#DNAjournal EP.10 #DNAbySPU [World changing We improving :: เมื่อโลกเปลี่ยน...เราต้องปรับ]9/18/2017 #DNAjournal EP.10 #DNAbySPU
[World changing We improving :: เมื่อโลกเปลี่ยน...เราต้องปรับ] คุณศุภกานต์ วงศ์แก้ว ภัณฑารักษ์ ปกติศิลป์ ผู้ปั้น 'ราชบุรี' . . ในโลกยุคดิจิตอล เราสามารถค้นหาคำตอบให้กับปัญหาหลายต่อหลายอย่าง ได้อย่างง่ายดายเพียงแค่ปลายนิ้ว แต่กลับเป็นเรื่องยากในการทำความเข้าใจลูกค้าของเรา และยิ่งซับซ้อนขึ้นไปอีกในการทำการสื่อสารการตลาด (Marketing communication) . . ในอดีตลูกค้าของเรา จะต้องรับข้อมูลข่าวสารต่างๆผ่านทาง “สื่อหลัก” เท่านั้นซึ่งมีอยู่ไม่กี่อย่าง เราจึงเริ่มมีแนวคิดในการ “พูดแทรก” ขึ้น เราแทรกตัวลงไปกับข้อมูลข่าวสารความเป็นไปของโลกและสังคมที่ลูกค้ารอที่จะรับรู้ . . เราจึงใช้ความคิดสร้างสรรค์และเทคนิคต่างๆพัฒนาภาพยนตร์โฆษณาที่จูงใจแต่แฝงด้วยความตลก ประทับใจ เศร้า หรือสนุกสนาน เราใช้คนมีชื่อเสียงโพสท์ท่าหล่อๆสวยๆในหนังสือพิมพ์ ใช้เสียงโฆษกสุดแสนไพเราะบนวิทยุ เราพยายามเล่นกับอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์และหวังว่าลูกค้าจะจำเราได้ . . แต่วันนี้ไม่ใช่อย่างนั้น อดีตอันหอมหวานได้ผ่านไปแล้ว เทคโนโลยีและสมาร์ทโฟนได้ทำให้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบเก่าไปสู่จุดจบ . . ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีนั้น ทำให้ลูกค้าของเรามีพลังและตัวใหญ่ขึ้น วันนี้ลูกค้าของเรามีความเป็นตัวของตัวเอง มีความคิดสร้างสรรค์ และที่สำคัญชอบจะ “พูด” มากกว่า “ฟัง” . . เมื่อไหร่ที่เรา “พูดแทรก” ลงไปในข่าวสารที่ลูกค้าต้องการรับรู้ จนลูกค้าของเราเกิดความรำคาญและรู้สึกไม่พอใจ ลูกค้าของเราจะลงโทษเรา ไม่ใช้ด้วยไม้เรียวแต่โดยการบล็อกและมองข้าม ซึ่งร้ายแรงกว่าการไม่สนใจเสียอีก . . และบางครั้งถ้าเราพูดแทรกบ่อยๆจน “ล้ำเส้น” ลูกค้าจะใช้สมาร์ทโฟนโทรชวนเพื่อนของลูกค้ามาลงโทษเราอีกด้วย ดังนั้นเราทำตัวเหมือนในอดีตไม่ได้ แบบนั้นมันหมดสมัยไปเสียแล้ว . . อย่างไรก็ตามการสื่อสารการตลาดนั้นก็เป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะในการแข่งขันกับคู่แข่งทางธุรกิจของเรา ดังนั้นเราต้องทำอย่างไรไม่ให้ลูกค้าปฎิเสธเรา ? . . หลักสูตร #DNAbySPU ได้รับเกียรติจาก คุณศุภกานต์ วงศ์แก้ว ภัณฑารักษ์ ปกติศิลป์ ผู้ปั้น 'ราชบุรี' ให้มีชีวิตผ่านพื้นที่ศิลปะชุมชนโดยใช้เมืองทั้งเมืองให้เป็นเหมือนผืนผ้าใบ มาแนะนำวิธีในการทำการสื่อสารการตลาดที่ทันสมัย สนุกสนานแต่ทรงพลัง . . User-Generated Content หรือ “เปิดพื้นที่ให้ลูกค้าร่วมกันสร้างเนื้อหา” เป็นเสมือนการสร้างสะพานเชื่อมระหว่างลูกค้าเราและธุรกิจของเราเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้เรื่องราวของเขาเดินทางไปพร้อมกับเรื่องราวของเรา . . ด้วยแนวคิดที่ว่า “ไม่มีใครถ่ายทอดความงดงามของพื้นที่ราชบุรี ได้ดีไปกว่าคนในพื้นที่ราชบุรีเอง” จึงได้ให้ศิลปินมืออาชีพทำหน้าที่เหมือนที่ปรึกษา และผลักดันศักยภาพให้คนในพื้นที่สร้างงานศิลปะขึ้นมา เพื่อถ่ายทอดเรื่องราว ความรู้สึกต่างๆ ให้คนภายนอกได้รับรู้ โดยไม่ต้องทองทิ้งตัวตน . . ซึ่งวิธีคิดแบบ “เปิดพื้นที่ให้ลูกค้าร่วมกันสร้างเนื้อหา” นี้มีความคล้ายคลึงกับพฤติกรรมของมนุษย์ในเนื้อหาของ “เศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม” (Behavioral Economics) ซึ่งสรุปว่ามนุษย์นั้นไม่ได้ใช้เหตุและผลในการตัดสินใจ แต่ใช้อารมณ์และพื้นฐานทางจิตวิทยาเป็นตัวกระตุ้นในการตัดสินใจต่างหาก . . จริงๆแล้วเรานั้นให้ความสำคัญกับการ”ไปถึงจุดหมาย” มากกว่า “ตัวจุดหมาย” เอง เรามีความสุขกับการต่อสู้ ในสิ่งที่ท้าทาย อุปสรรค และข้อจำกัดต่างๆ และถ้าเราได้จุดหมายมาครอบครองอย่างยากลำบากและตะเกียกตะกายเรากลับมีความสุขและสนุกมากกว่าการเดินไปง่ายๆเพื่อคว้าจุดหมายมาไว้ในครอบครอง” . . และวิธีคิดนี้ไม่ได้เหมาะสมกับการทำสื่อสารการตลาดเพียงอย่างเดียว จริงๆแล้วมีผู้ประกอบการมากมาย ได้นำวิธีคิดนี้ ไปใช้กับการผลิตสินค้าอีกด้วย . . ผู้ผลิตจะเตรียมสินค้าที่ “ทำเสร็จแค่ครึ่งเดียว” ไว้แล้ว ส่งมอบที่เหลือให้ “ผู้ซื้อ” นั้นทำต่อ เช่น แป้งเค้ก Imperial ที่ต้องใส่ไข่ไก่และวัตถุดิบผสมลงไปถึงจะสมบูรณ์แบบ ตุ้กตาโมเดลของเล่นหรือที่รู้จักกันในนาม “พลาโม” ของบริษัท Bandai ชุดเฟอร์นิเจอร์ที่แยกมาเป็นชิ้นๆเพื่อให้สามารถมาประกอบที่บ้านเองภายใต้ยี่ห้อ IKEA หรือแม้แต่ Lego ของเล่นที่เสริมพัฒนาการการเติบโตของกล้ามเนื้อมัดเล็กและจินตนาการในสมองของเด็กอายุ1ขวบครึ่งขึ้นไป . . ซึ่งวิธีคิดนี้เรามักรู้จักกันในนาม DIY หรือ Do It Yourself เป็นการสร้างให้เรา “มีความสุข”ระหว่างทำ ถึงแม้ว่าปลายทางรูปร่างจะดูไม่ได้เลยก็ตาม . . บางคนมองว่า User-Generated Content เป้นเหมือนการปฏิเสธและปิดประตู แต่อยากเชิญชวนให้ผู้ประกอบการอย่างเราๆมองว่าเป็นการเชิญชวนมากกว่า เชิญชวนสู่ภาษาของเรา วัฒนธรรมของเรา และธุรกิจของเรา . . ดั่งคำพูดของเบนจามิน แฟรงคลิน ผู้มีผลงานโดดเด่นในด้านวิทยาศาสตร์และการเมือง จนได้ปรากฏในธนบัตรของสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวไว้ว่า Tell me and I forget. Teach me and I remember. Involve me and I learn. “บอกฉัน ฉันจะลืม สอนฉัน ฉันจะจำ แต่ถ้าให้ฉันได้ทำ ฉันจะเรียนรู้” . . อ้างอิง : https://www.behavioraleconomics.com/introduction-to-be/. . . #itsyouYOU . . 🔹🔹 #DNAbySPU2 “COME JOIN THE RIDE” 🔹🔹 www.DNAbySPU.com Speaker #DNAbySPU2 https://goo.gl/XGaKHx . หมายเหตุ : 1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU 2. ข้อมูล EP.10 ต่อยอดจากการบรรยาย ของคุณศุภกานต์ วงศ์แก้ว ภัณฑารักษ์ปกติศิลป์ ผู้ปั้น 'ราชบุรี' ให้มีชีวิตผ่านพื้นที่ศิลปะชุมชนโดยใช้เมืองทั้งเมืองให้เป็นเหมือนผืนผ้าใบ #Speaker#DNAbySPU 22 April 2017 . . จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU www.DNAbySPU.com ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
1 Comment
|
DNAbySPUหลักสูตรพัฒนาพันธุกรรม Archives
June 2019
Categories |