#DNAjournal4 #EP19
เหตุผลทำให้คนเข้าใจ แต่อารมณ์ทำให้คนตัดสินใจ . . สิ่งที่นักการตลาดพยายามจะตามหามาโดยตลอด คือ การทำความเข้าใจว่าอะไรคือ “แรงผลักดันที่ขับเคลื่อนพฤติกรรม” ให้เกิดการซื้อ การกดไลค์ การทดลองสินค้าหรืออื่นๆ ปริศนาชิ้นนี้ถ้ามีใครสามารถคลี่คลายได้ก็แทบจะพูดได้เต็มปากเลยว่าสามารถควบคุมผู้บริโภคให้ทำตามคำสั่งได้ . . นักการตลาด นักจิตวิทยาและนักสังคมศาสตร์ เห็นพ้องต้องกันว่าเงื่อนไขที่ขับเคลื่อนพฤติกรรมของมนุษย์นั้น จำแนกหลักๆ ได้เป็นสองอย่าง หนึ่งคือ “เหตุผล” และสิ่งที่สองคือ “อารมณ์” ทั้งสองต่างกันตรงที่ “เหตุผล” คือสิ่งที่เราทำลงไปเพราะสำนึกรู้และ “อารมณ์” คือสิ่งที่เราไม่ทันรู้สำนึกถึงกระบวนการนั้น . . แล้วมนุษย์เราตัดสินใจด้วยอารมณ์หรือเหตุผลกันล่ะ ? ถ้าว่ากันตามหลักชีววิทยาแล้ว มนุษย์นั้นเป็นสัตว์ประเสริฐ เพราะมีสมองที่สามารถรับรู้ถึงกลไกขับเคลื่อนพฤติกรรมที่เรียกว่า “อารมณ์และเหตุผล” ได้ ในขณะที่สัตว์ที่มีชีวิตทั่วไปมีสมองรับรู้ได้แค่อย่างเดียว นั่นคือ “อารมณ์” . . มนุษย์นั้นมีความหลงตัวเองนิดๆ ภูมิใจในเผ่าพันธุ์อยู่หน่อยๆ จึงมักจะเชิดชูให้ “เหตุผล” เป็นสิ่งที่อยู่เหนือ “อารมณ์” อยู่ขั้นนึงเสมอ เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐที่สามารถควบคุมตนเองได้ แตกต่างจากสัตว์โลกที่ทำอะไรโดยไม่สามารถอธิบายได้ . . รวมถึงในสังคม มนุษย์มักจะให้ “อารมณ์และความรู้สึก” เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ด้านลบที่สื่อถึงความอ่อนแออยู่เสมอ เช่นคำพูดที่ว่า “อย่าทำอะไรตามแต่อารมณ์” หรือ “อย่าให้อารมณ์มาอยู่เหนือเหตุผล” เป็นต้น ซึ่งคำพูดดังกล่าวจะออกไปในฝั่งร้ายมากกว่าฝั่งดี . . แต่โดยธรรมชาติของ “อารมณ์” แล้วไม่ได้มีแต่ด้านลบ เช่น โกรธหรือเศร้าโศกเสียใจแต่อย่างเดียว อีกฝั่งก็มีอารมณ์ด้านบวกด้วย เช่น เบิกบาน ร่าเริง สนุกสนาน ดังนั้นการกระทำโดนอารมณ์นั้นย่อมมีทั้งผลดีและผลร้าย ตามแต่จุดก่อกำเนิดอารมณ์ในช่วงนั้น . . “มนุษย์เป็นหนึ่งในสัตว์โลก และสัตว์โลกทั้งหลายก็ล้วนแล้วแต่ขับเคลื่อนด้วยอารมณ์ไม่ใช่เหตุผล” แนวคิดนี้สร้างความอึดอัดใจให้แก่ผู้เชี่ยวชาญในสาขามนุษยศาสตร์และพยายามหาเหตุผลเพื่อหักล้างมาช้านาน แต่ทฤษฎีดังกล่าวเริ่มเด่นชัดและเป็นที่ยอมรับมากขึ้นหลังจาก ริชาร์ด ธาเลอร์ ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาเศรษฐศาสตร์เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา . . เขาเรียกศาสตร์ที่ทำให้เขาได้รับรางวัลว่า “เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม” (Behavioral Economics) ดูเหมือนจะเป็นปัญญาชิ้นใหม่ในโลก ที่จริงแล้วคือการยอมรับธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ว่าเราจะตัดสินใจด้วยอารมณ์และหาเหตุผลมาให้เรารู้สึกดีเสมอ . . ทำไมอยากได้รองเท้าคู่ใหม่ ? เพราะรองเท้าคู่เก่ามันเก่าแล้ว สีไม่สวย ยางข้างในไม่สมบูรณ์ เชือกรองเท้าหลวม ท่านจะหาเหตุผลอะไรมาก็แล้วแต่ ในท้ายที่สุดท่านก็พ่ายแพ้ต่อสิ่งที่เรียกว่า “อารมณ์” เสมอ . . “เพราะเหตุผลจะทำให้คนเข้าใจ แต่อารมณ์ทำให้คนตัดสินใจ” ดังนั้นท่านควรจะออกแบบมวลอารมณ์เพื่อใช้ในธุรกิจท่านว่าจะวางท่วงทำนองอย่างไร ? เพื่อไม่ให้เขาแค่เข้าใจ แต่รู้สึกถึงตัวตนของธุรกิจท่าน . . #itsyouYOU . . หมายเหตุ 1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU 2. ข้อมูล EP19 ต่อยอดจากการบรรยายของคุณพล หุยประเสริฐ ผู้ก่อตั้งบริษัท H.U.I. คอนเสิร์ตดีไซเนอร์อันดับหนึ่งของประเทศไทยที่จะมาเล่าสิ่งที่อยู่เบื้องหลังในการสร้างคอนเสิร์ตที่น่าจดจำ ด้วยวิธีคิดที่แสนจะเรียบง่าย นั่นคือ “การออกแบบมวลอารมณ์” และด้วยกรณีศึกษาที่สร้างแรงบันดาลใจ จะทำให้เราได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่าเราจะได้ประโยชน์จากแนวคิดนี้อย่างไร? . . #DNA4bySPU 16 March 2019 . . จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU www.DNAbySPU.com ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
0 Comments
Leave a Reply. |
DNAbySPUหลักสูตรพัฒนาพันธุกรรม Archives
June 2019
Categories |