#DNAjournal EP.21 #DNAbySPU
Facebook Founder Mark Zuckerberg Commencement Address | Harvard Commencement 2017 [The purpose of life is a life of purpose. :: เป้าหมายของชีวิตคือการใช้ชีวิตอย่างมีเป้าหมาย] สรุปคำพูดที่ Mark Zuckerberg กล่าวในพิธีจบการศึกษาที่ Harvard 2017 . . Mark Zuckerberg เริ่มเรียนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ Computer Science ในปีค.ศ. 2002 ในช่วงนั้นเขาได้ก่อตั้ง Facebook ในหอพักเพื่อทำการเชื่อมโยงเพื่อนๆเข้าไว้ด้วยกัน . . ในปีค.ศ. 2004 เขาอยู่ปี 2 แต่เขากลับตัดสินใจลาออกเพื่อย้ายไป Silicon Valley เพื่อตั้งบริษัท หาทีม และหาทุนที่จะทำเป้าหมายของเขาให้เป็นจริง . . ในวันที่ 25 พ.ค. 2017 หรือ 13 ปีหลังจากที่เขาลาออก เขาจะได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ (Honorary Degree) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และจะเป็นผู้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในงานฉลองวันจบการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้บัณฑิตใหม่ทุกคนที่จบการศึกษาในปีนี้ฟังด้วย . . สิ่งที่เขากำลังบอกเราผ่านสุนทรพจน์นี้ คือการเชิญชวนพวกเราให้เปลี่ยนแปลงโลก และหัวใจสำคัญที่ถูกเน้นย้ำในสุนทรพจน์คือ “เป้าหมาย” (Purpose) ถ้าเราเข้าไปดูในเนื้อหาสุนทรพจน์ของเขาที่มีความยาวทั้งสิ้น 30 นาที เราจะพบว่า เขาได้ใช้คำว่า“เป้าหมาย” ไปทั้งหมดประมาณ 27 ครั้ง . . Mark เชื่อว่าการหาเป้าหมายชีวิตตามสัญชาตญาณ หรือการตามหาความสำเร็จของชีวิตตัวเราเองยังไม่เพียงพอ เรามีสิ่งที่ท้าทายยิ่งกว่า นั้นคือ ค้นหาความหมายของเราและผู้อื่นไปพร้อมๆกัน หรือการสร้างให้ทุกคนมี “การรับรู้ถึงเป้าหมาย” (Sense of Purpose) . . ประธานาธิบดี John F Kennedy ได้เดินทางไปเยี่ยม NASA Space Center เขาเห็นภารโรงกำลังเดินถือไม้กวาดอยู่ เขาจึงเดินไปทักทายพร้อมถามว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่ ภารโรงตอบกลับว่า “ท่านประธานาธิบดีครับ ผมกำลังช่วยพามนุษย์ขึ้นไปสู่ดวงจันทร์” . . พวกเรากำลังอยู่ในยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านจากแรงคนไปสู่เครื่องจักรหรือออโตเมชั่น ผู้คนมากมายกังวลกับสิ่งที่จะมาถึง เพราะถ้าเครื่องจักรมาแทนที่คนโดยสมบูรณ์ แล้วคนจะอยู่ได้อย่างไรถ้าขาดเป้าหมายในชีวิต ดังนั้นสิ่งที่ท้าทายในยุคนี้คือทำอย่างไรให้พวกเขามี “การรับรู้ถึงเป้าหมาย” . . “การรับรู้ถึงเป้าหมาย” มีความสำคัญมากในการทำงานเป็นทีมและบริหารทรัพยากรบุคคล เพราะถ้าพนักงานหรือหุ้นส่วนไม่มีการรับรู้ถึงเป้าหมาย และขาดการรับรู้ว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งในสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเขา วันหนึ่งพวกเขาจะขาดความสามัคคี ไม่มีความสุข จึงไม่อยากมุ่งไปข้างหน้า และพร้อมจะเดินจากไปในช่วงเวลาที่มีรอยร้าวและปราศจากความเข้าใจกัน . . มีอยู่ 3 วิธีที่เราสามารถสร้างให้คนรอบตัวเรารับรู้ถึงเป้าหมายได้ 1.การทำโปรเจ็คที่มีความหมายยิ่งใหญ่ร่วมกัน 2. ให้ทุกคนมีอิสระในการไล่ล่าเป้าหมายอย่างเท่าเทียม 3. การสร้างชุมชนที่ไร้รอยต่อ . . ในอดีตมนุษย์ได้ร่วมมือกันทำ “โปรเจ็คที่มีความหมายยิ่งใหญ่ร่วมกัน”มาโดยตลอด ไม่ว่าการจะพามนุษย์ไปสู่ดวงจันทร์เป็นครั้งแรกของมนุษยชาติ การกำจัดโรคโปลิโอให้หายสาบสูญไปจากโลกใบนี้ การสร้างเขื่อนฮูเวอร์ซึงเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบัน . . โปรเจ็คเหล่านั้น ไม่ได้แค่ให้เป้าหมายกับคนที่ทำงานเท่านั้น แต่มันยังให้เราทั้งประเทศได้สัมผัสถึงความภาคภูมิใจ ว่าเราสามารถทำเรื่องที่ยิ่งใหญ่มากๆ ได้ . . วันนี้ถึงเวลาแล้วที่เราจะลุกมาทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่อีกครั้ง แต่ถ้าเราไม่รู้ว่าจะทำสิ่งยิ่งใหญ่นั้นได้อย่างไร ? คำตอบนั้นจะปรากฏขึ้นเมื่อเริ่มออกเดิน และจะค่อยๆชัดเจนขึ้นเรื่อยๆในระหว่างทาง . . อย่างไรก็ตามจงเตรียมพร้อมรับพายุแห่งความเข้าใจผิดบนเส้นทางที่ยิ่งใหญ่ จงเตรียมร่มเอาไว้เสมอ และดูแลอย่าให้ตัวเราเปียกปอนและไม่สบายจนไม่ได้เดินต่อไป เพราะเป็นไปไม่ได้ที่เราจะเดินอยู่ในฤดูที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง . . ในโลกใบนี้ยังมีเรื่องราวต่างๆอีกมากที่รอการแก้ไขผ่านโปรเจ็คที่ยิ่งใหญ่ เช่น การลดการใช้พลังงานที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน การระงับและกำจัดโรคภัยต่างๆ การให้ทุกคนเข้าถึงระบบการศึกษาแบบไร้พรมแดน . . ด้วยวิทยาการที่ทันสมัยทำให้เราสร้างสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายดายกว่าเดิมมาก เราต้องให้โอกาสคนทุกคนในสังคมได้ร่วมมีบทบาทในการทำเรื่องที่ยิ่งใหญ่ เพื่อให้คนทุกคนรับรู้ถึงเป้าหมายที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน . . วิธีที่สอง คือ “ให้ทุกคนมีอิสระในการไล่ล่าเป้าหมายอย่างเท่าเทียม” คือ การทำให้ทุกคนมีอิสระที่จะล้มเหลว ถ้าเราไม่มีอิสระเพียงพอ เราจะไม่กล้าเริ่มต้นอะไรใหม่ เพราะเรากลัวความผิดพลาดและการลงโทษที่จะตามมาจากความผิดพลาดของเรา ทำให้เราต้องเก็บเป้าหมายเงียบๆไว้ในลิ้นชักที่หัวใจของเรา . . เราทุกคนล้วนจะต้องผิดพลาดก่อนประสบความสำเร็จ ดังนั้นเราต้องการสังคมที่โฟกัสการลงโทษตีตราคนพลาดให้น้อยลง . . ในอดีตคนรุ่นก่อนได้สร้าง “ความเท่าเทียม” คือ หลักหนึ่งคนหนึ่งเสียง (One Man One Vote) ไว้ในระบบการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย เขาได้สร้างข้อตกลงใหม่ๆ และสังคมที่ยิ่งใหญ่ ตอนนี้ถึงเวลาของคนรุ่นเราแล้วที่จะนิยามสัญญาทางสังคมอันใหม่สำหรับคนรุ่นเรา . . Mark Zuckerberg และภรรยา Priscilla Chan ได้ส่งเสริมความเท่าเทียมอย่างเป็นรูปธรรม โดยจัดตั้งหน่วยงานการกุศล Chan Zuckerberg Initiative เตรียมลงทุน 3 พันล้านดอลลาร์ เพื่อเป็นทุนส่งเสริมให้นักวิทยาศาสตร์สามารถควบคุมและป้องกัน 4 โรคร้ายที่เป็นสาเหตุการตายของมนุษย์ส่วนใหญ่ ให้เด็กๆ มีโอกาสมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น และนอกจากงานด้านการป้องกันโรคภัยแล้ว Chan Zuckerberg Initiative ยังร่วมลงทุนใน Andela โครงการปั้นวิศวกรและโปรแกรมเมอร์ชาวแอฟริกันด้วย . . อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมความเท่าเทียมนั้นไม่ได้จำกัดแต่ในรูปแบบของเงินเท่านั้น แค่เราสละเวลา 1-2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ก็เพียงพอแล้วที่เราจะยื่นมือช่วยให้คนอื่นเข้าถึงศักยภาพของพวกเขา เพราะเมื่อทุกคนสามารถทำความฝันให้กลายเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่จริงๆ ได้ มันก็ดีขึ้นกับเราทุกๆ คน . . วิธีที่สาม คือ “การสร้างชุมชนที่ไร้รอยต่อ” ชุมชนที่ปราศจากการแบ่งแยกทางเชื้อชาติ ศาสนาหรือสีผิว ชุมชนที่พลเมืองของโลกทุกคนอยู่ร่วมกันได้โดยไร้ซึ่งข้อขัดแย้ง หรือ “ไม่มีพวกเขา มีแต่พวกเรา” . . มนุษยชาติก้าวหน้าได้เพราะ ผู้คนที่จับกลุ่มกันในจำนวนที่มากขึ้น จากชนเผ่าสู่เมือง และเมืองสู่ประเทศ เพื่อจะทำสิ่งที่พวกเราไม่สามารถทำได้โดยลำพัง . . ไม่มีประเทศไหนสามารถต่อสู้กับเรื่องภาวะโลกร้อนหรือป้องกันโรคระบาดได้เพียงลำพัง การก้าวไปข้างหน้าต้องการการลงมือร่วมกัน ไม่ใช่แค่ในระดับเมืองหรือประเทศ แต่เป็นทั้งหมดในระดับโลก (Global Community) . . เมื่อทุกคนอยู่ร่วมกัน เราก็จะสามารถสร้างสิ่งต่าง ๆ ร่วมกันได้ ช่วยเหลือกันได้โดยไม่ต้องแบ่งว่าประเทศไหนจะเริ่มก่อน ใครจะเป็นคนทำเพราะทุกคนทำร่วมกันทั้งหมด และเราสามารถเริ่มสร้างชุมชมเล็ก ๆ กันได้ทันทีเพราะหลายๆคนก็ได้เริ่มทำกันแล้ว. . . Agnes Igoye ใช้เวลาในวัยเด็กอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งในเขตอูกันดาแล้วตอนนี้เธอได้ใช้ประสบการณ์อบรมผู้รักษากฏหมายกว่าพันคนเพื่อช่วยให้ชุมชนปลอดภัย . . Kayla Oakey และ Niha Jain เริ่มสร้างองค์กรที่ไม่แสวงกำไรที่ช่วยเชื่อมคนที่กำลังทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดกับกลุ่มคนในชุมชนที่พร้อมจะให้การช่วยเหลือ . . David Razu Aznar อดีตเทศมนตรีเมืองที่เคยช่วยต่อสู้ จนทำให้เมืองเม็กซิโกซิตี้เป็นเมืองแรกในเขตละตินอเมริกาที่ผ่านกฏหมายการแต่งงานของเพศเดียวกันได้ก่อนซานฟรานซิสโกด้วยซ้ำ . . และแม้แต่ Facebook เอง ที่เริ่มจากนักศึกษาในหอพัก ที่ช่วยเชื่อมต่อชุมชนทีละหนึ่งชุมชน และยังคงมุ่งมั่นทำมันจนสามารถเชื่อมต่อทั้งโลกไว้ด้วยกัน . . โดยสรุปแล้วเราจะทำโอกาสที่ยิ่งใหญ่ให้สำเร็จได้หรือไม่ ? ทั้งหมดขึ้นอยู่กับ “ความสามารถในการสร้างให้ทุกคนมีการรับรู้ถึงเป้าหมาย” . . และในวินาทีต่อจากนี้ที่เรากำลังจะเดินออกไปสู่โลกที่ต้องการการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นมันขึ้นอยู่กับเราแล้วล่ะที่จะสร้างมันขึ้นมาได้สำเร็จหรือไม่ ? และก่อนจากกันขอทิ้งท้ายด้วยถ้อยคำจากบทสวดของ Mi Shebeirach . . “ขอแหล่งพลังที่เคยได้เป็นพรกับคนที่มาก่อนเรา ช่วยเรา ให้เราพบความกล้า ที่จะทำให้ชีวิตของเราเป็นดั่งพร” (May the source of strength, who blessed the ones before us, help us find the courage to make our lives a blessing.) . . ขอให้เราได้พบความกล้าที่จะทำให้ชีวิตเราเปี่ยมไปด้วยพร . . ขอแสดงความยินดีด้วย บัณฑิตใหม่ทุกคนที่จบการศึกษาในปีนี้ และขอให้โชคดีกับหนทางข้างหน้า . . อ่านสุนทรพจน์แบบเต็มๆได้ที่ https://goo.gl/MydD4K . . ชมสุนทรพจน์แบบเต็มๆได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=BmYv8XGl-YU . . #itsyouYOU . . 🔹🔹 #DNAbySPU2 “COME JOIN THE RIDE” 🔹🔹 www.DNAbySPU.com Speaker #DNAbySPU2 https://goo.gl/XGaKHx . หมายเหตุ #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลจากสุนทรพจน์จาก Mark Zuckerberg ในงานฉลองจบการศึกษาของฮาร์วาร์ด . . จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU www.DNAbySPU.com ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
0 Comments
Leave a Reply. |
DNAbySPUหลักสูตรพัฒนาพันธุกรรม Archives
June 2019
Categories |