DNA by SPU
  • Home
  • ​Speaker
  • สมัคร #DNAbySPU รุ่นที่ 7
  • Alumni's Opinions
  • DNA JOURNAL
  • INFOGRAPHIC
  • #MottoTH
  • Privacy Policy
  • BLOG DNA7bySPU

#DNAjournal3 #EP4 "E-sport กีฬาอนาคต"

5/6/2018

0 Comments

 
Picture
Picture
#DNAjournal3 #EP4 E-sport กีฬาอนาคต

.

.

ท่านจะให้คำจำกัดความของกีฬาว่าอย่างไร ?

.

.

ถ้าย้อนกลับไปดูที่รากศัพท์จะพบว่า Sports แรกเริ่มเดิมทีจะมีที่มาจากคำว่า “desport” ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งหมายถึง "เวลาว่าง" ส่วนคำว่า “ กีฬา” ในภาษาไทยเป็นคำที่รับมาจากภาษาบาลี ซึ่งตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน กีฬานั้นหมายถึง “กิจกรรมหรือการเล่นเพื่อความสนุกเพลิดเพลินเพื่อเป็นการบำรุงแรง หรือเพื่อผ่อนคลายความเคร่งเครียดทางจิต” ดังนั้นถ้าเอาข้อมูลมารวมกันแล้วสรุปเป็นคำสั้นๆ ไม่กี่ประโยคเมื่อสมัยก่อน กีฬา จะหมายถึงกิจกรรมเพื่อความบันเทิง

.

.

ปีแยร์ เฟรดี บารง เดอ กูแบร์แต็ง ขุนนางของประเทศฝรั่งเศสและบิดาแห่งกีฬาโอลิมปิก ได้ให้คติพจน์ของโอลิมปิก คือ Citius, Altius, Fortius  "เร็วกว่า สูงกว่า แข็งแกร่งกว่า" ซึ่งถือว่าเป็นจดหมายเชิญให้คนรุ่นหลังเข้าร่วมกับคติพจน์นี้ เพื่อท้าทายสมรรถภาพและสร้างตำนานบทใหม่ที่เหนือกว่าตำนานบทเก่า ทำให้ในยุคต่อมา “กีฬา” ได้ถูกพัฒนาจากกิจกรรมยามว่างให้มีความเข้มข้นมากขึ้น ภายใต้แกนหลักของความบันเทิง โดยการครอบทับคุณลักษณะด้านการ “แข่งขัน” ลงไป เช่น การดำเนินกิจกรรมภายใต้กฎกติกาที่ตกลงกันไว้แล้ว ภายใต้กรอบเวลาที่ชัดเจน มีการจำกัดอายุของผู้เข้าแข่งขัน มีระบบชี้วัดความสำเร็จ เช่น การให้คะแนนหรือลำดับรางวัล รวมถึงการพัฒนาทักษะการเล่นกีฬาให้สูงขึ้นและตื่นตาขึ้น เพื่อเพิ่มเสน่ห์ความท้าทายให้กีฬาเป็นกิจกรรมที่สามารถดึงดูดผู้ชมได้

.

.

โดยสรุปแล้ว ถ้ากีฬาหมายถึงการที่ผู้เล่นแต่ละฝ่าย ทำการแข่งขันภายใต้กฏกติกาเดียวกัน แล้วนั้นทำไม E-sport หรือกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ จะถูกนับว่าเป็นกีฬาไม่ได้? เพราะการที่เอาผู้แข่งขันสองฝั่งมาแข่งเกมส์กัน อยู่ภายใต้กฏกติกาเดียวกัน มีข้อจำกัดที่เหมือนกัน  การแข่งขันในรูปแบบนั้นก็ไม่มีความแตกต่างด้านโครงสร้างจากการแข่งขันบาสเกตบอลหรือแบดมินตันเลย

.

.

ถ้าพูดกันในแง่มุมของทฤษฎีและวิชาการ E-sport ก็ถือว่าเป็นพื้นที่ที่น่าสนใจอยู่ไม่ใช่น้อย แต่ถ้าท่านเดินออกมาจากพื้นที่นั้นและมองในเหลี่ยมมุมของการปฎิบัติล่ะ E-sport เป็นสิ่งที่น่าสนใจจริงหรือไม่ ? หรือเป็นแค่ของเล่นประเดี๋ยวประด๋าวตามกระแสสังคม ที่รีบมาแล้วรีบไป

.

.

หลักสูตร #DNA3bySPU ได้รับเกียรติจากคุณจิรยศ เทพพิพิธ Founder and CEO at Infofed.com มาบรรยายและแชร์มุมมองให้เราก้าวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกระแส E-sport ที่กำลังเริ่มต้นและอีกไม่นานจะโจนทะยานด้วยความรวดเร็ว

.

.

E-Sport ถือได้ว่าเป็น Disruption ของวงการกีฬา เพราะเริ่มเข้ามาในไทยปี 2543  แต่กลับสร้างเม็ดเงินได้อย่างมหาศาลในเวลาไม่ถึง 20 ปี  ข้อมูลจาก TDRI (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย) SIPA (สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ) และศูนย์วิจัยกสิกรไทยออนไลน์ ได้สรุปข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับวงการเกมว่า ธุรกิจเกมในประเทศไทยมีมูลค่าสูงถึง 7,835 ล้านบาท และมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นแตะพันล้านบาทในอีกไม่กี่ปีหลังจากนี้

.

.

ทั่วโลกมีความตื่นตัวกับ E- Sport ไม่น้อย รวมไปถึงภาครัฐของไทยที่รับรองให้ E-sport เป็นหนึ่งใน 'ชนิดกีฬา’ ที่สามารถจัดตั้งสมาคมได้ตามกฎหมาย  อ้างอิงจากมติของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) นำโดยนางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา พิจารณาเห็นชอบให้ E-sport  เป็นกีฬาชนิดที่ 80 ที่ได้รับการรับรองอย่างถูกต้องตาม พ.ร.บ.การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558 สอดคล้องกับนโยบายของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชียหรือ (Olympic Council of Asia – OCA)  ได้พิจารณาเห็นชอบว่าการแข่งขันเกมหรือ E- Sport นั้นจะได้รับการบรรจุลงในมหกรรมกีฬาเอเชียน เกมส์แล้วโดยจะเริ่มอย่างเป็นทางการในปี 2022 ที่ประเทศจีนเป็นเจ้าภาพ

.

.

ซึ่งการพิจารณาในครั้งนี้ส่งผลให้ผู้หวังดีจากหลายๆภาคส่วน เป็นห่วงว่ารัฐจะสนับสนุนให้เด็กติดเกมส์หรือเปล่า ? แต่ท้ายที่สุดแล้ว กกท.มองในมุมของกีฬาซึ่งเป็นคนละส่วนกับปัญหาเด็กติดเกมส์ เสมือนการรับรอง สนุกเกอร์เป็นกีฬา ซึ่งก่อนจะมีมติเห็นชอบ ภาครัฐกังวลว่า การรับรองจะทำให้เด็กๆ ไปมั่วสุมตามโต๊ะสนุกเกอร์มากขึ้น แต่เมื่อรับรองแล้ว ก็มีการจัดระเบียบโต๊ะสนุกเกอร์ต่างๆ ให้เป็นระเบียบและชี้ชัดว่านักกีฬาสนุกเกอร์ไม่ได้ไปมั่วสุมตามที่เข้าใจกัน

.

.

Andy Mitten จาก ESPN ช่องกีฬาระดับโลกได้เปิดเผยข้อมูลในงาน Web summit 2017 ว่าทั่วโลกมีคนรับชม E-Sport อยู่ที่ 190 ล้านคนและเพิ่มขึ้น 20 % ในทุกๆ ปี  เฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็มีประมาณ 10 ล้านคนที่ชม E-Sport อยู่เป็นประจำ ดังนั้นคงไม่มีข่วงเวลาไหนที่เหมาะสมกว่านี้อีกแล้วที่จะเป็นสปอนเซอร์ของการจัดแข่งหรือสนับสนุนทีมกีฬา Esport 

.

.

ไม่ใช่ว่าผู้ชมจะอยู่กับบ้านเฝ้ากับเรือน จิบชา กินขนม และเปิดคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนเพื่อชมการแข่งขันเท่านั้น ในรอบชิงชนะเลิศของเกม League of legend ในประเทศจีน มีผู้ตีตั๋วเข้าชมในสเตเดียมมากกว่า 60,000 คน ส่วนในบ้านเรา ตัวเลขจากงาน Garena World 2017 : E-sport  for all จัดขึ้นที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) บางนา มีคนเข้าร่วมงานมากกว่า 200,000 คน หรือเทียบเท่าที่นั่งในสนามราชมังคลากีฬาสถานถึง 2 สนามเลยทีเดียว

.

.

ทางด้านผู้สนับสนุน ในตอนแรกเริ่มธุรกิจที่จะส่งเม็ดเงินเพื่อสนับสนุน E-sport จะถูกจำกัดให้อยู่ในวงของธุรกิจที่ได้ประโยชน์จาก E-sport โดยตรง เช่น Intel, Acer, Logitech เป็นต้น แต่ตอนนี้ขอบข่ายผู้สนับสนุนเริ่มขยายตัวไปสู่ช่องทางที่จะปฎิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย 15-30 ปี เช่น เครื่องดื่ม Coca-cola ทำการสนับสนุนการแข่งขัน League of legend ในปี 2016 ภายใต้แคมเปญ COKE E-SPORT เฉกเช่นเครื่องดื่ม Redbull ที่สนับสนุนเงินราลวัลในการแข่งขัน Starcraft 2 ไม่เว้นแม้แต่ Global brand จากเกาหลี คือ Samsung ซึ่งสนับสนุนการแข่งขัน E-sports และจัดตั้งทีม SAMSUNG ESPORT เพื่อเตรียมพร้อมส่งนักกีฬาไปล่ารางวัลในการแข่งขันรายการใหญ่ๆ เพราะเมื่อคนเล่นเพิ่มขึ้น คนดูเพิ่มขึ้น ธุรกิจก็อยากสนับสนุนเป็นธรรมดา ไม่แพ้กีฬาในรูปแบบเดิม

.

.

เหมือนกับคำกล่าวของ  ปีแยร์ เฟรดี บารง เดอ กูแบร์แต็ง ที่ได้ให้นิยามกีฬาโอลิมปิกว่า The most important thing is not to win but to take part!" สิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ใช่การคว้าชัยชนะ แต่คือการเข้าร่วม!" 

.

.  

#itsyouYOU 

.

.

Reference : https://thematter.co/rave/esport/18770

.

.

หมายเหตุ
1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU
2. ข้อมูล EP.4 ต่อยอดจากการบรรยายของคุณจิรยศ เทพพิพิธ Founder and CEO at Infofed.com มาบรรยายและแชร์มุมมองในการให้เราก้าวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกระแส E-sport ที่กำลังเริ่มต้นและอีกไม่นานจะโจนทะยานด้วยความรวดเร็ว

.

.

#Speaker #DNA3bySPU 31March 2018

.

.

จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU

www.DNAbySPU.com
​
ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
Picture
Picture
0 Comments



Leave a Reply.

    DNAbySPU

    หลักสูตรพัฒนาพันธุกรรม
    ​ทางความคิด

    สาขาการจัดการธุรกิจดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

    www.DNAbySPU.com
     089-4883655

    Archives

    June 2019
    May 2019
    April 2019
    March 2019
    February 2019
    January 2019
    November 2018
    October 2018
    September 2018
    August 2018
    July 2018
    June 2018
    May 2018
    April 2018
    January 2018
    December 2017
    November 2017
    October 2017
    September 2017

    Categories

    All

    RSS Feed

Location

Contact Us

หลักสูตรพัฒนาพันธุกรรมทางความคิด (DNAbySPU)
สาขาการจัดการธุรกิจดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เลขที่ 2410/2 ถนนพหลโยธิน แขวงเสนานิคม 
เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
EMAIL : dnabyspu@gmail.com
TEL:
คุณลภัสรดา โกมุทพงศ (อุ้ม)  โทร: 089-4883655
  • Home
  • ​Speaker
  • สมัคร #DNAbySPU รุ่นที่ 7
  • Alumni's Opinions
  • DNA JOURNAL
  • INFOGRAPHIC
  • #MottoTH
  • Privacy Policy
  • BLOG DNA7bySPU