#DNAjournal EP.19 #DNAbySPU
[Simplify complexity :: เปลี่ยนสิ่งยุ่งยาก… ให้เข้าใจง่าย] ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ Co-founder and Tax Specialist, iTAX Thailand . . “In this world, nothing is certain but death and taxes.” โลกนี้ไม่มีอะไรที่แน่นอนเท่าความตายและการจ่ายภาษี. Benjamin Franklin หนึ่งในบิดาผู้สร้างชาติของสหรัฐอเมริกา . . ด้วยหน้าที่ของประชาชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ เรามีหน้าที่เสียภาษีให้รัฐ เราจึงต้องเรียนรู้และเข้าใจในภาษีอย่างถูกต้อง รวมถึงมีการวางแผนทางภาษีอย่างรัดกุม เพื่อรักษาความมั่งคั่งของเราและเพื่อให้ได้รูปแบบแนวทางที่ประหยัดภาษีสูงสุด . . “ภาษี” นั้นสร้างสิ่งดีๆหลายต่อหลายอย่าง ทั้งต่อตัวเราเองจนถึงระดับประเทศชาติ และรวมไปถึงธุรกิจของเราด้วย ภาษีช่วยปกป้องความมั่งคั่งให้กับเรา เราสามารถสร้างคุณประโยชน์ให้ประเทศชาติได้ด้วยเงินภาษี และการวางแผนภาษีที่ถูกต้องก็จะช่วยลดต้นทุนทางธุรกิจของเราทำให้เราสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ . . แต่ในความเป็นจริงก็ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถเข้าใจเรื่องภาษี ตัวภาษีเองนั้นเปรียบเสมือน “ภาษาเฉพาะวงการ” เป็นเหมือนรหัสบางอย่างที่เราไม่สามารถเข้าใจได้ ยิ่งมีกฎข้อบังคับต่างๆเพิ่มขึ้นมา รหัสนั้นก็จะดูยุ่งยากซับซ้อนยิ่งขึ้น ดังนั้นเราจะผ่านกำแพงนี้ไปได้อย่างไร ? . . หลักสูตร #DNAbySPU ได้รับเกียรติจาก ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ Co-founder and Tax Specialist, iTAX Thailand แอพคำนวนภาษีและการวางแผนประหยัดภาษี ที่มาให้ความรู้ในหัวข้อ “ภาษีธุรกิจ จำเป็นต้องรู้” พร้อมทั้งแนะนำเคล็ด(ไม่)ลับต่างๆเกี่ยวกับภาษีที่ผู้ประกอบการควรรู้ (แต่มักไม่รู้) ให้กับชาว #DNAbySPU1 . . ในการแก้ปัญหานี้เราต้องใช้ “ความเรียบง่าย” (Simplicity) เข้าเผชิญ ความเรียบง่ายที่จะนำไปสู่ความชัดเจน ความโปร่งใส และพาเราเข้าไปอยู่ในวงของการสื่อสาร . . ถ้าเราจัดเรียงเนื้อความเสียใหม่และเขียนออกมาด้วยภาษาพื้นฐาน เราจะพบว่าเราสามารถทำให้รหัสที่ซับซ้อนและยุ่งยาก เปลี่ยนมาเป็นสิ่งที่เข้าใจง่ายและขัดเจน ด้วยการทำความเข้าใจแค่ 4 สิ่งที่เป็นโครงสร้างหลักของภาษี ไม่ว่าจะภาษีแบบใดก็อยู่ภายใต้ “4โครงสร้าง” นี้ทั้งนั้น . . โครงสร้างแรก “ใครเป็นผู้เสียภาษี?” เป็นการชี้ชัดว่าใครมีหน้าที่ที่จะต้องจ่ายภาษีและต้องจัดการเรื่องภาษีให้ถูกต้อง . . โครงสร้างที่สอง “เสียจากฐานภาษีอะไร?” สิ่งนี้คือเหตุผลในการเสียภาษี ข้อนี้ไม่ควรมองข้ามเพราะจะทำให้เราจะตอบได้ว่าเราเข้าข่ายต้องเสียภาษีชนิดนี้หรือไม่ ยกตัวอย่างภาษีเงินได้ ที่เราต้องเสียภาษีเพราะเรามีรายได้ . . โครงสร้างต่อมาคือ “เสียในอัตราเท่าไหร่?” โดยต้องดูถึงวิธีคำนวณภาษี อัตราภาษี และมีการลดหย่อนหรือไม่? เพื่อจะได้คำนวณออกมาว่าเราต้องเสียภาษีใน “จำนวนเท่าไหร่?” . . โครงสร้างสุดท้ายคือ “เสียภาษีอย่างไร” ต้องชำระภาษีที่ไหน? ธนาคารอะไร?หรือว่ายื่นแบบผ่านออนไลน์? . . 4 โครงสร้างนี้จะทำให้เราเข้าใจระบบภาษีทั้งหมด และทำให้เราสามารถตรวจสอบได้ว่าเรามีหน้าที่เสียภาษีประเภทนี้หรือไม่ ? . . สำหรับผู้ประกอบการนั้น “ความเรียบง่าย” (Simplicity) เป็นแนวคิดที่สามารถนำมาใช้ได้จริง มีประสิทธิภาพสูง ช่วยชี้ทางสว่างให้ผู้คน และสามารถบอกความหมายที่แท้จริงโดยไร้ซึ่งนัยยะ โดยการลดทอนสิ่งที่ฟุ่มเฟือยออกไป ตัดให้เหลือเฉพาะองค์ประกอบหลักเท่านั้น . . แน่นอนว่าเราคงต้องยุ่งยากกับขั้นตอนนี้อีกสักหน่อย แต่เป็นสิ่งจำเป็น เพราะเมื่อเราพบเจอกับข้อเสนอที่ยุ่งเหยิงและปราศจากความเรียบง่าย เราจะคิดโดยสัญชาติญาณว่า เราไม่ควรทำ ธุรกรรมที่ไม่ปกตินี้ เราอาจเจอเงื่อนไขที่ล่องหนและถูกเอาเปรียบได้ ดังนั้นเราควรใส่ใจกับขั้นตอนนี้อย่างมากๆ แล้วเราจะได้ก้าวไปอีกขั้น . . Thomas Jefferson ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนที่ 3 และผู้ประพันธ์ “คำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา” ได้กล่าวไว้ว่า When the subject is strong, simplicity is the only way to treat it.- เมื่อเนื้อหามีความแข็งแรง ความเรียบง่ายคือหนทางเดียวที่จะรักษาสิ่งนั้นไว้ . . #itsyouYOU . . 🔹🔹 #DNAbySPU2 “COME JOIN THE RIDE” 🔹🔹 www.DNAbySPU.com Speaker #DNAbySPU2 https://goo.gl/XGaKHx . หมายเหตุ 1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU 2. ข้อมูล EP.19 ต่อยอดจากการบรรยายของดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ Co-founder and Tax Specialist, iTAX Thailand แอพคำนวนภาษีและการวางแผนประหยัดภาษี ที่มาให้ความรู้ในหัวข้อ “ภาษีธุรกิจ จำเป็นต้องรู้” พร้อมทั้งแนะนำเคล็ด(ไม่)ลับต่างๆเกี่ยวกับภาษีที่ผู้ประกอบการควรรู้ (แต่มักไม่รู้) ให้กับชาว #DNAbySPU1 #Speaker #DNAbySPU 18 March 2017 . . จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU www.DNAbySPU.com ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
0 Comments
Leave a Reply. |
DNAbySPUหลักสูตรพัฒนาพันธุกรรม Archives
June 2019
Categories |