DNA by SPU
  • Home
  • ​Speaker
  • สมัคร #DNAbySPU รุ่นที่ 7
  • Alumni's Opinions
  • DNA JOURNAL
  • INFOGRAPHIC
  • #MottoTH
  • Privacy Policy
  • BLOG DNA7bySPU

#DNAJOURNAL3 #EP18  ความหงุดหงิดข้ามสายพันธุ์ Digital Disruption

9/24/2018

0 Comments

 
Picture
Picture
#DNAjournal3 #EP18

ความหงุดหงิดข้ามสายพันธุ์
Digital Disruption

.

.
 
ในช่วงที่ผ่านมา ถ้าพูดถึงหัวข้อที่น่าตื่นเต้นที่สุดไม่ว่าจะหันหน้าไปที่ทิศทางไหน ก็มักจะได้ยินผู้เชี่ยวชาญและนักธุรกิจวิเคราะห์ความเป็นไปในโลกนี้ในทิศทางประมาณว่า “โลกได้เปลี่ยนไปแล้ว” และสาเหตุที่สำคัญที่สุด คือ การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี

.

.
 
จริงอยู่ว่าการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมีนัยยะสำคัญต่อภาคธุรกิจ พื้นที่ดังกล่าวอาจจะได้รับผลกระทบบ้าง แต่ก็คงไม่ถึงขั้นล่มสลาย แต่ที่ผ่านมาเรากลับได้ยินข่าวการที่หลายธุรกิจโดน Disrupt จนชินตา ได้ยินอุตสาหกรรมที่ไม่ได้เดินเกมผิดแต่ไม่มีที่ยืนอีกแล้วอย่างคุ้นหู แสดงว่าต้องมี “บางสิ่ง” ที่นอกเหนือจากการขยายตัวเทคโนโลยี ปัจจัยที่ทำให้หลายธุรกิจต้องหายไป และสร้างความตื่นกลัว ทำให้ผู้ที่เหลืออยู่ในอุตสาหกรรมต้องรีบปรับตัว

.

.
 
เทคโนโลยีอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้หลายธุรกิจโดน Disrupt แต่ถ้ามองลึกไปกว่านั้น จะเห็นว่าสิ่งทีเปลี่ยนไปที่สุด และมีผลกระทบที่สุดคือ “พฤติกรรมผู้บริโภค” ช่วงก่อนที่ Steve Jobs จะแนะนำให้โลกรู้จัก iPhone ช่วงนั้นเราเข้าถึง อินเทอร์เน็ตด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ แม้ว่าอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งจำเป็นในการหาข้อมูล แต่ไม่ถึงขั้นเป็นทุกอย่างในการดำรงชีวิต แต่หลังจาก iPhone ถูกประดิษฐ์ขึ้นและพัฒนาสมรรถนะให้เทียบเท่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล สิ่งนั้นเปลี่ยนพฤติกรรมจากการที่คนใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อจุดประสงค์ทางธุรกิจมาเป็นสิ่งที่ชีวิตขาดไม่ได้

.

.
 
ก่อนจะมี Smartphone พฤติกรรมของมนุษย์ระหว่างกินข้าว คือ กินไปพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกัน แต่หลังจากที่อินเทอร์เน็ตมาสู่มือของเรา เราเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นกินไปก้มหน้าดูจอไป เมื่อก่อนเราดูทีวีไปอ่านหนังสือไปไม่ได้ แต่ตอนนี้เราดูทีวีไปพลาง เช็คสเตตัสไปพลาง

.

.
 
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคอาจจะดูเหมือนที่สุดแล้ว แต่จริงๆ แล้วมีอีกพฤติกรรมรูปแบบหนึ่งที่แอบซ่อนอยู่ เป็นการกระทำที่มองไม่เห็นแต่รู้สึกได้ และถ้าธุรกิจมองข้ามไปอาจจะล่มสลายได้โดยรู้ตัว

.

.
 
หลักสูตร #DNA3bySPU ได้รับเกียรติจากคุณธนา เธียรอัจฉริยะ CMO ธนาคารไทยพาณิชย์ และผู้อำนวยการหลักสูตร ABC สถาบันพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จะมาแนะนำเราให้ทำความรู้จักการรับมือแม่น้ำที่กำลังเปลี่ยนทิศที่จะชี้นำให้เราไปสู่ระบบใหม่ ให้สามารถทนต่อความท้าทายทางธุรกิจที่กำลังจะมาถึงในอนาคตอันใกล้นี้

.

.
 
“ความหงุดหงิดข้ามสายพันธุ์” คือสิ่งที่หลายธุรกิจมองข้ามแต่ส่งผลกระทบอย่างมหาศาล เช่น การที่บริษัทพิซซ่าให้บริการส่งอาหารได้ภายใน 30 นาที ทำให้ผู้ใช้บริการเสพติดพฤติกรรมและคิดว่าอุตสาหกรรมอื่นต้องให้บริการตามมาตรฐานนั้นด้วย ในกรณีที่แอร์เสีย สมัยก่อนเราสามารถรอรับการบริการจากช่างแอร์ได้ 2-3 วัน แต่ตอนนี้เราคาดหวังว่าช่างแอร์ต้องพร้อมให้บริการภายใน 30 นาที

.

.
 
ความหงุดหงิดข้ามสายพันธุ์แพร่กระจายอย่างไร้ขอบเขต เมื่อมีร้านอาหารให้เก็บคะแนนบัตรสะสมแต้มผ่านทางแอพในมือถือ แล้วถ้าร้านหนังสือยังต้องให้ถือบัตรสมาชิกก็จะรู้สึกไม่พอใจ ทั้งๆ ที่เป็นคนละธุรกิจกัน เมื่อมีร้านคอมพิวเตอร์ให้บริการจัดส่งสินค้าถึงบ้านในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากทำรายการ ผู้บริโภคก็คาดหวังว่าร้านเฟอร์นิเจอร์ต้องจัดส่งสินค้าได้ในไม่กี่ชั่วโมงเช่นกัน

.

.
 
ความยุ่งเหยิงรูปแบบนี้กระทบเป็นลูกโช่ไปทั่วอุตสาหกรรมอื่น โดยเฉพาะธุรกิจสตาร์ทอัพที่คิดตรงข้ามธุรกิจเดิมสิ้นเชิง ไม่คิดเรื่องกำไร แต่จะสร้างฐานลูกค้าให้อยู่กับเขาเสียก่อน โดยให้ใช้บริการดีและฟรี แล้วค่อยหากำไร เช่น Joox ที่ให้ลูกค้าฟังเพลงฟรี จนปัจจุบันมีฐานลูกค้าคนไทย 10 ล้านคน Line มีฐานลูกค้า 40 ล้านคน แล้วค่อยขยายไปสู่การส่งของ Line Man, Line Taxi, Line Financial เป็นต้น เมื่อลูกค้ามีพฤติกรรมเสพติดของฟรี แล้วการที่ธนาคารเก็บค่าธรรมเนียมผ่านการทำ Mobile Banking จะรับประกันได้อย่างไรว่าลูกค้าจะพอใจ ? ธนาคารจึงต้องยอมยกเลิกค่าธรรมเนียม เพื่อให้ลูกค้าอยู่บนแพลตฟอร์ม Mobile Banking

.

.
 
หลายคนเชื่อว่าความสำเร็จมาจากการตัดสินใจที่ถูก และการตัดสินใจที่ถูกก็มาจากประสบการณ์ แต่จริงๆ แล้ว “ประสบการณ์มาจากการตัดสินใจที่ผิด และการตัดสินใจที่ผิดมาจากความกล้า” ก่อนที่เราจะทำอะไรให้ถูกได้ ก็ต้องทำอะไรผิดเสียก่อน และเมื่อผิดถึงจะเกิดการเรียนรู้ การเรียนรู้ส่งผลต่อความมั่นใจ และความมั่นใจจะก่อให้เกิดความกล้าหาญ

.

.
 
ความกล้าหาญสำคัญมากในโลกยุคใหม่ แต่สิ่งที่สำคัญกว่า คือ ล้มแล้วต้องรู้จักลุกและต้อง “เรียนรู้” ให้เป็น

.
​
.
 
#itsyouYOU

.

.

หมายเหตุ
1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU
2. ข้อมูล EP.18 ต่อยอดจากการบรรยายของ คุณธนา เธียรอัจฉริยะ CMO ธนาคารไทยพาณิชย์ และผู้อำนวยการหลักสูตร ABC สถาบันพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จะมาแนะนำเราให้ทำความรู้จักการรับมือแม่น้ำที่กำลังเปลี่ยนทิศที่จะชี้นำให้เราไปสู่ระบบใหม่ ให้สามารถทนต่อความท้าทายทางธุรกิจที่กำลังจะมาถึงในอนาคตอันใกล้นี้

.

.

#Speaker #DNA3bySPU 2 June 2018 

.

.

จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU

www.DNAbySPU.com
​

ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
Picture
Picture
0 Comments

#DNAJOURNAL3 #EP17 อะไรคืองานที่ลูกค้า “จ้าง” ให้เราทำ?Jobs-to-be-done

9/16/2018

0 Comments

 
Picture
Picture
#DNAjournal3 #EP17

อะไรคืองานที่ลูกค้า “จ้าง” ให้เราทำ?
Jobs-to-be-done

.

.
 
ท่ามกลางคลื่นลมอันปั่นป่วนของโลกยุคใหม่ มีธุรกิจหลากหลายที่ถูกบังคับให้ล้มหายตายจาก บ้างก็เจอเข้ากับความท้าทายที่ต้องปรับเปลี่ยนถึงจะอยู่รอด แต่ท่ามกลางคลื่นลมกระแสเดียวกัน บางธุรกิจที่ก่อร่างสร้างตัวจากพื้นที่เล็กๆ กลับเติบใหญ่จนฉุดไม่อยู่ บ้างที่แข็งแรงอยู่แล้วก็แข็งแกร่งกว่าเดิม จนทิ้งห่างผู้ร่วมอุตสาหกรรมไปอย่างไม่เห็นฝุ่น

.

.
 
มีหลายสินค้าหรือบริการที่ไม่ได้ถูกสร้างจากงบประมาณมหาศาลของบริษัทขนาดใหญ่ ไม่ได้มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นทุนเดิม ปราศจากงบโฆษณาก้อนโตบนสื่อหลัก แต่กลับถูกกล่าวถึงอย่างมากมายและมีคนหลากหลายยอมรอคิวเพื่อได้รับสินค้าหรือใช้บริการ

.

.
               
ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่าสินค้าดังกล่าวไม่ได้มีความแตกต่างด้าน “โครงสร้างพื้นฐาน” กับคู่แข่งขันรายอื่นเลย เจ๊จงหมูทอด ก็ขายข้าวหมูทอดเหมือนกันกับร้านอื่น ถึงแม้รสมือของแม่ครัวและวัตถุดิบจะสร้างความแตกต่างได้บ้าง แต่ก็คงนับไม่ได้ว่าเป็นสูตรสำเร็จของธุรกิจ Airbnb ก็เป็นแค่สตาร์ตอัพการแบ่งปันที่พัก ซึ่งรูปแบบธุรกิจแทบจะไม่ได้แตกต่างจากคนอื่น แต่ทำไม Airbnb ได้เป็นถึงยูนิคอร์นที่สามารถระดมทุนได้มากกว่าเชนโรงแรมขนาดใหญ่ Apple ก็ขายคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือเหมือนกับคนอื่นๆ แต่ทำไมถึงมีแต่ Apple ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงได้

.

.
 
ปรากฏการณ์ดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นนานๆ ครั้ง แต่เกิดขึ้นบ่อยจนพอจะนับจำนวนและสังเกตได้ แสดงว่าไม่ใช่เรื่องของดวงและความโชคดี แต่เกิดจากรูปแบบหรือหลักคิดอะไรบางอย่างที่สินค้าและบริการที่ประสบความสำเร็จ คิดและลงมือทำไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งอาจจะไม่เหมือนกันทุกระเบียบนิ้วซะทีเดียว แต่มีความคล้ายคลึงกันจนสัมผัสได้

.

.
 
หลักสูตร #DNA3bySPU ได้รับเกียรติจากคุณณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง นักการตลาดดิจิทัลผู้ก่อตั้ง DOTS Consultancy และ Nuttapuch.com มาเปิดเผยปริศนาดำมืดของการสร้างคอนเทนต์ที่ไปได้ไกลและสร้างความประทับใจให้หลายต่อหลายคนว่ามีส่วนผสมอย่างไรบ้าง
​
.

.
 
กรอบความคิด Jobs-to-be-done คือหนึ่งในหลักคิดที่แบรนด์เหล่านั้นนำมาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะรู้ตัวหรือไม่ กรอบความคิดนี้ถูกพัฒนาโดย Clayton Christensen ศาสตราจารย์จาก Harvard Business School หลักการดังกล่าวบอกให้เรามองลึกและพุ่งเป้าไปที่ลูกค้า แต่ไม่ได้บอกอย่างหลักลอยว่าต้องเข้าใจลูกค้า เพราะในความเป็นจริงเราไม่มีทางเข้าใจลูกค้าได้ แต่เป็นการมองทะลุถึงลูกค้าว่าโดยแท้จริงแล้วลูกค้า “จ้าง” สินค้าเราให้ทำงานอะไรให้สำเร็จ ?
ทุกสินค้าและบริการในโลกนี้ล้วนแต่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ “แก้ปัญหา” บางอย่าง เราซื้อคอมพิวเตอร์เพราะไม่ได้ต้องการคอมพิวเตอร์ แต่เพราะต้องการอุปกรณ์บางอย่างมาทำรายงานหรือสอนหนังสือ เราไม่ได้ซื้อโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่เพราะอยากได้การออกแบบใหม่ แต่เราต้องการอุปกรณ์การทำงานที่ช่วยเราฆ่าเวลาและทำงานได้อย่างไม่สะดุด

.

.
 
ลูกค้าเจ๊จงหมูทอดมาใช้บริการที่ร้านเจ้จง ไม่ได้อยากกินข้าวหมูทอด แต่พวกเขามาเพราะต้องการให้ “ท้องอิ่ม” นั่นเป็นสาเหตุให้ที่ร้านเจ๊จงมีบริการกล้วยน้ำว้าฟรี ผู้ที่ใช้บริการ Airbnb ไม่ได้ต้องการแค่ที่พักในต่างแดน แต่ต้องการ “ประสบการณ์เหมือนคนต่างแดน” ผู้ซื้อคอมพิวเตอร์ของ Apple ไม่ได้ซื้อประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ซื้อ “คอมพิวเตอร์ที่เป็นอุปกรณ์แต่งบ้าน”

.

.
 
หลักการดังกล่าวถึงจะมีอายุประมาณสี่ห้าปีแล้ว แต่ก็ยังคงมีความทันสมัยและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น อุตสาหกรรมธนาคารในตอนนี้ ที่มีการเปลี่ยนบริบทของธนาคาร โดยการยกเลิกค่าธรรมเนียมในการโอนเงินผ่าน Mobile Banking ทำให้มีการทำธุรกรรมออนไลน์มากขึ้น แต่จุดกระเพื่อมแรกสุดของการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้มาจากพฤติกกรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไป ลูกค้าในวันนี้คุ้นเคยกับของ “ฟรี”

.

.
 
ตอนนี้ทุกกิจกรรมที่อยู่บนหน้าจอมือถือ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ คุยกับเพื่อน ทุกอย่างฟรีหมดจนลูกค้าไม่ยอมจ่ายอะไรอีกแล้ว ลูกค้าจ้างและโหลดแอพของธนาคารเพื่อ “จัดการเงิน ไม่ใช่ให้มาเสียเงิน” จึงทำให้ธนาคารต้องจำใจยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมจากการทำธุรกรรม ซึ่งถือเป็นรายได้หลักของธนาคาร ไม่ว่าธนาคารจะชอบหรือไม่ก็ตาม แค่ก็ต้องทำเพราะต้องการให้ลูกค้าอยู่บนแพลตฟอร์ม เพื่อจะนำข้อมูลมาพัฒนาโซลูชั่นใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์

.

.
 
Peter Drucker ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการ ได้เคยกล่าวในหนังสือของเขาว่า the customer rarely buys what the business thinks it sells them. ซึ่งหมายความว่า “ลูกค้าไม่ค่อยจะซื้ออะไรที่บริษัทพยายามจะเสนอขาย” ดังนั้นการมองให้เห็นถึงแก่นแท้ จริงๆ แล้วลูกค้าต้องการ “จ้าง” สินค้าให้เราทำอะไร แล้วนำงบประมาณไปพัฒนาสิ่งนั้นให้ถึงที่สุด ถึงจะเป็น Game Changer ที่แท้จริง

.

.
 
#itsyouYOU

.

.

หมายเหตุ
1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU
2. ข้อมูล EP.17 ต่อยอดจากการบรรยายของ คุณณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง นักการตลาดดิจิทัลผู้ก่อตั้ง DOTS Consultancy และ Nuttapuch.com มาเปิดเผยปริศนาดำมืดของการสร้างคอนเทนต์ที่ไปได้ไกลและสร้างความประทับใจให้หลายต่อหลายคนว่ามีส่วนผสมอย่างไรบ้าง

.

.


#Speaker #DNA3bySPU26 May 2018 

.

.

จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU

www.DNAbySPU.com
​

ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
Picture
Picture
0 Comments

#DNAJOURNAL3 #EP16 พลิกมุมคิด ธุรกิจเปลี่ยนShift Happens

9/9/2018

0 Comments

 
Picture
Picture
#DNAjournal3 #EP16

พลิกมุมคิด ธุรกิจเปลี่ยน
Shift Happens

.

.

 
อะไรคือสิ่งที่ทำให้คนสองคนมองสิ่งเดียวกัน ของชิ้นเดียวกัน ปัญหาเดียวกัน แต่คนหนึ่งมองเห็นขวากหนามแห่ง                 ”อุปสรรค” ในขณะที่อีกคมมองเห็นแต่พื้นที่ที่เต็มไปด้วย “โอกาส” ?

.

.
 
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ถูกกำหนดด้วย “มุมคิด” ของแต่ละคน ของชิ้นเดียวกันเมื่อต่างมุมมอง แต่ละคนก็จะตีความไม่เหมือนกันตามประสบการณ์ของปัจเจกชน วิธีคิด ทำ พูดก็จะเปลี่ยนไปตามความคิดของแต่ละคน เหมือนกับ “มุม” ที่เกิดจากเส้นตรงสองเส้นซ้อนทับกัน มองด้านนึงก็จะได้มุมแหลม แต่มองในตำแหน่งที่เปลี่ยนไปกลับได้มุมป้าน

.

.
 
มุมคิดนั้นปราศจากอะตอม ไร้ซึ่งตัวตนและไม่สามารถจับต้องได้ แต่สามารถนำพาวิธีคิดและกำหนดชะตาชีวิตคนได้ บางคนเชื่ออย่างแรงกล้าว่า “ความล้มเหลว” คือ การยอมรับความไม่สมบูรณ์พร้อมและเป็นสิ่งจำเป็นที่จะไปสู่สะพานแห่งความสำเร็จ ทำให้บางคนเลือกที่จะสู้ แต่บางคนกลับมองว่าความล้มเหลวเป็นสิ่งเลวร้าย น่าอับอาย และเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะกลายเป็นแผลเป็น ไม่สามารถลบเลือนรอยแผลได้ตลอดชีวิต

.

.
 
ท่ามกลางสายลมที่เปลี่ยนแปลง บางคนสร้างกำแพง บางคนสร้างกังหัน เราไม่อาจหลบเลี่ยงการเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงคือนิรันดร์ เป็นสัจธรรมที่โลกต้องเจอ แต่เมื่อเราพบกับสายลมของการเปลี่ยนแปลง ถ้าเราเลือกสร้างกำแพง เราก็จะหาวิธีตั้งรับแบบหนึ่ง แต่ถ้าเลือกสร้างกังหัน ก็จะตั้งรับอีกแบบหนึ่งซึ่งไม่เหมือนกัน

.

.
 
หลักสูตร #DNA3bySPU ได้รับเกียรติจากคุณสรกล อดุลยานนท์ นักเขียนเจ้าของนามปากกา “หนุ่มเมืองจันท์” และพิธีกรรายการ “ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ” จะมาเล่าถึงวิธีคิดเล็กๆ ที่จะช่วยยกระดับธุรกิจของเราให้มีเสน่ห์ ตามอัตราความเร็วที่เหมาะสมกับตัวเองและไม่ได้มากจนเกินพอดี

.

.
 
โดยแท้จริงแล้ว “มุมมอง” นั้นคือการ “เลือก” มอง ถ้าเราเลือกมองในมุมที่ดี จะทำให้เรากล้าหาญและมีพลัง แต่ถ้าเราเลือกมองในมุมที่ไม่ดี โลกใบนี้จะทำให้รู้สึกว่าเรากำลังเป็นเหยื่อของการถูกทำร้ายและมีชีวิตอยู่ใต้ความหวาดกลัว ถ้ามองด้วยมุมบวก ทุกวันคือวันแห่งความหวังและความเชื่อมั่น ไม่เกรงกลัวต่อปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ แต่ถ้ามองในมุมลบ ทุกวันคือวันที่ท้อแท้แสนหดหู่ ยิ่งคิดยิ่งอยากถอยและไร้ซึ่งโอกาส

.

.
 
ถ้ามีที่ว่างให้หาประโยชน์จากความว่าง ถ้าพบเจอปัญหาให้คิดเสียว่าปัญหาคือบิดาของนักประดิษฐ์ ถ้าเจอปริศนาที่ชุดความคิดเดิมใช้ไม่ได้ ให้คิดนอกกรอบออกจากสามัญสำนึกเดิมๆ ถ้าก้าวผิดก็ลุกให้เร็วและเรียนรู้จากความผิดพลาด ถ้าเดี๋ยวจะทำ ต้องบังคับให้ตัวเองทำเดี๋ยวนี้เพราะไม่มีเวลาใดที่ดีกว่าตอนนี้อีกแล้ว

.

.
 
และถ้าได้รับชนะขอให้ดื่มด่ำกับชัยชนะอย่างมีความสุข แต่ถ้าพ่ายแพ้ก็ขอให้พ่ายแพ้อย่างมีรอยยิ้มและเป็นที่น่าจดจำ

.

.
 
#itsyouYOU

.

.

หมายเหตุ
1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU
2. ข้อมูล EP.16 ต่อยอดจากการบรรยายของคุณสรกล อดุลยานนท์ นักเขียนเจ้าของนามปากกา “หนุ่มเมืองจันท์” และพิธีกรรายการ “ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ” จะมาเล่าถึงวิธีคิดเล็กๆ ที่จะช่วยยกระดับธุรกิจของเราให้มีเสน่ห์ ตามอัตราความเร็วที่เหมาะสมกับตัวเองและไม่ได้มากจนเกินพอดี

.

.

#Speaker #DNA3bySPU 19 May 2018 

.

.

จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU

www.DNAbySPU.com
​

ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
Picture
Picture
0 Comments

#DNAJOURNAL3 #EP15 เข้าใจสื่อยุคใหม่ในวัฒนธรรมไซเบอร์ Cyber Culture

9/2/2018

0 Comments

 
Picture
Picture
#DNAjournal3 #EP15

เข้าใจสื่อยุคใหม่ในวัฒนธรรมไซเบอร์ Cyber Culture

.

.

ปี 1944 Tim Berners Lee นักวิจัยแห่งสถาบันวิจัยเซิร์น ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ได้พัฒนาโปรเจคการจัดเก็บและนำเสนอข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ทในรูปแบบไฮเปอร์เท็กส์ ซึ่งในเวลาต่อมาแนวคิดของเขานั้น โลกรู้จักในนาม “เวิล์ดไวด์เว็บ” (www) บ้านเลขที่ของข้อมูลที่อาศัยอยู่บนโลกออนไลน์ แนวคิดของเขาเป็นก้าวสำคัญของยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ เพราะเอื้ออำนวยให้คนทั่วโลกสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง

.

.

อินเทอร์เน็ตและเวิล์ดไวด์เว็บ ทำให้เกิดการปลี่ยนแปลงหลายๆ ด้าน เกิดการสร้างงาน สร้างข้อมูล สร้างธุรกิจในแบบที่คนทั่วโลกเข้ามามีส่วนร่วมซึ่งกันและกัน แต่สิ่งหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงไปมากคือ “ภูมิทัศน์สื่อ” ถ้าเป็นยุคก่อนที่จะเกิดอินเทอร์เน็ต สื่อคือตัวกลางที่จะถ่ายทอดสารไปสู่ผู้รับสาร เพื่อให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร แต่หลังจากโลกก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ “สื่อใหม่” (New Media) โดยเฉพาะ Social Media ได้กลายเป็นสื่อที่มีความสำคัญในการขับถ่ายขนย้ายข้อมูลที่เกิดขึ้นในโลกนี้มากกว่าสื่อรูปแบบเดิมที่คุ้นเคย (Traditional Media) 

.

.

สื่อใหม่นั้นไม่ใช่แค่สื่อที่เกิดขึ้นมาจากไอเดียใหม่ๆ แต่คือสื่อที่ต้องการวิธีบริหารจัดการที่แตกต่างออกไป แต่ปัญหาคือมีผู้ประกอบการและนักการตลาดหลายๆ ท่าน ยังมีความเชื่อว่าถึงแม้สื่อได้เปลี่ยนไปเป็นสื่อยุคใหม่แล้ว แต่วิธีการบริหารจัดการก็น่าจะมีความคล้ายคลึงกับสื่อดั้งเดิมที่คุ้นเคย ซึ่งเป็นวิธีคิดที่ไม่ถูกต้อง เสมือนกีฬาฟุตบอลและฟุตซอล ถึงแม้จะมีวิธีการเล่นพื้นฐานที่ผู้เล่นต้องใช้เท้า ห้ามใช้มือสัมผัสลูกเหมือนกัน แต่ก็มีรายละเอียดของกฎ กติกา เทคนิค แทคติกและวิธีการเอาชนะที่ไม่เหมือนกัน แตกต่างกันตามขนาดของสนามและเวลาแข่งขันที่เปลี่ยนไป

.

.

หลักสูตร #DNA3bySPU ได้รับเกียรติจากคุณนครินทร์ วนกิจไพบูลย์ Editor-in-chief Thestandard.co มานำเสนอโมเดลที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง นำไปสู่ระบบความคิดที่ยิ่งใหญ่และควรค่าแก่การเรียนรู้ในการบริหารจัดการสื่อในยุคใหม่เพื่อการทำธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ

.

.

หัวใจหลักของสื่อใหม่นั้นประกอบไปด้วย 2 ข้อ 1. อนุญาตให้ผู้เสพเข้าถึงเนื้อหาตามความต้องการ ทุกที่ทุกเวลาเพียงแค่มีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต 2. สร้างการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ได้ เช่น การแชร์ การกดไลค์ การแท็กเพื่อน และสามารถรับข้อมูลป้อนกลับได้ในเวลาจริง ซึ่งเป็นสิ่งที่สื่อคุ้นเคยไม่สามารถทำได้

.

.

เมื่อทำความเข้าใจในธรรมชาติของสื่อใหม่ดีแล้ว และท่านจะมีโปรเจคทำโฆษณาสักแคมเปญหนึ่ง อย่าทำเหมือนแค่ย้ายจอทีวีมาสู่จอมือถือหรือย้ายแม็กกาซีนมาลง Social Media เท่านั้น ท่านต้องคิดใหม่ ทำใหม่ ออกแบบใหม่ให้เหมาะสมกับธรรมชาติของสื่อใหม่ ไม่ว่าจะเป็น การเขียนแคปชั่นที่น่าสนใจ รูปภาพที่ดึงดูด พาดหัวที่จู่โจมจิตใจ ทั้งหมดจะทำให้ผู้เสพนั้นมีพฤติกรรม “โน้มตัวไปข้างหน้า” (Lean Forward) เพื่อแสดงความสนใจและช่วยกระจายให้แคมเปญโฆษณาของท่านไปสู่สนามต่อไปด้วยการเติบโตแบบเท่าทวี

.

.

อาจจะเป็นการยากและต้องใช้เวลาสักพักเพื่อที่จะทำความเข้าใจในวิธีการบริหารจัดการกับสื่อใหม่ เพราะผู้ประกอบการและนักการตลาดส่วนมากเป็นกลุ่มคนที่ถูกขนานนามว่า “Digital Immigrant” (ผู้อพยพสู่โลกดิจิทัล) หมายถึงผู้เกิดก่อนยุคดิจิทัลเฟื่องฟู มีความสนใจและมองเห็นประโยชน์ จึงหันมาศึกษาและเรียนรู้พื้นฐานการใช้งาน อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก หลายคนยังคงชินมือกับระบบอนาล็อกอยู่ จึงปรับให้เข้ากับสไตล์ของตนเอง เช่น สั่งพิมพ์เอกสารบนคอมพิวเตอร์บนกระดาษเพื่อแก้ไข แทนที่จะแก้ในคอมเลย หรือโทรศัพท์ไปถามลูกค้าว่าได้รับอีเมลล์หรือยัง ?

.

.

Bruce Lee นักศิลปะต่อสู้ ได้กล่าวไว้อย่างน่าประทับใจว่า “การมีความตั้งใจเป็นเรื่องที่ดี แต่ความตั้งใจอย่างเดียวยังน้อยไป เราต้องลงมือทำ” การเรียนรู้นั้นถึงแม้ว่ายากแต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะเป็นไปไม่ได้ ขอแค่มีความพยายามผสมกับความมุ่งมั่นตั้งใจ เคลือบไปด้วยความกล้าหาญในการทดลองลงมือทำ ไม่ว่าเส้นชัยไหนๆ ก็คงไม่มีคำว่าไกลเกินไปอย่างแน่นอน

.

.

#itsyouYOU

.


.

หมายเหตุ
1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU
2. ข้อมูล EP.15 ต่อยอดจากการบรรยายของคุณนครินทร์ วนกิจไพบูลย์ Editor-in-chief Thestandard.co มานำเสนอโมเดลที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง นำไปสู่ระบบความคิดที่ยิ่งใหญ่และควรค่าแก่การเรียนรู้ในการบริหารจัดการสื่อในยุคใหม่เพื่อการทำธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ

.

.

#Speaker #DNA3bySPU 19 May 2018

.

.

จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU

www.DNAbySPU.com
​

ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
Picture
0 Comments

    DNAbySPU

    หลักสูตรพัฒนาพันธุกรรม
    ​ทางความคิด

    สาขาการจัดการธุรกิจดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

    www.DNAbySPU.com
     089-4883655

    Archives

    June 2019
    May 2019
    April 2019
    March 2019
    February 2019
    January 2019
    November 2018
    October 2018
    September 2018
    August 2018
    July 2018
    June 2018
    May 2018
    April 2018
    January 2018
    December 2017
    November 2017
    October 2017
    September 2017

    Categories

    All

    RSS Feed

Location

Contact Us

หลักสูตรพัฒนาพันธุกรรมทางความคิด (DNAbySPU)
สาขาการจัดการธุรกิจดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เลขที่ 2410/2 ถนนพหลโยธิน แขวงเสนานิคม 
เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
EMAIL : dnabyspu@gmail.com
TEL:
คุณลภัสรดา โกมุทพงศ (อุ้ม)  โทร: 089-4883655
  • Home
  • ​Speaker
  • สมัคร #DNAbySPU รุ่นที่ 7
  • Alumni's Opinions
  • DNA JOURNAL
  • INFOGRAPHIC
  • #MottoTH
  • Privacy Policy
  • BLOG DNA7bySPU