DNA by SPU
  • Home
  • ​Speaker
  • สมัคร #DNAbySPU รุ่นที่ 7
  • Alumni's Opinions
  • DNA JOURNAL
  • INFOGRAPHIC
  • #MottoTH
  • Privacy Policy
  • BLOG DNA7bySPU

#DNAJOURNAL4 #EP17 ก้าวเล็กๆ สร้างการเดินทางที่ยิ่งใหญ่

5/19/2019

0 Comments

 
Picture
Picture
#DNAjournal4 #EP17

ก้าวเล็กๆ สร้างการเดินทางที่ยิ่งใหญ่

.

.

ในการประกอบธุรกิจนั้น สามารถแยกตลาดกลุ่มลูกค้าเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ ตลาดมวลชน (Mass market) และตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche market)

.

.

“ตลาดมวลชน” คือ กลยุทธ์ตลาดเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าจำนวนมาก โดยผลิตสินค้าที่มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าโดยรวม ภายใต้สมมุติฐานที่ว่าลูกค้าแต่ละกลุ่มจะมีรูปแบบอะไรบางอย่างที่ “คล้ายคลึงกัน” และการที่ผลิตสินค้าออกมาจำนวนมาก ทำให้มีต้นทุนผลิตที่ต่ำ ทำให้บริษัทหรือองค์กรสร้างความได้เปรียบในด้านราคาได้

.

.

“ตลาดเฉพาะกลุ่ม” เป็นการผลิตสินค้าหรือบริการแบบเจาะจงให้กับลูกค้าเฉพาะกลุ่มที่เป็นส่วนหนึ่งของตลาดทั้งหมด ซึ่งอาจจะเป็นลูกค้าที่มีรสนิยมเฉพาะรูปเเบบ ตลาดเฉพาะกลุ่มอาจเกิดได้จากกลุ่มลูกค้าที่มีอยู่แล้วในตลาด แต่หลุมแห่งความต้องการยังไม่ถูกเติมเต็ม หรืออาจจะเป็นตลาดใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นตามสภาพสังคมและรสนิยมที่เปลี่ยนไปในโลกยุคใหม่

.

.

แล้วแบบไหนดีกว่ากัน ? “ตลาดมวลชน” มีมูลค่าสูงหลายพันหลายหมื่นล้านบาท (ลองจินตนาการว่า 10% ของคนไทยจ่ายเงินให้ท่านดู) แต่เหมาะกับผู้ประกอบการหรือกลุ่มทุนที่มีทรัพยากรและงบประมาณเพียงพอที่จะทำโฆษณา ประชาสัมพันธ์ไปยังทั่วประเทศได้ เพราะตลาดนี้จะมีการแข่งขันที่รุนแรงโดยธรรมชาติ ทุ่มงบประมาณแข่งกันเป็นว่าเล่น และถ้าเงินไม่ถึงจริง ลูกค้าจะจำท่านไม่ได้และจะถูกบังคับให้ออกจากตลาดไป

.

.

“ตลาดเฉพาะกลุ่ม” เป็นตลาดที่เหมาะกับผู้ประกอบการที่มีข้อจำกัดเรื่องเงินทุนและทรัพยากร ที่ไม่มีเงินพอจะแข่งขันกับกลุ่มทุนขนาดใหญ่ในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ได้  แม้จะไม่มีมูลค่ามหาศาลเหมือนตลาดข้างบน แต่ก็มีมูลค่ามากพอระดับสิบถึงร้อยล้านบาท และลูกค้าในกลุ่มนี้ดูเหมือนจะให้ความสำคัญกับประโยชน์ใช้สอยมากกว่าปัจจัยทางด้านราคา เรียกว่า แพงกว่าไม่เป็นไร ขอให้ถูกใจก็พอ ผู้ประกอบการในกลยุทธ์นี้จึงไม่ต้องแข่งขันกันทุ่มงบโฆษณา แต่ต้องรู้จักออกแบบและพัฒนาสินค้าให้ตรงตามความต้องการของลูกค้ามากที่สุด

.

.

โดยสรุปคือ ตลาดมวลชนทำให้เกิดโรงงาน ตลาดเฉพาะกลุ่มทำให้เกิดสินค้าใหม่ กลุ่มทุนขนาดใหญ่ทราบดีว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างสินค้าที่ตอบสนองคนทุกคน ดังนั้นจึงเลือกตอบสนองบางคน จึงเป็นที่มาของแนวคิด “Segmentation” หรือ “การแบ่งกลุ่มลูกค้า” แล้วค่อยเลือกว่ากลุ่มไหนมีมูลค่าตลาดที่สูงกว่ากัน จึงออกสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองกลุ่มนั้น ในขณะที่ คนตัวเล็กทราบดีว่าเราไม่มีเงินพอที่จะไปแข่งกับเขา จึงทุ่มสรรพกำลังทั้งหมดพัฒนาสินค้าใหม่ เพื่อเอาใจลูกค้าให้อยู่กับเรานานที่สุด

.

.

ในโลกยุคเก่าดูเหมือนตลาดมวลชนจะยิ่งใหญ่กว่าตลาดเฉพาะกลุ่ม แต่ในโลกยุคใหม่ตลาดมวลชนเริ่มจะเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ

.

.

อินเทอร์เน็ตทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “เสรีภาพ” เสรีภาพที่จะเลือกใช้เงินที่ไหนกับอะไร ในโลกยุคเก่าไม่สามารถทำได้ เพราะช่องทางถูกจำกัด ทำให้ร้านค้าขนาดเล็กที่มีสินค้าคุณภาพดีแต่ไม่มีเงินพอจะซื้อสื่อเพื่อโฆษณาตนเอง ไม่สามารถปรากฏตัวได้ แต่ในยุคนี้ทุกคนสามารถหาร้านประเภทนั้นได้ไม่ยาก เพียงแค่พิมพ์ไปในอินเตอร์เน็ตเท่านั้น

.

.

ลองจินตนาการถึงถนนสายหนึ่งในกรุงเทพ ที่มีร้านกาแฟราคาถูกและแพง มีร้านหมูปิ้งและร้านสลัด ซึ่งแต่ละร้านก็มีลูกค้าเฉพาะกลุ่มของร้านนั้นๆ ภาพนั้นแสดงให้เห็น “เสรีภาพที่จะเลือก” ได้อย่างแท้จริง

.

.

แต่การจะเป็นผู้นำในตลาดเฉพาะกลุ่มนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้ความทุ่มเท ขยันอดทน ในการ “ออกแบบมาเพื่อคุณ” ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่สุด ยิ่งเล็กเท่าไหร่ยิ่งดี และโปรดอย่ากังวลเลยว่าเล็กเกินไปจะเหนื่อยเปล่าเสียเวลา การเริ่มจากเล็กไม่ใช่ว่าจะใหญ่ไม่ได้ ถ้าท่านเจาะเกาะติดและตอบสนองลูกค้าให้พึงพอใจได้ตลอดเวลา ถึงจุดหนึ่งเขาจะช่วยพาท่านไปยกต่อไป โดยการเชิญชวนเพื่อนมาใช้บริการของท่าน

.

.

ทุกการเดินทางที่ยิ่งใหญ่เริ่มต้นจากก้าวเล็กๆ ของคนที่มีความกล้าหาญเสมอ ทุกสิ่งที่ทำลงไปไม่ได้สูญเปล่า เพียงแต่ยังไม่ถึงเวลาที่สุกงอมเท่านั้น ดังนั้นโปรดอย่าใจร้อนหรือฉีดสารย่นเวลาให้ต้นไม้โตในเร็ววัน ทุกอย่างในโลกมีช่วงเวลาที่เหมาะสมของมัน และเมื่อไหร่ที่ถึงเวลาของมัน มันคุ้มค่ากับการรอคอย

.

.

#itsyouYOU 

.

.

หมายเหตุ
1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU
2. ข้อมูล EP17 ต่อยอดจากการบรรยายของคุณสาลินี รัตนชัยสิทธิ์ ศิลปินวาดภาพประกอบ Character Illustrator เจ้าของแบรนด์ @Cyranodesign และศิษย์เก่าของ #DNAbySPU รุ่นที่ 1 ที่มาแบ่งปันเรื่องราวของสิ่งเล็กๆ ที่สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างมหาศาลและสร้างความประทับใจให้กับผู้รับได้อย่างไม่รู้ลืม
#DNA4bySPU 9 March 2019

.

.

จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU
www.DNAbySPU.com
ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
Picture
Picture
0 Comments



Leave a Reply.

    DNAbySPU

    หลักสูตรพัฒนาพันธุกรรม
    ​ทางความคิด

    สาขาการจัดการธุรกิจดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

    www.DNAbySPU.com
     089-4883655

    Archives

    June 2019
    May 2019
    April 2019
    March 2019
    February 2019
    January 2019
    November 2018
    October 2018
    September 2018
    August 2018
    July 2018
    June 2018
    May 2018
    April 2018
    January 2018
    December 2017
    November 2017
    October 2017
    September 2017

    Categories

    All

    RSS Feed

Location

Contact Us

หลักสูตรพัฒนาพันธุกรรมทางความคิด (DNAbySPU)
สาขาการจัดการธุรกิจดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เลขที่ 2410/2 ถนนพหลโยธิน แขวงเสนานิคม 
เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
EMAIL : dnabyspu@gmail.com
TEL:
คุณลภัสรดา โกมุทพงศ (อุ้ม)  โทร: 089-4883655
  • Home
  • ​Speaker
  • สมัคร #DNAbySPU รุ่นที่ 7
  • Alumni's Opinions
  • DNA JOURNAL
  • INFOGRAPHIC
  • #MottoTH
  • Privacy Policy
  • BLOG DNA7bySPU