DNA by SPU
  • Home
  • ​Speaker
  • สมัคร #DNAbySPU รุ่นที่ 6
  • Alumni's Opinions
  • DNA JOURNAL
  • INFOGRAPHIC
  • #MottoTH

#DNAJOURNAL3 #EP19  ทฤษฎีสะกิดพฤติกรรม Nudge theory

10/7/2018

0 Comments

 
Picture
Picture
#DNAjournal3 #EP19

ทฤษฎีสะกิดพฤติกรรม
Nudge theory

.

.

 
แนวคิดใหม่ที่คนไทยยังไม่ค่อยได้ยินแต่กำลังมาแรงในต่างประเทศ เป็นไม้อ่อนที่แข็งกว่าการโฆษณารณรงค์สร้างจิตสำนึก แต่ก็อ่อนกว่าการบังคับใช้ด้วยกฎหมาย นั่นคือการ “สะกิด” (Nudge) เป็นการชักจูงให้ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เราอยากให้เป็น โดยที่ผู้บริโภคไม่รู้สึกตัวว่ากำลังโดนชี้นำ

.

.
 
Nudge Theory หรือทฤษฎีสะกิด เป็นผลงานของ Richard H. Thaler นักเศรษฐศาสตร์และศาสตราจารย์ด้านพฤติกรรมศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ประจำปี 2017 และเป็นผู้ที่ทำให้วิชาเศรษฐศาสตร์มีความเป็นมนุษย์ขึ้น แม้ว่าวิชาเศรษฐศาสตร์และรางวัลโนเบลจะดูเหมือนซับซ้อนและเป็นเรื่องไกลตัว แต่ได้แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การขายสินค้าของเหล่า SME จนถึงการออกแบบนโยบายของภาครัฐและเอกชน

.

.
 
ทฤษฎีดังกล่าวเป็นผลผลิตส่วนหนึ่งของวิชาเศรษฐศาสตรพฤติกรรม (Behavioral Economy) ที่มาจากหลักคิดว่า มนุษย์นั้นเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่ค่อยใช้เหตุผลในการตัดสินใจเท่าไหร่นัก เพราะสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมของคน หรือการตัดสินใจต่างๆ ที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นจากการกระตุ้นอะไรบางอย่าง อาจเป็นการกระตุ้นทางตรงหรือทางอ้อม เช่น การไปที่ร้านข้าวตามสั่ง แล้วเห็นว่าบนโต๊ะของลูกค้าท่านอื่นมีแต่คนสั่งผัดกะเพราะไก่ เลยสั่งผัดกระเพราะไก่บ้างเพราะคิดว่าเมนูนี้น่าจะอร่อย แต่จริงๆ แล้วอยากกินผัดกระเพรากุ้ง เป็นต้น

.

.
 
สรุปได้ว่ามนุษย์นั้นขาดเหตุและผลในการตัดสินใจและไม่เป็นไปตามสมมติฐานของวิชาเศรษฐศาสตร์ที่เรียนกันมา การเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ที่แท้จริงในระดับย่อยจะทำให้การวิเคราะห์มีความแม่นยำมากขึ้น จึงมีคนนำศาสตร์ของการตัดสินใจนี้ไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบหรือใช้ในวิธีการต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้เราทำในสิ่งที่เค้าต้องการ และไอเดียเรื่อง Nudge เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามนี้

.

.
 
แล้วเราสามารถใช้ประโยชน์จากทฤษฎีนี้ได้หรือไม่ ?

.

.
 
หลักสูตร #DNA3bySPU ได้รับเกียรติจากคุณพล หุยประเสริฐ ผู้ก่อตั้งบริษัท H.U.I. คอนเสิร์ตดีไซเนอร์อันดับหนึ่งของประเทศไทย มาเล่าสิ่งที่อยู่เบื้องหลังในการสร้างคอนเสิร์ตที่น่าจดจำด้วยวิธีคิดที่แสนจะเรียบง่าย นั่นคือ “การออกแบบมวลอารมณ์” และด้วยกรณีศึกษาที่สร้างแรงบันดาลใจ จะทำให้เราได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่าเราจะได้ประโยชน์จากแนวคิดนี้อย่างไร?

.

.
 
พฤติกรรมการตัดสินใจแบบไร้เหตุผลเช่นนี้เกิดขึ้นในหลายเหตุการณ์รอบตัวเรา และเกิดขึ้นบ่อยครั้งจนนักพฤติกรรมศาสตร์สังเกตได้ จึงให้ความสนใจและศึกษาเพิ่มเติม พบว่าลึกๆ แล้วมนุษย์นั้นเป็นสัตว์โลกที่สุดแสนขี้เกียจ ทั้งในการกระทำแม้กระทั่งการตัดสินใจ คนส่วนมากเลือกที่จะไม่ตัดสินใจในทางที่เป็นประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองในระยะยาว เพราะขี้เกียจคิดถึงเหตุผลต่างๆ มาชั่งน้ำหนักและคิดวิเคราะห์ แต่ชอบใช้สัญชาตญาณหรือความรู้สึกลึกๆ ที่อยู่ข้างใน เป็นตัวตัดสิน

.

.
 
ตีความได้ว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่อุดมไปด้วยความรู้สึก จึงเลือกใช้ “อารมณ์” นำหน้า “เหตุผล” ในการตัดสินใจว่าจะทำอะไรที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนพฤติกรรม นั่นเป็นสาเหตุว่า ทำไมเราจึงมีพฤติกรรมที่รู้ว่าไม่ดีแต่อดไม่ได้ เช่น การสูบบุหรี่ กินเหล้า เสพยา หรือกินอาหารหวาน เค็ม มัน มากเกินขนาดไป

.

.
 
ดังนั้นป่วยการที่จะชักจูงให้ผู้คนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยข้อมูลที่ซับซ้อนเกินกว่าจะเข้าใจ หรือข้อมูลที่น้อยเกินไปจนไม่เห็นคุณค่า การที่จะชี้นำพฤติกรรมได้นั้น ไม่จำเป็นต้องใช้วิชาการออกแบบให้สวยงามด้วยกราฟฟิคที่ทันสมัย แต่คำถามสำคัญคือ ทำอย่างไรให้เขา “รู้สึก” ด้วยอารมณ์และสัญชาตญาณ

.

.
 
ประเด็นที่น่าสนใจ คือ เราไม่มีทางค้นพบพฤติกรรมแบบนี้ในการทำงานวิจัยตลาด ทั้งการทำแบบสัมภาษณ์หรือการตอบแบบสอบถาม เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่ออกมาจากจิตใต้สำนึกโดยที่ไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นสิ่งที่นักเศรษฐศาสตรพฤติกรรมกำลังศึกษาและชักชวนให้นักการตลาดและนักออกแบบหันมาสนใจ เพื่อจะได้นำไปออกแบบวิธีสะกิดที่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคโดยไม่ฝึนใจทำ

.

.
 
ทุกอย่างในโลกนี้ล้วนมีการออกแบบ สร้างสรรค์และคิดเป็นอย่างดีแล้วที่จะ “สะกิด” ให้เราทำตามโดยอัตโนมัติ หลายๆครั้งเราคิดว่านี่เป็นเสรีภาพที่เราเลือกเอง แต่จริงๆ แล้ว เราอาจจะถูกบังคับให้เลือกอยู่ก็เป็นได้ ดังนั้นขึ้นอยู่กับเราแล้วว่าจะเลือกฟังเฉยๆ เพื่อประดับความรู้ หรือเลือกที่จะตั้งใจฟัง ศึกษามันเป็นอย่างดีแล้วทำตาม

.

.
 
ถ้าเลือกที่จะทำตาม เเม้ว่าผลลัพธ์อาจจะไม่เห็นผลทันตา เเต่เชื่อเถอะว่ามันจะดีขึ้นเรื่อยๆ เเละประสบความสำเร็จอย่างเเน่นอน

.

.
 
#itsyouYOU

.

.

หมายเหตุ
1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU
2. ข้อมูล EP.19 ต่อยอดจากการบรรยายของ คุณพล หุยประเสริฐ ผู้ก่อตั้งบริษัท H.U.I. คอนเสิร์ตดีไซเนอร์อันดับหนึ่งของประเทศไทย มาเล่าสิ่งที่อยู่เบื้องหลังในการสร้างคอนเสิร์ตที่น่าจดจำด้วยวิธีคิดที่แสนจะเรียบง่าย นั่นคือ “การออกแบบมวลอารมณ์” และด้วยกรณีศึกษาที่สร้างแรงบันดาลใจ จะทำให้เราได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่าเราจะได้ประโยชน์จากแนวคิดนี้อย่างไร?
​

.

.

#Speaker #DNA3bySPU 2 June 2018

.

.

จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU

www.DNAbySPU.com
​

ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง

Picture
Picture
0 Comments



Leave a Reply.

    DNAbySPU

    หลักสูตรพัฒนาพันธุกรรม
    ​ทางความคิด

    สาขาการจัดการธุรกิจดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

    www.DNAbySPU.com
     089-4883655

    Archives

    June 2019
    May 2019
    April 2019
    March 2019
    February 2019
    January 2019
    November 2018
    October 2018
    September 2018
    August 2018
    July 2018
    June 2018
    May 2018
    April 2018
    January 2018
    December 2017
    November 2017
    October 2017
    September 2017

    Categories

    All

    RSS Feed

Location

Contact Us

หลักสูตรพัฒนาพันธุกรรมทางความคิด (DNAbySPU)
สาขาการจัดการธุรกิจดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เลขที่ 2410/2 ถนนพหลโยธิน แขวงเสนานิคม 
เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
EMAIL : dnabyspu@gmail.com
TEL:
คุณลภัสรดา โกมุทพงศ (อุ้ม)  โทร: 089-4883655
  • Home
  • ​Speaker
  • สมัคร #DNAbySPU รุ่นที่ 6
  • Alumni's Opinions
  • DNA JOURNAL
  • INFOGRAPHIC
  • #MottoTH