DNA by SPU
  • Home
  • ​Speaker
  • สมัคร #DNAbySPU รุ่นที่ 7
  • Alumni's Opinions
  • DNA JOURNAL
  • INFOGRAPHIC
  • #MottoTH
  • Privacy Policy
  • BLOG DNA7bySPU

#DNAjournal2 #EP14 Cyber Security 'ในโลกที่ไซเบอร์กำลังเป็นใหญ่ ท่านยังปลอดภัยอยู่หรือเปล่า?'

12/25/2017

0 Comments

 
Picture
Picture
​#DNAjournal2 #EP14

.

.

Cyber Security

ในโลกที่ไซเบอร์กำลังเป็นใหญ่ ท่านยังปลอดภัยอยู่หรือเปล่า ?

.

.

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ายุคนี้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รอบตัวแทบทุกอย่างสามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้โดยอัตโนมัติ ตามแนวคิดของ “อินเตอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง”  (Internet of Things) ที่ทำให้อุปกรณ์ที่ไม่เคยรู้จักมาจากต่างบ้านต่างถิ่นสามารถคุยกันเข้าใจด้วยเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยปราศจากล่าม (Machine to Machine)  

.

.

วิทยาการนี้มีข้อดีคือทำให้มนุษย์ใช้ชีวิตได้สะดวกสบายขึ้น เพราะไม่ต้องมานั่งจดข้อมูลที่เกิดขึ้นในทุกช่วงเวลาของชีวิตประจำวัน แต่ในข้อดีก็ย่อมมีข้อเสีย เพราะการที่ท่านพกพาอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลาทำให้มีการ “รับ” และ “ส่ง” ข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการรับส่งที่ดูเหมือนจะไม่มีอะไรนี่แหละ อาจจะทำให้ท่านเกิดอาการ “โดนของ” โดยไม่รู้ตัว 

.

.

คำว่า “โดนของ” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงวิชาไสยศาสตร์ที่ใช้อักขระอันชั่วร้าย  แต่หมายถึงไวรัสโทรจันที่เป็นต้นกำเนิดของอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต

.

.

“ความมั่นคงไซเบอร์” หรือ Cyber Security ดูจะเป็นบทสนทนาที่นานๆ ถึงจะโผล่ขึ้นมาสักครั้งหนึ่งในสื่อต่างๆ น้อยกว่าเรื่องดาราและอุบัติเหตุ แต่เชื่อได้ว่าหลายท่านคงไม่ทราบว่า เรื่องนี้ถือเป็นสิ่งผิดกฎหมายที่ใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งในโลก จากข้อมูลของสหประชาชาติพบว่าอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต ทำให้เกิดการสูญเสียเป็นมูลค่ากว่า 445 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของ 160 ประเทศรวมกันเสียอีก

.

.

แล้วอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตทำลงไปเพื่ออะไรล่ะ ? อาชญากรหรือแฮกเกอร์คงไม่ได้จะเสียเวลาและทรัพยากรเพื่อเจาะเอาข้อมูลเพลย์ลิสที่ท่านชอบหรือรายชื่อหนังเรื่องที่ท่านโปรดปรานไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตหรอก แต่สิ่งที่พวกเขาเหล่านั้นมุ่งหวังอย่างแท้จริงคือเงินที่อยู่ในบัญชีของท่านต่างหาก 

.

.

นักวิจัยด้านความปลอดภัยได้ออกมายกตัวอย่างเพื่ออธิบายถึงขั้นตอนและกระบวนการทำงานของไวรัสโทรจันทางการธนาคารที่ชื่อ “Direwolf” ที่วิธีทำงานของมันไม่ได้ซับซ้อนเหมือนที่เห็นในหนังจารกรรมแต่กลับง่ายดายอย่างไม่น่าเชื่อ สมมุติว่าท่านบังเอิญได้ดาวน์โหลดไดร์วูล์ฟมาจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เจ้าหมาป่าจากโลกันต์จะแทรกเข้าไปในคอมพิวเตอร์ของท่าน และมันก็จะนั่งอยู่ตรงนั้นและคอย มันจะรอคอยอยู่ไปเรื่อยๆ จนกว่าท่านจะเข้าสู่ระบบบัญชีธนาคารเพื่อทำธุรกรรม และเมื่อท่านเข้าไปเจ้าหมาป่าตัวน้อยก็จะแทรกตัวเข้าไปอยู่ในนั้นได้ และไปขโมยหลักฐานต่างๆ แล้วก็ใช้สิ่งนั้นไปขโมยเงินของท่าน

.

.

เรื่องแบบนี้คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ทั้งกับตัวท่านเองหรือคนรอบข้าง ดังนั้นท่านจะป้องกันตัวเองได้อย่างไรไม่ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของปัญหานั้น

.

.

หลักสูตร #DNAbySPU2 ได้รับเกียรติจาก คุณอาทิตย์ ธำรงธัญวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็ตทรี จำกัด และพิธีกรรายการ เกาเหลาไอที ที่จะมาอธิบายถึงความอันตรายของการโดนจารกรรมข้อมูล และสิ่งที่สามารถทำได้เพื่อหยุดยั้งและไม่เป็นส่วนหนึ่งของปัญหานั้นๆ

.

.

พวกอาชญากรทำงานกันแบบนิรนาม และอยู่ในมุมมืดภายนอกเอื้อมมือของกฎหมาย แน่นอนว่าเมื่อเกิดปัญหาขึ้น ท่านไม่สามารถฟ้องร้องหรือเรียกร้องใดๆ จากผู้กระทำผิดได้ ดังนั้น การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันตนเองและสร้างภูมิคุ้มกันเอาไว้เสียก่อนย่อมมีชัยชนะเหนือการแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นเสมอ    

.

.

การอัพเดตระบบปฏิบัติการการบนสมาร์ทโฟนอาจดูเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่าย หลายๆ ท่านจึงละเลยการอัพเดต แต่ที่บริษัททยอยทำเวอร์ชั่นอัพเดทมาเพื่อลดช่องว่างด้านความปลอดภัย ดังนั้นท่านไม่ควรบอกปัดการอัพเดต

.

.

ในมุมมองของคนทั่วไปการโหลดแอพมาใส่ไว้ในสมาร์ทโฟนถือเป็นเรื่องธรรมดา แต่อาชญากรที่ชาญฉลาดสามารถนำเรื่องนี้มาใช้ในการจารกรรมข้อมูล ด้งนั้นยอมเสียเวลาสักนิดเพื่อตรวจสอบผู้จัดทำแอพเสียก่อน เพื่อให้สมาร์ทโฟนของท่านปลอดภัยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การใช้จ่ายไปกับซอฟท์แวร์ลิขสิทธ์ในคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่ควรทำเพราะนอกจากจะได้ทำการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้วยังแน่ใจได้อีกด้วยว่าจะไม่มีอะไรถูก “ฝัง” มาด้วย

.

.

ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์จะเสนอตัวช่วยในการจำพาสเวิร์ดในโปรแกรมที่ใช้งานบ่อยเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้ท่าน แต่ท่านก็ไม่ควรรับข้อเสนอนั้น เพราะเวลาที่ท่านไม่อยู่ที่หน้าจอและมีคนอื่นมาแทนที่ คอมพิวเตอร์ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นท่านหรือไม่ ?

.

.

การตั้งพาสเวิร์ดให้ปลอดภัย ควรจะตั้งให้หลากหลาย อย่าใช้พาสเวิร์ดเดียวแต่ครอบคลุมทุกเว็บไซต์ เพราะถ้าอาชญากรสามารถล่วงรู้พาสเวิร์ดท่าน เขาสามารถเอาไปลองได้กับทุกเว็บ ดังนั้น ควรตั้งให้แตกต่างกันเข้าไว้ โดยตั้งพาสเวิร์ดหลักไว้ก่อน จากนั้นค่อยเติมชื่อย่อเว็บทีหลังก็ได้ เช่น PasswordFB สำหรับเล่น Facebook PasswordIG สำหรับเล่น Instagram

.

.

เว็บไซต์ Opinium.co.uk  ได้ทำการสำรวจเกี่ยวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตไร้สายสาธารณะ (Wi-Fi) และพบข้อเท็จจริงว่า Wi-Fi สาธารณะ สามารถเก็บพาสเวิร์ดของผู้ใช้มากกว่า 637 ล้านรหัสทั่วโลก สถานที่ที่ถูกระบุว่า มีความเสี่ยงต่อการรั่วไหลของข้อมูลในการใช้งานอินเทอร์เน็ตไร้สายสาธารณะสูงสุดเป็น 3 อันดับแรก ได้แก่ ร้านกาแฟ โรงแรมและสถานที่สาธารณะต่างๆ โดยทั้งหมดถูกกระทำโดย “Wi-Fi Sniffer” อาชญากรทางคอมพิวเตอร์ที่ดักจับข้อมูลส่วนตัวผ่านการใช้งานอินเทอร์เน็ตไร้สายสาธารณะ

.

.

ในสงครามการรบถ้าผู้โจมตีมีเป้าหมายแล้ว เขาจะเลือกโจมตีไปยังจุดที่อ่อนแอที่สุดก่อนเสมอ Jack ma ผู้ก่อตั้งอาลีบาบา เคยให้ความเห็นว่าวันดีที่สุดในการซ่อมหลังคาก็คือวันที่ฝนไม่ตก ดังนั้นควรป้องกันไว้ ดีกว่ามาเสียใจทีหลัง 

 .

.

ที่มา : http://www.telegraph.co.uk/technology/internet-security/10886640/Cyber-crime-costs-global-economy-445-bn-annually.html , http://classroom.synonym.com/wifi-sniffing-21716.html

.

.

#itsyouYOU  

.

.

หมายเหตุ

1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU

2. ข้อมูล EP.14 ต่อยอดจากการบรรยายของคุณอาทิตย์ ธำรงธัญวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็ตทรี จำกัด และพิธีกรรายการ เกาเหลาไอที ที่จะมาอธิบายถึงความอันตรายของการโดนจารกรรมข้อมูล และสิ่งที่สามารถทำได้เพื่อหยุดยั้งและไม่เป็นส่วนหนึ่งของปัญหานั้นๆ





#Speaker #DNAbySPU2 18 November 2017

.

.

จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU

www.DNAbySPU.com

ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
Picture
Picture
0 Comments



Leave a Reply.

    DNAbySPU

    หลักสูตรพัฒนาพันธุกรรม
    ​ทางความคิด

    สาขาการจัดการธุรกิจดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

    www.DNAbySPU.com
     089-4883655

    Archives

    June 2019
    May 2019
    April 2019
    March 2019
    February 2019
    January 2019
    November 2018
    October 2018
    September 2018
    August 2018
    July 2018
    June 2018
    May 2018
    April 2018
    January 2018
    December 2017
    November 2017
    October 2017
    September 2017

    Categories

    All

    RSS Feed

Location

Contact Us

หลักสูตรพัฒนาพันธุกรรมทางความคิด (DNAbySPU)
สาขาการจัดการธุรกิจดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เลขที่ 2410/2 ถนนพหลโยธิน แขวงเสนานิคม 
เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
EMAIL : dnabyspu@gmail.com
TEL:
คุณลภัสรดา โกมุทพงศ (อุ้ม)  โทร: 089-4883655
  • Home
  • ​Speaker
  • สมัคร #DNAbySPU รุ่นที่ 7
  • Alumni's Opinions
  • DNA JOURNAL
  • INFOGRAPHIC
  • #MottoTH
  • Privacy Policy
  • BLOG DNA7bySPU