรรมดา แต่ก็มีผู้ประกอบการบางกลุ่มเช่นกันที่ใช้ช่วงเวลาเดียวกันนี้สร้างโอกาสได้อย่างชาญฉลาด

.

.

ประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์แล้วว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมแต่ละครั้งล้วนเกิดจาก “เทคโนโลยีที่ดีกว่าและสมเหตุสมผลกว่า”   ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการหลายรายสะดุดล้มจากการที่ไม่ยอมปรับตัว และที่น่ากลัวกว่านั้นคือ เมื่อใดสะดุดล้มแล้ว ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะลุกขึ้นมาวิ่งตามคู่แข่งทัน เปรียบเสมือนการสะดุดล้มในการแข่งขันวิ่ง 100 เมตร

.

.

ทุกท่านทราบดีอยู่แล้วว่าในช่วงเวลานี้ สิ่งที่จะทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้ ไม่ใช่หลักการตลาด 101 ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 แต่คือการหันหน้าเข้าสู่ศาสตร์ของการทำตลาดสมัยใหม่ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามาเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตของมนุษย์ทุกคน

.

.

เมื่อโลกผันแปรจากการขับเคลื่อนด้วยระบบอนาล็อกมาสู่ยุคดิจิทัล ทำให้ทั่วทั้งโลกตื่นตระหนกกับคำว่า “Digital Transformation” และเมื่อคำนี้ปรากฏออกมาตามแวดวงสื่อหรืองานสัมมนาวิชาการ หลายต่อหลายท่านอาจเลิกคิ้ว มึนงงและรู้สึกกลัว เพราะยังมองไม่ออก และยังไม่รู้จะนำศาสตร์ความรู้ชุดนี้ทำการเชื่อมโยงเข้ากับธุรกิจของท่านได้อย่างไร ? 

.

.

อาจจะฟังดูน่าหดหู่และสิ้นหวัง แต่จริงๆ แล้ว ในทุกวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอ Digital Transformation ไม่ได้หมายถึงการทำให้ธุรกิจจำนวนมากหายไปอย่างเดียว แต่ยังทำให้หลายธุรกิจมีความหวังมากขึ้น และปรับตัวได้ง่ายขึ้น แล้วธุรกิจของท่านจะนำ Digital Transformation มาเป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนได้อย่างไร ?

.

.

หลักสูตร #DNAbySPU2 ได้รับเกียรติจาก คุณมัญฑิตา จินดา Senior Strategic Marketing Manager (Digital TV) Workpoint Entertainment ที่มาแบ่งปันประสบการณ์ แนวคิดที่มีต่อ “แก่น” ของ Digital Transformation เพื่อให้ธุรกิจเตรียมก้าวเข้าสู่ปี 2018 อย่างไม่ตกเทรนด์และทันท่วงที

.

.

แนวคิดสำคัญที่นำพาโตโยต้าสู่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ในวงการยานยนต์ คือ แนวคิดแบบ “Lean Manufacturing” เป็นการให้ความสำคัญกับการลดทอนสิ่งที่ไม่จำเป็น แต่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการสร้าง คุณค่าให้กับลูกค้าให้มากที่สุดโดยใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็นเท่านั้น 

.

.

Eric Ries ผู้ร่วมก่อตั้ง IMVU บริการโซเชียลเน็ตเวิร์กแนว Second Life เขานำแนวคิดดังกล่าวมาเชื่อมโยงเข้ากับการบริหารบริษัท IMVU ของเขา เมื่อใช้กับ IMVU ได้ผล Eric จึงนำเอาเคสของ IMVU ที่ใช้หลัก Lean ในการบริหารไปเผยแพร่ในคลาสที่เขาสอนใน Harvard Business School และเขียนหนังสือ “Lean Startup” ออกมาจนเป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง

.

.

Lean Startup ไม่ใช่แนวคิดที่ถูกสร้างมาเพื่อเน้นไปที่การประหยัดทางการเงิน แต่เกี่ยวข้องกับความเร็วและการลองผิดลองถูกเพื่อตอบคำถาม และพิสูจน์ความเป็นไปได้ของไอเดียนั้นโดยอาศัยข้อเท็จจริง ไม่ใช่สัญชาติญาณ

.

.

หัวใจหลักของ Lean Startup มี 3 สิ่ง ได้แก่ “สร้างเพื่อวัดผล” (Build) “วัดผลเพื่อเรียนรู้” (Measure) และ “เรียนรู้เพื่อสร้าง” (Learn) ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ไม่ได้เป็นกระบวนการเส้นตรงที่ทำแล้วจบไป แต่ต้องทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆ (Loop) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปในทิศทางที่ให้คุณค่าผู้คนได้มากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ผลิตภัณฑ์สมบูรณ์ขึ้นและเหมาะสมกับความต้องการของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา 

.

.

ขั้นตอนแรกคือการ “สร้างเพื่อวัดผล ” (Build) เมื่อท่านมีไอเดียแล้วให้ลงมือสร้างให้เร็วที่สุด แต่ไม่จำเป็นว่าผลิตภัณฑ์จะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ก่อนจึงค่อยปล่อยสู่สาธารณะ โดยท่านอาจจะเริ่มจากการทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype) ที่มีแค่คุณสมบัติที่จำเป็นจริงๆ เพราะจุดประสงค์หลักของขั้นตอนนี้คือ การทำให้ไอเดียออกไปนำเสนอสู่สาธารณะให้เร็วที่สุด เพื่อเก็บข้อมูลและความคิดเห็นของผู้ใช้

.

.

หลังจากผลิตภัณฑ์ที่สร้างเอาไว้ในขั้นแรกถูกปล่อยสู่สาธารณะเรียบร้อย สิ่งที่ต้องทำในลำดับต่อมาคือ ขั้นตอนการ “วัดผลเพื่อเรียนรู้” (Measure)  โดยมีการกำหนดตัวชี้วัดต่างๆ ขึ้นมาและคอยดูว่าตัวเลขข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายเป็นไปตามที่คาดคิดหรือไม่ ? โดยให้พยายามพูดคุยและรวบรวมข้อมูลเหล่านี้ให้มากที่สุด เพราะจุดประสงค์หลักของขั้นตอนนี้คือ เช็คดูว่าความต้องการของพวกเขากับสิ่งที่ท่านคิดนั้นตรงกันหรือไม่

.

.

ขั้นตอนต่อมาคือ “เรียนรู้เพื่อสร้าง” (Learn) เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสรุปเพื่อที่จะใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการครั้งต่อไป  นอกเหนือจากความเข้าใจลูกค้าที่จะเพิ่มมากขึ้นแล้ว ท่านอาจได้ข้อมูลใหม่ๆ ที่ไม่คาดคิดมาก่อน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไปในอนาคต

.

.

ปัจจุบันแนวคิด Lean Startup ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในวงการสตาร์ทอัพทั่วโลก แต่ไม่ได้ถูกใช้กับบริษัทสตาร์ทอัพขนาดเล็กเท่านั้น แนวคิดนี้ยังทำให้บริษัทขนาดใหญ่ที่มีเป้าหมายในการสร้างนวัตกรรม หรือเปลี่ยนแนวทางการทำธุรกิจ มองเห็นทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

.

.

อาจจะฟังดูไม่ค่อยเป็นวิชาการดิจิทัลเท่าไหร่ แต่เนื้อแท้ของแนวคิดนี้ก็เหมือนกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ที่ทดลอง ทดลองและทดลอง จนได้ผลลัพธ์ที่ดีออกมา ในสมัยก่อนกว่าจะได้ผลลัพธ์มาต้องใช้ทรัพยากรและเวลามหาศาล แต่ในยุคที่โลกถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูลดิจิทัลใน Social Media ท่านกับลูกค้าห่างกันแค่ไม่กี่ก้าว เพียงแค่ท่านโพสต์ไอเดียของท่านลงไปในช่องทางที่ท่านมีเท่านั้น ท่านจะได้รับผลลัพธ์ในเวลาไม่กี่อึดใจ

.

.

แน่นอนว่าการทดลองมักจะควบคู่กับความล้มเหลว แต่การล้มเหลวเป็นกระดาษแผ่นเดียวกับการเรียนรู้ ขึ้นอยู่กับว่าท่านจะเลือกมองที่ด้านใด ?

.

.

“ฉันไม่รังเกียจที่จะนั่งที่พื้นของโรงเรียน สิ่งที่ต้องการสำหรับฉัน คือ การได้เรียนหนังสือ และฉันไม่เกรงกลัวใครที่จะแสดงออกเช่นนี้” -มาลาลา ยูซาฟไซ- (สาวน้อยมหัศจรรย์ชาวปากีสถาน ที่ได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้าที่ประชุมใหญ่ของสหประชาชาติ 2556) 

.

.

#itsyouYOU  

.

.

หมายเหตุ

1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU

2. ข้อมูล EP.11 ต่อยอดจากการบรรยายของคุณมัญฑิตา จินดา Senior Strategic Marketing Manager (Digital TV) Workpoint Entertainment ที่มาแบ่งปันประสบการณ์ แนวคิดที่มีต่อ “แก่น”ของ Digital Transformation เพื่อให้ธุรกิจเตรียมก้าวเข้าสู่ปี 2018 อย่างไม่ตกเทรนด์และทันท่วงที



#Speaker #DNAbySPU2 4 November 2017

.

.

จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU

www.DNAbySPU.com

ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
Picture
Picture
0 Comments



Leave a Reply.

    DNAbySPU

    หลักสูตรพัฒนาพันธุกรรม
    ​ทางความคิด

    สาขาการจัดการธุรกิจดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

    www.DNAbySPU.com
     089-4883655

    Archives

    June 2019
    May 2019
    April 2019
    March 2019
    February 2019
    January 2019
    November 2018
    October 2018
    September 2018
    August 2018
    July 2018
    June 2018
    May 2018
    April 2018
    January 2018
    December 2017
    November 2017
    October 2017
    September 2017

    Categories

    All

    RSS Feed

Location

Contact Us

หลักสูตรพัฒนาพันธุกรรมทางความคิด (DNAbySPU)
สาขาการจัดการธุรกิจดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เลขที่ 2410/2 ถนนพหลโยธิน แขวงเสนานิคม 
เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
EMAIL : dnabyspu@gmail.com
TEL:
คุณลภัสรดา โกมุทพงศ (อุ้ม)  โทร: 089-4883655
  • Home
  • ​Speaker
  • สมัคร #DNAbySPU รุ่นที่ 7
  • Alumni's Opinions
  • DNA JOURNAL
  • INFOGRAPHIC
  • #MottoTH
  • Privacy Policy
  • BLOG DNA7bySPU