#DNAjournal3 #EP21
Micro moment ช่วงเวลาเสี้ยววินาที แต่มีมูลค่ามหาศาล . . ในสมัยที่ธุรกิจใช้สื่อเป็นเครื่องจักรทางเศรษฐกิจชิ้นสำคัญในการผลักดันสินค้าจากโรงงานไปสู่ผู้บริโภค เรื่องราวของแคมเปญการตลาดในสมัยนั้นจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ก็มักจะพึ่งพาสัญชาตญาณของนักการตลาดอยู่เสมอ . . แม้ว่าศาสตร์การตลาดจะพยายามพัฒนาให้วิชาวิทยาศาสตร์มีบทบาทในสาขาธุรกิจ เช่น การทำ Focus Group เพื่อจะได้รู้ว่าผู้บริโภคตอบสนองอย่างไรก่อนที่แคมเปญจะออกไปในวงกว้าง แต่สุดท้ายคนที่กดปุ่มตัดสินใจว่าจะให้ไปหรืออยู่ ก็มักจะเป็นนักการตลาดที่จะต้องบนบานสานกล่าวก่อนเซ็นอนุมัติโครงการ . . ถ้าแคมเปญที่ออกไปประสบผลสำเร็จและสร้างยอดขายได้ก็รอดตัวไป นักการตลาดสามารถยิ้มได้อย่างสบายใจแล้วก็รอแคมเปญหน้าอย่างมีความสุข แต่ในโชคดีก็ย่อมมีโชคร้าย หลายครั้งที่ตลาดไม่ได้เป็นไปอย่างที่นักการตลาดพยากรณ์หรือคาดการณ์เอาไว้ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบมหาศาลจนถึงขั้นต้องเดือดร้อนเก้าอี้สั่นคลอน . . การตลาดในอดีตแม้จะไม่ได้เป็นเรื่องของดวงหรือโชคชะตาอย่างเดียว แต่ก็อาศัย “ความน่าจะเป็น” (Probability) อยู่บ่อยครั้ง แต่การเข้ามาของอินเตอร์เน็ตและสมาร์ทโฟนก็ทำให้อะไรอะไรก็เปลี่ยนไปไม่พ้นแม้แต่ในแวดวงการตลาด . . ในช่วงเวลานี้ เราสามารถลดโอกาสการผิดพลาดจากการคาดการณ์อนาคตที่ไม่แน่นอนได้ด้วยการใช้ “ข้อมูล” (Data) แต่การมีข้อมูลอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอที่จะคาดการณ์สิ่งต่างๆ ได้ จึงเป็นที่มาของคำว่า “Big Data” หรือข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งไม่ได้หมายถึงการมีข้อมูลจำนวนมหาศาลเท่านั้น แต่หมายถึงการนำข้อมูลมหาศาลมาวิเคราะห์แนวโน้มและรูปแบบพฤติกรรม เพื่อป้องกันความล้มเหลวที่จะเกิดให้น้อยที่สุด . . การใช้ Big Data ดูเหมือนจะเป็นเรื่องใหม่ แต่จริงๆ แล้วธุรกิจมีการนำข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา เช่น การทำ Feasibility Study เพื่อศึกษาแนวโน้มความเป็นไปได้ของโครงการ ก่อนที่จะนำเงินมาลงทุน หรือการทำ Research ทั้งด้านปฐมภูมิและทุติยภูมิ เพื่อศึกษา ค้นคว้า คาดการณ์ความเป็นไปของผู้บริโภค เพื่อคาดเดาทิศทางของแคมเปญที่จะเกิดขึ้นในปีต่อไป . . แต่เชื่อแน่ว่ามีผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยที่ได้ยินและคุ้นชินเรื่องความสำคัญของการใช้ข้อมูล แต่ยังมองภาพไม่ออกว่าจะนำข้อมูลมาใช้ได้อย่างไร . . หลักสูตร #DNA3bySPU ได้รับเกียรติจากคุณณัฐภัทร อิทธิวรานุรักษ์ (คุณไกด์) นักเรียน DNA รุ่นที่ 3 ที่จะมาเชิญชวนให้เราตระหนักถึงประโยชน์จากการทำธุรกิจโดยอาศัยข้อมูล ในหัวข้อ "Kick start for Winning Digital Game" ในคลาส #DNAbySPU3.1 สำหรับชาว DNA โดยเฉพาะ . . มีนักวิชาการและนักการตลาดหลายท่านออกมาให้ความเห็นว่าผู้บริโภคในวันนี้มีความแตกต่างจากผู้บริโภคเมื่อวานอย่างสิ้นเชิง แต่ถ้ามองอย่างวิเคราะห์และเจาะลึก จะพบว่าจริงๆ แล้วผู้บริโภคไม่ได้เปลี่ยนไปแต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือบริบทสภาพแวดล้อม ซึ่งกำหนดพฤติกรรมของผู้บริโภค . . ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะค้นหาข้อมูลผ่านทางสมาร์ทโฟนมากกว่าคอมพิวเตอร์ และผู้บริโภคในยุคนี้มีความอดทนต่อสิ่งต่างๆ น้อยลง ถ้าต้องการอะไรก็คาดหวังว่าผู้ประกอบการจะตอบสนองทันที เมื่อแนวโน้มทั้งสองอย่างประกอบเข้าด้วยกัน Google จึงได้สังเคราะห์และเกิดเป็นแนวคิดที่ชื่อ Micro Moment ซึ่งเกิดขึ้นมาพร้อมกับ Consumer Journey ที่เปลี่ยนไปพร้อมกับเทคโนโลยีที่ถูกสร้างมาให้ติดตัว . . Google ได้ให้คำนิยามพฤติกรรมทั้ง 4 รูปแบบ แบ่งเป็น “รู้” I want to know moments คือ ต้องการหาข้อมูลเพื่อจะซื้อสินค้าหรือบริการแต่ยังไม่ได้ตัดสินใจซื้อ “ไป” I want to go moments คือ การหาร้านค้าคู่แข่งที่อยู่ในบริเวณนั้นเพื่อเปรียบเทียบราคา “ทำ” I want to do moments จะเกิดขึ้นเมื่อลูกค้ารู้สึกถึงปัญหาแต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ลุล่วง จึงต้องการความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นคู่มือ How to หรือบริการจากมืออาชีพ และ “ซื้อ” I want to buy moments คือ ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดเพราะลูกค้าพร้อมจะซื้อสินค้าแล้ว เพียงแต่ว่าอาจต้องการข้อมูลประกอบการตัดสินใจขั้นสุดท้ายก่อนที่จะไปชำระเงิน . . 4 สถานการณ์นี้ผู้ประกอบการไม่มีทางทราบได้เลยว่ามันจะเกิดขึ้นตอนไหนและเมื่อไหร่? ซึ่ง Google ได้แนะนำมาตรการในการรับมือกับสมการดังนี้ คือ Be there อยู่ในที่ที่ลูกค้าต้องการอยู่ จะได้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างทันท่วงที Be useful ข้อมูลต้องมีประโยชน์ สร้างแรงบันดาลใจและไม่บีบบังคับจนเกินไป Be accountable การที่มีความน่าเชื่อถือ ไม่ทอดทิ้งลูกค้าหลังจากที่ลูกค้าได้จ่ายเงินไปแล้ว . . ธุรกิจที่มีความเข้าใจและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันท่วงทีในเวลาที่อารมณ์ของลูกค้าอยู่ในช่วงเวลาที่ต้องการตอบสนองที่สุด สินค้าหรือบริการนั้นก็จะมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่งอย่างแน่นอน . . #itsyouYOU . . หมายเหตุ 1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU 2. ข้อมูล EP.21 ต่อยอดจากการบรรยายของคุณณัฐภัทร อิทธิวรานุรักษ์ (คุณไกด์) นักเรียน DNA รุ่นที่ 3 ที่จะมาเชิญชวนให้เราตระหนักถึงประโยชน์จากการทำธุรกิจโดยอาศัยข้อมูล ในหัวข้อ "Kick start for Winning Digital Game" ในคลาส #DNAbySPU3.1 สำหรับชาว DNA โดยเฉพาะ . . #Speaker #DNA3bySPU 14 July 2018 . . จัดทำโดยหลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU www.DNAbySPU.com ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำและเป็น DNA ของตัวเอง
0 Comments
Leave a Reply. |
DNAbySPUหลักสูตรพัฒนาพันธุกรรม Archives
June 2019
Categories |