#DNAjournal3 #Special Episode
“สร้างอนาคตประเทศชาติด้วยมือของเรา” . . ท่านว่าสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยตอนนี้เป็นอย่างไร ? . . ท่านมองว่าธุรกิจของท่านอยู่ในดินแดนพระอาทิตย์ขึ้นหรือพระอาทิตย์ตก ? . . ท่านว่าประเทศไทยเรากำลังก้าวไปข้างหน้าสู่ยุค 4.0 หรือกำลังถอยหลังสู่ยุค 0.4 ? . . ท่านว่าประเทศไทยอยู่อันดับต้นๆ หรือท้ายๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียน ? . . และทำไมท่านถึงมาอยู่ที่นี่ในวันนี้ ? . . คำถามข้างต้นมี 5 ข้อด้วยกันแต่มีจุดเริ่มต้นจากข้อสุดท้าย เมื่อท่านสามารถตอบข้อสุดท้ายได้ คงไม่ใช่ยากที่จะตอบคำถามใน 4 ข้อแรก . . ท่านมาที่นี่เพื่อเรียนรู้ขัดเกลาวิชาความรู้และความสามารถที่จะนำพาธุรกิจที่ท่านดูแลไปสู่จุดที่ดีกว่าเดิม ท่านมาดูดซับความเชี่ยวชาญของวิทยากรเพื่อสร้างโอกาสให้กับตัวท่าน . . แสดงว่าท่านยอมรับและเห็นด้วยว่าตัวท่านและธุรกิจของท่านยังขาดความสมบูรณ์พร้อม ท่านเชื่อว่ายังมีพื้นที่ที่ว่างอยู่ มีศักยภาพที่แอบซ่อนเร้นอยู่ และเชื่อเหลือเกินว่าสิ่งเหล่านั้นสามารถพัฒนาได้ . . กระแสคลื่นลมของดิจิทัลได้เกิดขึ้นทั่วทุกพื้นที่ในโลก ไม่มีใครปฎิเสธความจริงข้อนี้ได้ ท่ามกลางกระแสลมดิจิทัลที่พัดผ่าน ท่านจะเลือกสร้างกำแพงหรือเลือกที่จะสร้างกังหัน ? . . “ความฝัน” นั้นเป็นสิ่งวิเศษ เป็นนามธรรมที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเรา แต่สามารถผลักดันให้เราหาเหตุผลสนับสนุนที่จะปฎิบัติงานอย่างที่ไม่รู้จักเหน็ดไม่รู้จักเหนื่อยได้ และเมื่อท่านลงมือออกตามความฝันแล้ว ความฝันจะนำพาให้ท่านพบกับ “เป้าหมาย” แต่คำถามคือท่านยึดเกี่ยวในสิ่งนั้นแน่นพอหรือยัง ทุกช่วงเวลาที่มีคนลงมือทำในสิ่งที่ยิ่งใหญ่ คนรอบข้างมักมองว่าสิ่งที่เขาทำมันค้านสายตาและคาดไม่ถึงว่าจะเป็นไปได้ แต่เขากลับทำได้ มีผู้คนมากหน้าหลายตาจากหลายวงการไม่ซ้ำสาขาถามหาเคล็ดลับความสำเร็จของเขา ทุกคนคิดว่าคำตอบของเขาจะต้องเป็นหลักคิดที่ชาญฉลาดและล้ำค่า แต่เขากลับให้คำตอบที่ธรรมดาสุด เรียบง่ายสุด แต่ทรงพลังสุด คือ “ผมไม่ได้คิด ผมแค่ลงมือทำ” . . ความคิดนอกกรอบนั้นอาจจะดูซับซ้อนและเป็นไปได้ยาก เพราะกรอบความคิดของเราถูกสร้างขี้นจากอายตนะทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สื่อธรรมชาติที่เชื่อมต่อร่างกายคนกับสิ่งเร้าภายนอก แต่เมื่อท่านเชื่อในสิ่งที่ตามองไม่เห็น สดับรับฟังในเสียงที่คนอื่นไม่สนใจ ดมกลิ่นที่คนอื่นไม่คิดจะดอมดม ชิมรสชาติที่หลายคนหวาดกลัว สัมผัสกับสิ่งที่ไม่คุ้นเคย และรู้สึกให้มากกว่ารับรู้ แล้วท่านจะทราบว่าการคิดออกจากกรอบนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็นเลย . . คนๆ หนึ่งสามารถเติบใหญ่ได้ตามกลไกการจัดระเบียบของธรรมชาติ แต่ไม่สามารถไปสู่จุดที่ยิ่งใหญ่ได้ถ้าไร้ซึ่งการบูรณาการและขาดเพื่อนร่วมทางในเป้าหมายเดียวกัน ถ้าปราศจากสังคมที่ก้าวไปด้วยกัน เมื่อคว้าดวงดาวมาได้ จะมีใครที่จะร่วมยินดี . . เราเกิดเป็นคนไทย เรามีสายเลือดไทย เราควรตอบแทนผืนป่าที่เคยอาศัยร่มเงา ผืนน้ำที่เคยดื่มกิน แผ่นดินที่เคยหลับนอน เราทุกคนล้วนเป็นบุคคลที่สามารถนำพาประเทศไทยไปสู่จุดที่ดีกว่าเดิมได้ ให้ชาวต่างชาติได้ยินชื่อเสียงประเทศไทย ให้ธงไตรรงค์โบกสะบัดอย่างยิ่งใหญ่บนแผนที่โลก . . อนาคตประเทศไทยจะเป็นอย่าไร ขอฝากความหวังไว้ในมือพวกท่าน . . #itsyouYOU . . หมายเหตุ 1. ข้อมูล special episode ต่อยอดจากปาฐกถาพิเศษของท่านกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และประธานคณะกรรมการสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์กรมหาชน) ที่กรุณาให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตรวันปิดหลักสูตร DNA รุ่น 3 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม . . #Speaker #DNA3bySPU 9 June 2018 . . คิดอยู่นานว่าจะเขียนดีไหม เพราะปกติไม่ค่อยอยากเขียนอะไรหล่อๆลงในเฟซบุคเท่าไหร่ และถ้าเขียนอะไรยาวๆ พี่มาร์คก็บอกว่าคนคงไม่อ่าน แต่ช่วงนี้ความสุขมันเอ่อล้นมากจนอยากระบายออก . หลักสูตรนี้แรกเริ่มเดิมทีมีจุดกำเนิดมาจากคำว่า “วิกฤต” เพราะในช่วงไม่กี่ปีมานี้ สังคมโลกได้เคลื่อนจาก “สังคมที่ขับเคลื่อนด้วยสื่อ” มาเป็น “สังคมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี” ซึ่งส่งผลให้วิชาความรู้ที่เราศึกษามา เคล็ดวิชาที่เราเคยฝึกฝนมา วิธีการที่เราจำเพราะทำแล้วได้ผลมา ไม่สามารถสร้างผลลัพธ์ได้อีกต่อไป . ตอนนี้เราเจอวิกฤตทางหน้าที่การงานที่รุนแรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในประวัติศาสตร์ มีเรื่องธรรมดาหลายๆเรื่องกลับโด่งดังในเวลาข้ามคืน เหมือนมีแม่มดร่ายมนตราให้กลายเป็นเรื่องโด่งดัง แต่พอรุ่งเช้าพอมนต์คลายฤทธิ์ลง ก็กลายเป็นเรื่องที่ไม่มีใครสนใจ ซึ่งนั่นหมายความว่า ชุดความคิดในตำราเล่มเดิมที่ถูกเขียนมาตั้งแต่ปลายยุคปฎิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 ใช้ไม่ได้แล้วในวันนี้ และถ้าเราจะก้าวไปข้างหน้า เราต้องใช้ชุดความคิดใหม่ . พี่ตุ้มหนุ่มเมืองจันท์ (tag พี่ตุ้ม) เคยพูดไว้ว่า “ท่ามกลางกระแสลมผันผวนของวิกฤต บางคนสร้างกำแพง บางคนสร้างกังหัน” คำนี้ลึกซึ้งและกินใจ และชวนคิดต่อว่า เป็นไปได้ไหมที่เราจะไม่สร้างกังหันให้ตัวเอง แต่จะชวนคนอื่นมาสร้างกังหัน . แต่ความสามารถของไอซ์คนเดียวคงมีไม่พอที่จะบ่มเพาะให้คนอื่นสร้างกังหันได้ เพราะแต่ละคนแต่ละธุรกิจก็มีเรื่องราวหลากหลายและสไตล์เฉพาะที่ไม่เหมือนกัน ทุกคนรู้ดีว่าต้องคิดไปข้างหน้า แต่ถ้าคิดไปข้างหน้าแล้วมองไม่เห็นอะไร ทำไมไม่ลองคิดย้อนกลับหลังเพื่อก้าวไปข้างหน้า ? . ไอซ์จึงได้ส่งทำเนียบเชิญวิทยากรผู้คร่ำหวอดในสาขาต่างๆมา (tag วิทยากร) แต่ไม่ได้ให้มาสอนในคลาสประดุจนักเรียนอาจารย์ แต่ให้มาเล่าเหมือนเพื่อนชวนคุยว่า เคยผ่านอะไรมาบ้าง? เคยเจอวิกฤตไหน? แก้ไขปัญหาอย่างไร? มีประเด็นสำคัญที่ทำให้เรียนรู้ได้ไหม? ลองผิดลองถูกอะไรไปแล้วบ้างและผลลัพธ์เป็นอย่างไร ? . 20 วิทยากร 20 เรื่องราว อาจไม่ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม แค่คงมากพอที่จะทำให้นักเรียนปะติดปะต่อ ผสมผสาน เชื่อมโยงและกลั่นกรองเรื่องราวต่างๆ มให้เป็นเส้นทางตามแบบฉบับของตนเอง #itsyouYOU และเมื่อทุกคนสามารถค้นพบเส้นทางเฉพาะของตนเองได้ แล้วแชร์กันออกไป ให้ความรู้แลกเปลี่ยนหมุนเวียนกันออกไป มันจะผลักดันให้สังคมก้าวไปข้างหน้า และเมื่อทุกภาคส่วนสังคมที่เป็นพื้นฐานของประเทศก้าวไปข้างหน้าแล้ว เป็นไปไม่ได้ว่าประเทศจะไม่ก้าวไปข้างหน้า และจะก้าวไปข้างหน้าอย่างที่ไม่หันหลังกลับมาอีก . หลักสูตรนี้ไอซ์ไม่ได้ทำในฐานะของห้างร้านธุรกิจ แต่ทำในฐานะของอาจารย์ ไอซ์เข้าใจดีว่า “บริบทก็คือบทเรียน” และกองทัพเดินด้วยท้อง จึงเตรียมเมนู Street food ชื่อดังมาต้อนรับ เพราะคิดว่าท่านเป็นนักธุรกิจจะให้ไปต่อคิวชิมอาหารชื่อดังตามแหล่งท้องถนนก็ใช่ที่ จึงจัดร้าน Street food ชื่อดังมาบริการท่าน ต้องขอบคุณ...ด้วยนะ (tag ทีมงาน) . ถึงแม้ขึ้นชื่อว่าหลักสูตรแต่ก็ไม่มีใครบังคับว่าการหาความรู้จะสนุกไม่ได้ ต้องขอขอบคุณเกมส์ที่ช่วยสร้างสีสันให้ในห้องทุกครั้งที่สัมผัสไมค์ (tag เกมส์) . ขอบคุณ (tag กอลฟ) ที่ช่วยเก็บภาพสวยๆในห้องเรียน สิ่งที่กอล์ฟทำไม่ได้บันทึกแค่ภาพ แต่บันทึกความทรงจำไว้ ไม่ว่านานเท่าไหร่จะไม่ลืม (เนื้อเพลงอะไรซักอย่าง) . ขอบคุณทีมงานหลังฉากทุกคนมาก (tag ทีมสาวๆ) ทีมจัดการที่สุดยอดช่วยให้งานไหลลื่นได้โดยไม่มีสะดุด พี่ไม่ดุ แต่มองตาต้องมาหานะจ้ะ . ขอบคุณอุ้ม (tag คุณอุ้ม) คู่คิดและคู่ชีวิต เป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสุดท้ายที่ทำให้หลักสูตรนี้เกิดขึ้นมาได้ อยู่เคียงข้างกัน ดูแลกันไปตลอดนะ . ขอบคุณ ดร.รัชนีกร และพี่ฮั้ว (tag ทั้ง2 ท่าน) ที่มอบพื้นที่แห่งโอกาสนี้ให้ไอซ์ เด็กติดอ่างคนหนึ่งที่ไม่เคยคิดฝันว่าจะเป็นอาจารย์ได้ หลักสูตรนี้อาจจะไม่ใช่หลักสูตรที่ดีที่สุด แต่ดีที่สุดเท่าที่ไอซ์จะทำได้ และจะต้องดียิ่งขึ้นไปอีก ไอซ์สัญญา . และสุดท้าย ขอบคุณนักเรียน #DNA3bySPU ทุกคนที่สละเวลาพักผ่อนอันมีค่าในบ่ายวันเสาร์ ถึง 13 สัปดาห์ ถึงแม้จะจบหลักสูตรแล้ว #เสาร์หน้ามันจะเหงาๆหน่อยแต่เราไม่ได้จากกันไปไหน เพราะเราทุกคนคือครอบครัวเดียวกันแล้ว #DNAfamily และเหมือนที่ครีมพูดไว้ (tag คุณครีม) “วันนี้แค่จากลา วันหน้าเราจะมาพบกันใหม่” ถ้ามีอะไรที่ไอซ์พอจะช่วยได้บอกได้เลย ยินดีช่วยเต็มที่ รักทุกคนเข้าแล้วและจะรักตลอดไป ขอบคุณจากหัวใจ ให้กับชาว DNA
0 Comments
#DNAjournal3 #EP22
Service Marketing การตลาดบริการ ที่เริ่มต้นจากความใส่ใจ . . ในปัจจุบันการตลาดบริการ “Service Marketing” เข้ามามีส่วนประกอบสำคัญในการสร้างแบรนด์ เพราะทุกวันนี้พฤติกรรมการจับจ่ายของผู้บริโภคเปลี่ยนไป สมัยก่อนสินค้าที่มีคุณภาพก็อาจจะสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ประกอบการได้ แต่สมัยนี้การมีสินค้าคุณภาพดีอย่างเดียวอาจไม่เพียงพออีกต่อไป . . หลายธุรกิจมีการประยุกต์ใช้ Service Marketing ในทางสร้างสรรค์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ตัวสินค้าหรือบริการ เช่น ห้างสรรพสินค้าที่ออกบริการ Personal Shopper บริการให้คำปรึกษาและคำแนะนำด้านแฟชั่น การแต่งกายให้สอดคล้องกับบุคลิกภาพ รสนิยม อาชีพและชีวิตประจำวัน โดยที่ไม่คิดค่าบริการ หรือโรงพยาบาลที่มีการบริการและการตกแต่งห้องพักในรูปแบบ “Hospitel” (Hospital + Hotel) เปรียบเสมือนโรงแรมที่น่าพักในวันหยุดพักผ่อน ตอบรับกระแส Medical Tourism หรือแม้แต่บริการด้านการเงินจากธนาคารที่จะมอบเอกสิทธิ์ต่างๆ ให้กับลูกค้ารายพิเศษ . . และมีหลายธุรกิจเช่นกันที่ไม่จำเป็นต้องใช้การบริการเป็นหลัก แต่ก็เลือกที่จะใช้การบริการเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและส่งเสริมประสบการณ์ที่น่าประทับใจ เช่น บริษัท Kerry Express ที่ให้บริการจัดส่งสินค้าภายใน 1 วันและก่อนจัดส่งพนักงานจะต้องโทรไปหาผู้รับเพื่อถามว่าสะดวกรับสินค้าหรือไม่ ? รวมถึงการบริการก็ยังมีส่วนสำคัญในการช่วยขายสินค้าให้ง่ายขึ้นด้วย เช่น การให้บริการเงินผ่อน การให้บริการจัดส่งสินค้าถึงบ้าน เป็นต้น . . การบริการนั้นนอกจากจะต้องอาศัยบุคลิกภาพที่เพียบพร้อมและความสามารถของบุคลากรในการให้บริการที่สมบูรณ์แบบ แต่ถ้าขาดส่วนสำคัญที่สุดไปก็ คงเรียกว่า “การบริการที่เป็นเลิศ” ไม่ได้ แล้วสิ่งนั้นคืออะไร ? . . หลักสูตร #DNA3bySPU ได้รับเกียรติจากคุณกนกวรรณ กรรณิกา (คุณแป้ง) นักเรียน DNA รุ่นที่ 3 ที่จะมาทำให้เราเข้าใจวิธีการให้บริการที่ประทับใจในหัวข้อ "Service Marketing การตลาดให้ลูกค้ารัก" ในคลาส #DNAbySPU3.1 สำหรับชาว DNA โดยเฉพาะ จัดโดยนักเรียน DNA รุ่นที่ 3 . . หลักสำคัญที่สุดในการให้บริการคือ “ความใส่ใจในหัวใจของการเป็นมนุษย์” (Human Touch) เพราะแท้จริงแล้วคนไม่ได้ต้องการสินค้าหรือบริการ แต่โหยหา “สายสัมพันธ์” ในความเป็นมนุษย์ (Human Connection) . . มีลูกค้าหลายคนรู้สึกไม่พอใจที่จะต้องแจ้งปัญหาของสินค้าหรือบริการผ่านระบบบันทึกเสียงอัตโนมัติของ Call Center มีปัญญาประดิษฐ์มากมายที่สามารถให้บริการได้เหนือมนุษย์ เช่น Digital Signage ที่รวบรวมประวัติการซื้อสินค้าและนำเสนอโปรโมชั่นที่เหมาะสมได้ แต่ก็ไม่สามารถสร้างความประทับใจได้เท่ากับการที่พนักงานชงกาแฟสามารถจดจำชื่อและเมนูที่เราสั่งประจำได้ นั่นเป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่า มนุษย์ต้องการสายสัมพันธ์ขนาดไหน ? . . การบริการถึงแม้จะเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ (Intangibility) ไม่ได้ส่งผลอย่างฉับพลันในวันนี้ แต่จะค่อยๆ สะสมชื่อเสียงในวันข้างหน้า คำถามสำคัญคือเราจะพัฒนาการบริการให้เป็นบริการที่ดีและประทับใจได้อย่างไร ตอบง่ายๆ ก็คือ เริ่มต้นจาก “ความใส่ใจ” เพราะการบริการนั้นเริ่มต้นที่หัวใจของคนและจบลงที่การกระทำของคน และเมื่อการกระทำของคนคนหนึ่งที่ถูกถ่ายทอดออกไปอย่างน่าประทับใจ คนที่ได้รับบริการก็จะมีความรู้สึกประทับใจจนอยากที่จะบอกต่อ . . หากลูกค้าขอผ้าห่ม...อย่าลืมสังเกตอุณหภูมิและอาการของเขา หากน้องเด็กขอน้ำ...อย่าลืมหลอดและฝาปิดแก้วให้ไป หากมีคนขอเครื่องดื่ม...อย่าลืมถามคนข้างๆ ด้วย การคิดล่วงหน้าถึงความต้องการลูกค้า นอกจากจะทำให้ประหยัดเวลาในการให้บริการแล้ว ยังแสดงออกถึงความใส่ใจอีกด้วย . . และเมื่อท่านให้ใจลูกค้า ลูกค้าก็จะให้ใจแก่ท่านเช่นกัน . . #itsyouYOU . . หมายเหตุ 1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU 2. ข้อมูล EP.22 ต่อยอดจากการบรรยายของคุณกนกวรรณ กรรณิกา (คุณแป้ง) นักเรียน DNA รุ่นที่ 3 ที่จะมาทำให้เราเข้าใจถึงวิธีการให้บริการที่ประทับใจในหัวข้อ "Service Marketing การตลาดให้ลูกค้ารัก" ในคลาส #DNAbySPU3.1 สำหรับชาว DNA โดยเฉพาะจั ดโดยนักเรียน DNA รุ่นที่ 3 . . #Speaker #DNA3bySPU 14July 2018 . . จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU www.DNAbySPU.com ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำและเป็น DNA ของตัวเอง #DNAjournal3 #EP21
Micro moment ช่วงเวลาเสี้ยววินาที แต่มีมูลค่ามหาศาล . . ในสมัยที่ธุรกิจใช้สื่อเป็นเครื่องจักรทางเศรษฐกิจชิ้นสำคัญในการผลักดันสินค้าจากโรงงานไปสู่ผู้บริโภค เรื่องราวของแคมเปญการตลาดในสมัยนั้นจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ก็มักจะพึ่งพาสัญชาตญาณของนักการตลาดอยู่เสมอ . . แม้ว่าศาสตร์การตลาดจะพยายามพัฒนาให้วิชาวิทยาศาสตร์มีบทบาทในสาขาธุรกิจ เช่น การทำ Focus Group เพื่อจะได้รู้ว่าผู้บริโภคตอบสนองอย่างไรก่อนที่แคมเปญจะออกไปในวงกว้าง แต่สุดท้ายคนที่กดปุ่มตัดสินใจว่าจะให้ไปหรืออยู่ ก็มักจะเป็นนักการตลาดที่จะต้องบนบานสานกล่าวก่อนเซ็นอนุมัติโครงการ . . ถ้าแคมเปญที่ออกไปประสบผลสำเร็จและสร้างยอดขายได้ก็รอดตัวไป นักการตลาดสามารถยิ้มได้อย่างสบายใจแล้วก็รอแคมเปญหน้าอย่างมีความสุข แต่ในโชคดีก็ย่อมมีโชคร้าย หลายครั้งที่ตลาดไม่ได้เป็นไปอย่างที่นักการตลาดพยากรณ์หรือคาดการณ์เอาไว้ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบมหาศาลจนถึงขั้นต้องเดือดร้อนเก้าอี้สั่นคลอน . . การตลาดในอดีตแม้จะไม่ได้เป็นเรื่องของดวงหรือโชคชะตาอย่างเดียว แต่ก็อาศัย “ความน่าจะเป็น” (Probability) อยู่บ่อยครั้ง แต่การเข้ามาของอินเตอร์เน็ตและสมาร์ทโฟนก็ทำให้อะไรอะไรก็เปลี่ยนไปไม่พ้นแม้แต่ในแวดวงการตลาด . . ในช่วงเวลานี้ เราสามารถลดโอกาสการผิดพลาดจากการคาดการณ์อนาคตที่ไม่แน่นอนได้ด้วยการใช้ “ข้อมูล” (Data) แต่การมีข้อมูลอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอที่จะคาดการณ์สิ่งต่างๆ ได้ จึงเป็นที่มาของคำว่า “Big Data” หรือข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งไม่ได้หมายถึงการมีข้อมูลจำนวนมหาศาลเท่านั้น แต่หมายถึงการนำข้อมูลมหาศาลมาวิเคราะห์แนวโน้มและรูปแบบพฤติกรรม เพื่อป้องกันความล้มเหลวที่จะเกิดให้น้อยที่สุด . . การใช้ Big Data ดูเหมือนจะเป็นเรื่องใหม่ แต่จริงๆ แล้วธุรกิจมีการนำข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา เช่น การทำ Feasibility Study เพื่อศึกษาแนวโน้มความเป็นไปได้ของโครงการ ก่อนที่จะนำเงินมาลงทุน หรือการทำ Research ทั้งด้านปฐมภูมิและทุติยภูมิ เพื่อศึกษา ค้นคว้า คาดการณ์ความเป็นไปของผู้บริโภค เพื่อคาดเดาทิศทางของแคมเปญที่จะเกิดขึ้นในปีต่อไป . . แต่เชื่อแน่ว่ามีผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยที่ได้ยินและคุ้นชินเรื่องความสำคัญของการใช้ข้อมูล แต่ยังมองภาพไม่ออกว่าจะนำข้อมูลมาใช้ได้อย่างไร . . หลักสูตร #DNA3bySPU ได้รับเกียรติจากคุณณัฐภัทร อิทธิวรานุรักษ์ (คุณไกด์) นักเรียน DNA รุ่นที่ 3 ที่จะมาเชิญชวนให้เราตระหนักถึงประโยชน์จากการทำธุรกิจโดยอาศัยข้อมูล ในหัวข้อ "Kick start for Winning Digital Game" ในคลาส #DNAbySPU3.1 สำหรับชาว DNA โดยเฉพาะ . . มีนักวิชาการและนักการตลาดหลายท่านออกมาให้ความเห็นว่าผู้บริโภคในวันนี้มีความแตกต่างจากผู้บริโภคเมื่อวานอย่างสิ้นเชิง แต่ถ้ามองอย่างวิเคราะห์และเจาะลึก จะพบว่าจริงๆ แล้วผู้บริโภคไม่ได้เปลี่ยนไปแต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือบริบทสภาพแวดล้อม ซึ่งกำหนดพฤติกรรมของผู้บริโภค . . ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะค้นหาข้อมูลผ่านทางสมาร์ทโฟนมากกว่าคอมพิวเตอร์ และผู้บริโภคในยุคนี้มีความอดทนต่อสิ่งต่างๆ น้อยลง ถ้าต้องการอะไรก็คาดหวังว่าผู้ประกอบการจะตอบสนองทันที เมื่อแนวโน้มทั้งสองอย่างประกอบเข้าด้วยกัน Google จึงได้สังเคราะห์และเกิดเป็นแนวคิดที่ชื่อ Micro Moment ซึ่งเกิดขึ้นมาพร้อมกับ Consumer Journey ที่เปลี่ยนไปพร้อมกับเทคโนโลยีที่ถูกสร้างมาให้ติดตัว . . Google ได้ให้คำนิยามพฤติกรรมทั้ง 4 รูปแบบ แบ่งเป็น “รู้” I want to know moments คือ ต้องการหาข้อมูลเพื่อจะซื้อสินค้าหรือบริการแต่ยังไม่ได้ตัดสินใจซื้อ “ไป” I want to go moments คือ การหาร้านค้าคู่แข่งที่อยู่ในบริเวณนั้นเพื่อเปรียบเทียบราคา “ทำ” I want to do moments จะเกิดขึ้นเมื่อลูกค้ารู้สึกถึงปัญหาแต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ลุล่วง จึงต้องการความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นคู่มือ How to หรือบริการจากมืออาชีพ และ “ซื้อ” I want to buy moments คือ ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดเพราะลูกค้าพร้อมจะซื้อสินค้าแล้ว เพียงแต่ว่าอาจต้องการข้อมูลประกอบการตัดสินใจขั้นสุดท้ายก่อนที่จะไปชำระเงิน . . 4 สถานการณ์นี้ผู้ประกอบการไม่มีทางทราบได้เลยว่ามันจะเกิดขึ้นตอนไหนและเมื่อไหร่? ซึ่ง Google ได้แนะนำมาตรการในการรับมือกับสมการดังนี้ คือ Be there อยู่ในที่ที่ลูกค้าต้องการอยู่ จะได้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างทันท่วงที Be useful ข้อมูลต้องมีประโยชน์ สร้างแรงบันดาลใจและไม่บีบบังคับจนเกินไป Be accountable การที่มีความน่าเชื่อถือ ไม่ทอดทิ้งลูกค้าหลังจากที่ลูกค้าได้จ่ายเงินไปแล้ว . . ธุรกิจที่มีความเข้าใจและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันท่วงทีในเวลาที่อารมณ์ของลูกค้าอยู่ในช่วงเวลาที่ต้องการตอบสนองที่สุด สินค้าหรือบริการนั้นก็จะมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่งอย่างแน่นอน . . #itsyouYOU . . หมายเหตุ 1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU 2. ข้อมูล EP.21 ต่อยอดจากการบรรยายของคุณณัฐภัทร อิทธิวรานุรักษ์ (คุณไกด์) นักเรียน DNA รุ่นที่ 3 ที่จะมาเชิญชวนให้เราตระหนักถึงประโยชน์จากการทำธุรกิจโดยอาศัยข้อมูล ในหัวข้อ "Kick start for Winning Digital Game" ในคลาส #DNAbySPU3.1 สำหรับชาว DNA โดยเฉพาะ . . #Speaker #DNA3bySPU 14 July 2018 . . จัดทำโดยหลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU www.DNAbySPU.com ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำและเป็น DNA ของตัวเอง |
DNAbySPUหลักสูตรพัฒนาพันธุกรรม Archives
June 2019
Categories |