#DNAjournal4 #EP20
แยกส่วน..จัดเรียง..เพื่อสร้างตัวตน . . ซิดนีย์ เจ. แฮริส บรรณาธิการหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ เคยเขียนในบทความของเขาว่า “ท่านไม่มีทางเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ จนกว่าจะเปลี่ยนสิ่งท่านทำอยู่ทุกวัน” . . คำถามต่อมาคือ “เราจะเปลี่ยนแปลงตนเองได้อย่างไร” คำตอบง่ายที่สุดที่พอจะคิดได้ คือท่านจะต้องเปลี่ยน “มุมมอง” ลองเปลี่ยนออกจากสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย ก้าวออกจากกรอบที่ปลอดภัย ซึ่งแน่นอนว่ามันอาจจะดูไม่ค่อยสะดวกสบายและเป็นธรรมชาตินัก แต่พอถึงจุดๆ หนึ่ง ท่านจะได้สัมผัสสิ่งที่ไม่เคยรู้สึก ได้เห็นสิ่งที่ไม่ได้มอง หรือแม้แต่ได้ยินเสียงที่ไม่เคยได้ยิน . . ในโลกใบนี้มีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นด้วยความรวดเร็วอย่างไม่น่าเชื่อ การที่ท่านมาใส่ใจเมื่อกระแสนั้นเติบโตมันอาจช้าไปเสียแล้ว เพราะเมื่อไหร่ที่ท่านเพ่งมอง “กระแสนิยม” นั้น ก็จะมีกระแสนิยมใหม่ๆ เกิดขึ้นมาอีกและมีอีกมากมาย . . ในโลกสมัยใหม่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่ท่านจะรู้ว่าอะไรกำลังจะอินและอะไรกำลังจะเอาท์ ? ดังนั้นสิ่งที่ท่านพอจะทำได้อย่างเดียวในช่วงเวลานี้คือ “สังเกต” และ “ใส่ใจ” ในสิ่งต่างๆ รอบตัว ทั้งในมุมลึก มุมกว้าง มุมข้างหรือมุมกลับหัว ไม่จำเป็นต้องรู้ลึกเชี่ยวชาญถึงขั้นนักเทคนิค แต่ต้องรู้ไว้ให้พอเอาตัวรอดได้ว่า สิ่งนั้นคืออะไร หมายความและส่งนัยยะว่าอะไร ? . . อีสปอร์ตคืออะไร ? การไลฟ์สดมีขั้นตอนยังไง ? ยูทูบเบอร์ทำยังไงถึงดัง ? โซเชียลมีเดียประเภทไหนจะช่วยทำให้งานเราเบาขึ้น ? เป็นตัวอย่างคำถามที่จะต้องตอบให้ได้ในการบริหารธุรกิจยุคใหม่ . . เราจะหาเหตุผลที่ขับเคลื่อนตัวเราได้อย่างไร? ต้องทำอย่างไรถึงจะเปลี่ยนธุรกิจธรรมดาที่อยู่ตลาดหลักสี่ให้ไปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ? เราจะขยายธุรกิจด้วยรูปแบบไหน ? หลักคิดเหล่านี้จะช่วยนำพาให้เรามีมุมมองที่แหลมคมและก้าวไปข้างหน้า . . ประเทศจีนทำไมถึงเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งๆ ที่เพิ่งเปิดประเทศยังไม่ถึงสองทศวรรษดี ? ทำไมเกาหลีใต้ที่เคยเป็นประเทศที่ล้าหลังกลับแซงหน้าเราได้ชนิดไม่เห็นฝุ่นในเวลาไม่ถึง 20 ปี ? ความรู้รอบตัวเหล่านี้จะทำให้ท่าน “เลียนรู้”จากคนอื่นและนำมา “เรียนรู้” กับตนเอง . . มวลอารมณ์คืออะไร ทำไมต้องใส่ใจในรายละเอียด ? สิ่งเล็กน้อยเหล่านี้จะช่วยให้ท่านฉุกคิดถึงการออกแบบประสบการณ์ให้มีความหมาย มากไปก็ล้น น้อยไปก็ไม่ดี ต้องพอดิบพอดีเท่านั้น . . กฎแห่งการออกแบบคือ “ทุกอย่างที่เราสร้างไว้ จะกลับมาสร้างเราเสมอ” และถ้าท่านชื่นชอบการจัดเรียงอย่างมีระเบียบ หลงรักในความแตกต่างที่ลงตัว ในวันนี้และตอนนี้อาจจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดที่จะจัดระเบียบตัวเองเสียใหม่ รู้ว่าต้อง “ตัด” อะไรออกไป ต่อกับใคร ต้อง“เชื่อมโยง”กับสิ่งไหน เพื่อให้ท่านไปได้ไกลขึ้น . . สุภาษิตจีนว่าไว้ว่า “เมื่อวานคือความหลัง อนาคตสุดจะหยั่งรู้ และวันนี้คือปัจจุบัน เปรียบได้กับของขวัญ ดังนั้นมันต้องดีที่สุด” คงจะเป็นการยากที่จะออกแบบสินค้าหรือบริการให้คนตกหลุมรัก แต่เพราะมันยากและท้าทายนี่แหละ จึงควรค่าแก่การลองทำ . . สีแต่ละสีอาจจะดูแตกต่างและไม่เข้ากัน เส้น สามเหลี่ยม วงกลมอาจจะไม่ได้ไปในทิศทางเดียวกัน แต่เมื่อมีศิลปินที่พยายามจะเรียงร้อยสีสันต่างๆ ที่แตกต่างกัน รวบรวมและจัดเรียงเส้นสายไว้ด้วยกันอย่างบรรจง ภาพนั้นจะยิ่งสวยขึ้นเป็นเท่าตัว . . #itsyouYOU . . หมายเหตุ 1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU 2. ข้อมูล EP20 ต่อยอดจากการบรรยายของดร.ธีรศานต์ สหัสสพาศน์ ผู้อำนวยการหลักสูตร DNA อาจารย์ประจำ สาขาการจัดการธุรกิจดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม . . #DNA4bySPU 21 March 2019 . . จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU www.DNAbySPU.com ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
0 Comments
#DNAjournal4 #EP19
เหตุผลทำให้คนเข้าใจ แต่อารมณ์ทำให้คนตัดสินใจ . . สิ่งที่นักการตลาดพยายามจะตามหามาโดยตลอด คือ การทำความเข้าใจว่าอะไรคือ “แรงผลักดันที่ขับเคลื่อนพฤติกรรม” ให้เกิดการซื้อ การกดไลค์ การทดลองสินค้าหรืออื่นๆ ปริศนาชิ้นนี้ถ้ามีใครสามารถคลี่คลายได้ก็แทบจะพูดได้เต็มปากเลยว่าสามารถควบคุมผู้บริโภคให้ทำตามคำสั่งได้ . . นักการตลาด นักจิตวิทยาและนักสังคมศาสตร์ เห็นพ้องต้องกันว่าเงื่อนไขที่ขับเคลื่อนพฤติกรรมของมนุษย์นั้น จำแนกหลักๆ ได้เป็นสองอย่าง หนึ่งคือ “เหตุผล” และสิ่งที่สองคือ “อารมณ์” ทั้งสองต่างกันตรงที่ “เหตุผล” คือสิ่งที่เราทำลงไปเพราะสำนึกรู้และ “อารมณ์” คือสิ่งที่เราไม่ทันรู้สำนึกถึงกระบวนการนั้น . . แล้วมนุษย์เราตัดสินใจด้วยอารมณ์หรือเหตุผลกันล่ะ ? ถ้าว่ากันตามหลักชีววิทยาแล้ว มนุษย์นั้นเป็นสัตว์ประเสริฐ เพราะมีสมองที่สามารถรับรู้ถึงกลไกขับเคลื่อนพฤติกรรมที่เรียกว่า “อารมณ์และเหตุผล” ได้ ในขณะที่สัตว์ที่มีชีวิตทั่วไปมีสมองรับรู้ได้แค่อย่างเดียว นั่นคือ “อารมณ์” . . มนุษย์นั้นมีความหลงตัวเองนิดๆ ภูมิใจในเผ่าพันธุ์อยู่หน่อยๆ จึงมักจะเชิดชูให้ “เหตุผล” เป็นสิ่งที่อยู่เหนือ “อารมณ์” อยู่ขั้นนึงเสมอ เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐที่สามารถควบคุมตนเองได้ แตกต่างจากสัตว์โลกที่ทำอะไรโดยไม่สามารถอธิบายได้ . . รวมถึงในสังคม มนุษย์มักจะให้ “อารมณ์และความรู้สึก” เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ด้านลบที่สื่อถึงความอ่อนแออยู่เสมอ เช่นคำพูดที่ว่า “อย่าทำอะไรตามแต่อารมณ์” หรือ “อย่าให้อารมณ์มาอยู่เหนือเหตุผล” เป็นต้น ซึ่งคำพูดดังกล่าวจะออกไปในฝั่งร้ายมากกว่าฝั่งดี . . แต่โดยธรรมชาติของ “อารมณ์” แล้วไม่ได้มีแต่ด้านลบ เช่น โกรธหรือเศร้าโศกเสียใจแต่อย่างเดียว อีกฝั่งก็มีอารมณ์ด้านบวกด้วย เช่น เบิกบาน ร่าเริง สนุกสนาน ดังนั้นการกระทำโดนอารมณ์นั้นย่อมมีทั้งผลดีและผลร้าย ตามแต่จุดก่อกำเนิดอารมณ์ในช่วงนั้น . . “มนุษย์เป็นหนึ่งในสัตว์โลก และสัตว์โลกทั้งหลายก็ล้วนแล้วแต่ขับเคลื่อนด้วยอารมณ์ไม่ใช่เหตุผล” แนวคิดนี้สร้างความอึดอัดใจให้แก่ผู้เชี่ยวชาญในสาขามนุษยศาสตร์และพยายามหาเหตุผลเพื่อหักล้างมาช้านาน แต่ทฤษฎีดังกล่าวเริ่มเด่นชัดและเป็นที่ยอมรับมากขึ้นหลังจาก ริชาร์ด ธาเลอร์ ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาเศรษฐศาสตร์เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา . . เขาเรียกศาสตร์ที่ทำให้เขาได้รับรางวัลว่า “เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม” (Behavioral Economics) ดูเหมือนจะเป็นปัญญาชิ้นใหม่ในโลก ที่จริงแล้วคือการยอมรับธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ว่าเราจะตัดสินใจด้วยอารมณ์และหาเหตุผลมาให้เรารู้สึกดีเสมอ . . ทำไมอยากได้รองเท้าคู่ใหม่ ? เพราะรองเท้าคู่เก่ามันเก่าแล้ว สีไม่สวย ยางข้างในไม่สมบูรณ์ เชือกรองเท้าหลวม ท่านจะหาเหตุผลอะไรมาก็แล้วแต่ ในท้ายที่สุดท่านก็พ่ายแพ้ต่อสิ่งที่เรียกว่า “อารมณ์” เสมอ . . “เพราะเหตุผลจะทำให้คนเข้าใจ แต่อารมณ์ทำให้คนตัดสินใจ” ดังนั้นท่านควรจะออกแบบมวลอารมณ์เพื่อใช้ในธุรกิจท่านว่าจะวางท่วงทำนองอย่างไร ? เพื่อไม่ให้เขาแค่เข้าใจ แต่รู้สึกถึงตัวตนของธุรกิจท่าน . . #itsyouYOU . . หมายเหตุ 1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU 2. ข้อมูล EP19 ต่อยอดจากการบรรยายของคุณพล หุยประเสริฐ ผู้ก่อตั้งบริษัท H.U.I. คอนเสิร์ตดีไซเนอร์อันดับหนึ่งของประเทศไทยที่จะมาเล่าสิ่งที่อยู่เบื้องหลังในการสร้างคอนเสิร์ตที่น่าจดจำ ด้วยวิธีคิดที่แสนจะเรียบง่าย นั่นคือ “การออกแบบมวลอารมณ์” และด้วยกรณีศึกษาที่สร้างแรงบันดาลใจ จะทำให้เราได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่าเราจะได้ประโยชน์จากแนวคิดนี้อย่างไร? . . #DNA4bySPU 16 March 2019 . . จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU www.DNAbySPU.com ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง |
DNAbySPUหลักสูตรพัฒนาพันธุกรรม Archives
June 2019
Categories |