DNA by SPU
  • Home
  • ​Speaker
  • สมัคร #DNAbySPU รุ่นที่ 7
  • Alumni's Opinions
  • DNA JOURNAL
  • INFOGRAPHIC
  • #MottoTH
  • Privacy Policy
  • BLOG DNA7bySPU

#DNAjournal3 #EP13 Cyber Security ไม่เห็นโลงศพ มาผิดศาลา

7/16/2018

0 Comments

 
Picture
Picture
#DNAjournal3 #EP13

Cyber Security ไม่เห็นโลงศพ มาผิดศาลา

.

.

ทุกวันนี้เรามีชีวิตผูกติดกับโลกออนไลน์มากขึ้น ด้วยพลังของเทคโนโลยีที่ทำให้ชีวิตเราสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น แต่เทคโนโลยีเปรียบได้กับดาบสองคม มีคุณอนันต์ก็ย่อมมีโทษมหันต์ เมื่อที่ไหนมีคนที่นั่นก็มีอาชญากรรม แต่อาชญากรรมในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการใช้อาวุธข่มขู่กรรโชก ทำร้ายร่างกาย แต่หมายถึง “อาชญากรรมทางไซเบอร์” (Cyber Crime) ที่มีวัตถุประสงค์ทางการเงิน เช่น การขโมยรหัสผ่านการทำธุรกรรมทางการเงิน นำข้อมูลที่เป็นความลับมาเผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น

.

.

หลายปีที่ผ่านมาประเด็น “ความมั่นคงทางไซเบอร์” (Cyber Security) เริ่มเป็นที่พูดคุยกันในวงกว้างมากขึ้น จากเดิมที่เป็นเรื่องเฉพาะกลุ่มในแวดวง Programmer สาเหตุสำคัญมาจากการที่ตอนนี้เหล่า Hacker ได้หันมาโจมตีทาง Smart Phone มากขึ้น เพราะเป็นอุปกรณ์ที่แพร่หลายแต่มีความปลอดภัยต่ำ เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ไม่ได้มีราคาสูงผู้ใช้ส่วนใหญ่มักจะมองข้ามการรักษาความปลอดภัยไป และหันไปใส่ใจกับคอมพิวเตอร์แทน แต่ในความเป็นจริงแล้ว เรามีข้อมูลส่วนบุคลและการเงินผูกติดอยู่กับ Smart Phone เยอะมาก ตั้งแต่รหัสเข้าถึงอีเมลล์ ข้อมูลใน Social Network และรหัสผ่านในการโอนเงิน Mobile Banking

.

.

จากรายงานของ CYREN และ F-Secure ที่ได้ศึกษาอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตพบว่า 99% ของ Malware ที่พบบน Smart Phone ถูกออกแบบมาเพื่อโจมตีระบบ Android โดยเฉพาะ แต่ไม่ได้หมายความว่าระบบ iOS จะปลอดภัยไร้กังวล เพราะมีรายงานว่ามีความพยายามโจมตีช่องโหว่ของระบบ iOS ในขณะช่วงเวลาอัพเดทซอฟท์แวร์มากกว่าเดิมถึง 82% ในไม่กี่ปีที่ผ่านมา

.

.

เมื่ออาชญากรมีความมุ่งมั่นตั้งใจและใช้ทรัพยากรที่จะพัฒนาวิธีล้วงความลับและเงินออกจากกระเป๋าสตางค์ของเรา แล้วเราจะป้องกันตนเองไม่ให้เป็นส่วนหนึ่งของปัญหานั้นได้อย่างไร ?

.

.

หลักสูตร #DNA3bySPU ได้รับเกียรติจากคุณอาทิตย์ ธำรงธัญวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็ตทรี จำกัดและพิธีกรรายการ เกาเหลาไอที มาอธิบายถึงความอันตรายของการโดนจารกรรมข้อมูล และสิ่งที่พวกเราสามารถทำได้เพื่อหยุดยั้งและไม่เป็นส่วนหนึ่งของปัญหานั้นๆ

.

.

ภัยคุกคามทางไซเบอร์นั้นแบ่งได้เป็น 2 ระดับ คือ ระดับบุคคลและระดับธุรกิจ ซึ่งแต่ละระดับก็มีสเกลและมีเป้าประสงค์ที่แตกต่างกัน ระดับบุคคลเป็นระดับที่ใกล้ตัวและได้ยินบ่อยที่สุด คือ การใช้เทคนิค Phishing หลอกขอรับรหัสและข้อมูลสำคัญในการทำธุรกรรมทางการเงิน เพื่อแลกกับความสะดวกสบายในการท่องอินเทอร์เน็ต เช่น ไม่พบเห็นโฆษณา เข้าไปดูคลิปวิดีโอลับเฉพาะของดาราชื่อดัง (พอเปิดไปเป็นดาราเล่นกับแมว) หรือดูภาพยนตร์ออนไลน์ได้โดยไม่ต้องสนใจกฎหมายลิขสิทธ์

.

.

ถ้าเป็นในระดับธุรกิจ ส่วนมากก็จะดึงข้อมูลลับออกมาเพื่อมาทำลายกัน ทำให้ธุรกิจเดินต่อไม่ได้ หรือขโมยข้อมูลออกไปเปิดโปงให้เกิดความเสียหาย จากรายงาน Data Breach Investigations Reports (DBIR) ปี 2017 ซึ่งจัดทำโดย Verizon เผยว่าธุรกิจต่างๆ ยังคงล้มเหลวในการจัดการป้องกันไม่ให้ข้อมูลรั่วไหล สาเหตุสำคัญคือ การที่บุคลากรในระดับผู้บริหารไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการปกป้องข้อมูล การรั่วไหลของข้อมูลมีความเชื่อมโยงกับบุคคลภายใน และบุคลากรยังคงตั้ง Password ที่ไม่ซับซ้อนเพียงพอ

.

.

ถึงแม้ว่าปัญหาดังกล่าวจะมีหน่วยงานเข้ามาคอยกำกับดูแลบ้างแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ต้องใส่ใจเลย วิธีที่ดีที่สุดคือผู้ใช้ต้องระมัดระวังด้วยตนเอง ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยหลายๆ สำนักให้ทางออกของปัญหาที่ตรงกัน 3 ข้อ ได้แก่ 1.ควรตั้ง Password ที่คาดเดาได้ยากและไม่มีความเกี่ยวข้องกับชื่อจริงหรือวันเดือนปีเกิด 2. เปลี่ยน Password อยู่เสมอในทุกๆ ไตรมาส 3. หลีกเลี่ยงการเชื่อมต่อกับ Wi-Fi สาธารณะที่ไม่รู้จัก เพราะ Wi-Fi สาธารณะส่วนใหญ่ไม่มีการเข้ารหัสข้อมูล ส่งผลให้ Hacker สามารถดักฟังข้อมูลบนเครือข่ายไร้สายเพื่อขโมยรหัสผ่านหรือข้อมูลสำคัญต่างๆ โดยที่ผู้ใช้บริการไม่รู้ตัวได้

.

.

เรื่องของ Cyber Security เป็นเรื่องที่เข้าทำนอง “ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา” ต่อให้ใครพูดถึงผลเสียของการกระทำ ก็จะไม่ยอมฟัง ไม่ยอมเชื่อ จนกว่าจะได้เห็นผลลัพธ์อันน่าสลดเท่านั้น ดังนั้นถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงมากจนเกินไป กันไว้ดีกว่าแก้จะดีที่สุด

.

.

#itsyouYOU

.

.

Reference: http://dv.co.th/blog-th/cybersecurity/

หมายเหตุ
1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU
2. ข้อมูล EP.13 ต่อยอดจากการบรรยายของคุณอาทิตย์ ธำรงธัญวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็ตทรี จำกัดและพิธีกรรายการ เกาเหลาไอที มาอธิบายถึงความอันตรายของการโดนจารกรรมข้อมูล และสิ่งที่พวกเราสามารถทำได้เพื่อหยุดยั้งและไม่เป็นส่วนหนึ่งของปัญหานั้นๆ

.

.

#Speaker #DNA3bySPU 12 May 2018

.

.

จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU

www.DNAbySPU.com

ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
Picture
Picture
0 Comments



Leave a Reply.

    DNAbySPU

    หลักสูตรพัฒนาพันธุกรรม
    ​ทางความคิด

    สาขาการจัดการธุรกิจดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

    www.DNAbySPU.com
     089-4883655

    Archives

    June 2019
    May 2019
    April 2019
    March 2019
    February 2019
    January 2019
    November 2018
    October 2018
    September 2018
    August 2018
    July 2018
    June 2018
    May 2018
    April 2018
    January 2018
    December 2017
    November 2017
    October 2017
    September 2017

    Categories

    All

    RSS Feed

Location

Contact Us

หลักสูตรพัฒนาพันธุกรรมทางความคิด (DNAbySPU)
สาขาการจัดการธุรกิจดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เลขที่ 2410/2 ถนนพหลโยธิน แขวงเสนานิคม 
เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
EMAIL : dnabyspu@gmail.com
TEL:
คุณลภัสรดา โกมุทพงศ (อุ้ม)  โทร: 089-4883655
  • Home
  • ​Speaker
  • สมัคร #DNAbySPU รุ่นที่ 7
  • Alumni's Opinions
  • DNA JOURNAL
  • INFOGRAPHIC
  • #MottoTH
  • Privacy Policy
  • BLOG DNA7bySPU