DNAbySPU #DNAjournal EP.4 @nakrobmoonmanas14
#DNAjournal EP.4 #DNAbySPU [CREATE BUSINESS AS CREATE AN ART FORM :: สร้างธุรกิจให้ประดุจดั่งสร้างงานศิลปะ] คุณนักรบ มูลมานัส กราฟฟิกดีไซเนอร์ งานคอลลาจ มือทองของไทย . Joseph Beuys (โจเซฟ บอยส์) ศิลปินชาวเยอรมันและอาจารย์ศิลปะด้านประติมากรรมที่ ดุสเซลดอร์ฟ อะคาเดมี ได้ส่งมอบคำประกาศอันทรงพลังให้กับนักเรียนศิลปะของเขาว่า “Everyone is an artist” (มนุษย์ทุกคนคือศิลปิน) . . ซึ่งสอดล้องกับที่ Pablo Ruiz Picasso (ปาโบล รุยซ์ ปีกัสโซ) จิตรกรเอกของโลกชาวสเปน ศิลปินที่มีพรสวรรค์ในการสร้างสรรค์มากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 กล่าวว่า “All children are artists. The problem is how to remain an artist once he grows up” (เด็กทุกคนเป็นศิลปิน ปัญหาคือเราจะรักษาศิลปินไว้ได้อย่างไรเมื่อเขาเป็นผู้ใหญ่) . . เป็นแนวคิดที่ชวนตั้งคำถามว่า “เรานั้นสามารถทำงานศิลปะได้จริงหรือ ?” ซึ่งในความเป็นจริงเราทุกคนไม่ได้เกิดมามีพรสวรรค์ทางด้านศิลปะ เราไม่มีทักษะฝีมือเชิงช่างชั้นสูง เราขาดแนวคิดการจัดวางที่ดูสมมาตรแต่ทรงพลังและเลือกใช้คู่สีที่ไม่เข้ากันอย่างแรง ส่วนเส้นกราฟิกที่เราวาดเพื่อฆ่าเวลาโดยเฉพาะระหว่างประชุมไม่ได้ใกล้เคียงกับคำว่า “ศิลปะ” เลยแม้แต่นิดเดียว . . แต่มีงานศิลปะอยู่ประเภทหนึ่ง ที่ทำให้เราทำงานศิลปะได้โดยไม่ต้องอาศัยทักษะทางศิลปะ หรือใช้อุปกรณ์ราคาแพงหูฉี่ แต่ให้ความรู้สึกสนุก เปี่ยมไปด้วยจินตนาการ ให้เราลงมือทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ ประดุจว่าเราย้อนเวลากลับไปสู่ช่วงเวลาที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่สุดนั่นคือตอนเป็นเด็ก . . เปล่า !! ไม่ใช่แนวแอ็บสแตร็กที่ดูแล้วไม่เข้าใจและต้องปีนบันไดเพื่อจะได้เห็นความงดงาม แต่เป็นทัศนศิลป์ที่ก้าวผ่านแรงต้านของกาลเวลาอย่างไร้รอยต่อ ที่สามารถเชื่อมโยงงานศิลปะยุคอดีตและปัจจุบันเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว และประเด็นที่สำคัญที่สุด คือทำให้เกิดความหมายใหม่ . . เรากำลังพูดถีงงานศิลปะประเภท #Collage (คอลลาจ) ซึ่งคือ “การใช้สิ่งรอบตัวที่แตกต่างกัน มาจัดเรียงอีกครั้ง เพื่อสร้างความหมายใหม่” . . หลักสูตร #DNAbySPU ได้เชิญคุณนักรบ มูลมานัส กราฟฟิกดีไซเนอร์ งานคอลลาจ มือทองของไทยมาแชร์ความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับศิลปะคอลลาจ การตัดปะภาพเพื่อให้เกิดภาพจำใหม่ด้วยความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการนำไปปรับใช้กับธุรกิจต่างๆ ของผู้เรียนอย่างยั่งยืน . . เราทุกคนล้วนมีความเป็นเป็นนักสะสมอยู่ในตัวเอง ลองมองย้อนกลับไปสมัยเราเป็นเด็กเราต้องเคยสะสมอะไรซักอย่าง อาจจะดูเหมือนไร้สาระ แต่ก็บ่งบอกถึงสัญชาตญาณในการเป็นนักสะสมของเรา ไม่ว่าจะป็นหนังสือการ์ตูน การ์ดพลัง ตุ้กตา ก้อนหินรูปทรงแปลกๆ หรือแม้แต่ฝาน้ำอัดลม . . เมื่อเราก้าวเดินไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ เราเริ่มสะสมในสิ่งที่เราชื่นชอบและมีความหมายกับเรา เช่น กีตาร์ รองเท้า นาฬิกา พระเครือง งานศิลปะ หรือรถยนต์ราคาแพง และเมื่อเราก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการ สิ่งที่เราเลือกสะสมคือสิ่งที่มีค่าที่สุด คือ “ความรู้” . . เราไม่ได้สะสมไปซะทุกสิ่งทุกอย่าง แต่เรา “เลือกจะสะสมในสิ่งที่เราเลือกแล้วเท่านั้น” เราสะสมในสิ่งที่เราชื่นชอบ สิ่งที่เต็มไปด้วยความงดงามที่น่าชื่นชม สิ่งที่เราสามารถนำไปปรับใช้ได้ และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดของเรา . . อิกอร์ สตราวินสกี้ (Igor Stravinsky) คีตกวีดนตรีคลาสสิกสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชาวรัสเซีย ต้องการที่จะแต่งเพลงเพื่อประกอบการแสดงบัลเล่ต์เรื่อง The Rite of Spring (พิธีบูชายัญในฤดูใบไม้ผลิ) . . แทนที่เขาจะเริ่มคิดใหม่และแต่งเพลงจากศูนย์ แต่เขากลับทำเพลงใหม่ด้วยในวิธีการที่ดูเหมือนจะไม่สง่างามนัก เขาเลือกบทเพลงอมตะที่เขาชื่นชอบตั้งแต่วัยเด็กมาหนึ่งเพลง และไปหยิบโครงสร้างของเพลงและเนื้อเพลงบางส่วนจากบทเพลงอมตะเพื่อมาใช้ในงานเพลงของเขา แต่เขาแต่งเสียงประสาน และจังหวะใหม่ราวกับเป็นเพลงของเขาเอง ว่าง่ายๆคือ ”ปรับแก้เพลงอมตะของคนอื่นให้เป็นเพลงใหม่ของเขา” . . นักวิจารณ์ ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงสื่อต่างๆ ดูจะไม่ชอบใจกับแนวคิดนี้และสิ่งที่เขาทำเท่าไหร่นัก ถึงขั้นกล่าวหาว่าเขา “ก็อป” มาอย่างหน้าไม่อาย โดยเฉพาะสื่อที่ตั้งฉายาให้กับเขาว่าเป็น “ขุนโจรของวงการเพลง” . . แต่เขาตอบกลับคนที่วิจารณ์ผลงานของเขาด้วยน้ำเสียงที่สงบนิ่งว่า “พวกท่านอาจจะเคารพในเพลงอมตะ แต่ผมมีความชื่นชมในเพลงอมตะนั้น” . . เมื่อบัลเล่ต์เรื่อง “พิธีบูชายัญในฤดูใบไม้ผลิ”ได้ออกแสดง การแสดงชุดนี้ได้รับเสียงชื่นชมจากผู้ชมชาวรัสเซียและผู้ชมทั่วโลก นอกจากการแสดงและการเขียนบทที่งดงามแล้ว สิ่งสำคัญที่ทำให้การแสดงชุดนี้ทรงพลังและเข้าไปอยู่ในใจของผู้ชมบัลเล่ต์ทั่วโลกคือเพลงของเขา เพลงที่เขาแต่งขึ้นใหม่ จากบทเพลงอมตะ . . “ไอเดียที่ไม่ซ้ำใครเลยนั้นไม่มีอยู่จริง ทุกอย่างล้วนได้รับแรงบันดาลใจจากไอเดียที่มีอยู่แล้ว” ข้อความจากหนังสือระดับ New York Times Bestseller ชื่อ Steal Like An Artist (ขโมยให้ได้อย่างศิลปิน) เขียนโดย Austin Kleon . . อาจารย์ศิลปะอย่าง โจเซฟ บอยส์ หรือแม้กระทั้งจิตรกรเอกของโลกอย่างปีกัสโซ เริ่มต้นฝึกวาดภาพจากการวาดเลียนแบบงานศิลปะของศิลปินท่านอื่น . . David bowie (เดวิด โบอี) นักร้องและนักแต่งเพลงชาวอังกฤษ ผู้ซึ่งเป็นทั้งนักแสดง และจิตรกร ได้รับการนับถือจากนักวิจารณ์เพลงและศิลปินอื่นๆว่า เป็นผู้เปลี่ยนแปลงดนตรีสู่ยุคใหม่ๆ เมื่อมีคนถามว่าทำไมเขาถึงสรางสรรค์ผลงานใหม่ๆได้เสมอ แต่เขาตอบอย่างติดตลกว่า “ผมแค่เป็นหัวขโมยที่มีรสนิยมดี” . . หัวใจสำคัญของการสร้างสรรค์ผลงานคือ การเก็บเล็กผสมน้อยจากความคิดของคนอื่น แล้วนำมาผสมผสานกับความคิดของเราเอง เพื่อสร้างผลงานที่เป็นเอกลักษณ์และภาพจำของเราขึ้นมาเพราะเราก็คือ “ส่วนผสมของสิ่งที่เราเลือกแล้ว” . . เราสามารถ “เลือก” ไอเดียจากครอบครัว เพื่อนที่ได้คุย ภาพยนตร์ที่ได้ดู เพลงที่ได้ฟัง บทความที่ได้อ่าน เมืองที่เราใช้ชีวิตอยู่ และจากสิ่งอื่นๆรอบตัว ให้เราค่อยๆสะสมไปเรื่อยๆ อย่างช้าๆและมีความหมาย แล้วจึงนำความฝันที่กระจัดกระจายเหล่านั้น มารวบรวมอย่างเป็นระเบียบและนำเสนออกมาเป็นตัวตนที่ชัดเจน . . วันนี้เราอาจจะได้รับข้อความที่ “โลกส่งถึงเรา” ที่ทำให้เราได้เห็นโลกใบใหม่ และเมื่อโลกใบใหม่หลายๆใบมารวมกัน จะกลายเป็นจักรวาลทางความคิดที่ไม่สิ้นสุดอยู่ในหัวของเรา และพรุ่งนี้โลกอาจจะได้รับข้อความที่ “เราส่งถึงโลก” . . อ้างอิง :: หนังสือ Steal Like An Artist ผู้เขียน Austin Kleon, http:// history.com . #itsyouYOU . . 🔹🔹 #DNAbySPU2 “COME JOIN THE RIDE” 🔹🔹 www.DNAbySPU.com Speaker #DNAbySPU2 https://goo.gl/XGaKHx . หมายเหตุ :: 1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU 2. ข้อมูล EP.4 ต่อยอดจากการบรรยาย ของคุณนักรบ มูลมานัส กราฟฟิกดีไซเนอร์ งานคอลลาจ มือทองของไทยมาแชร์ความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับศิลปะคอลลาจ การตัดปะภาพเพื่อให้เกิดภาพจำใหม่ด้วยความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการนำไปปรับใช้กับธุรกิจต่างๆ ของผู้เรียนอย่างยั่งยืน SurpriseSpeaker #DNAbySPU 18 March 2017 จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU www.DNAbySPU.com ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
0 Comments
Leave a Reply. |
DNAbySPUหลักสูตรพัฒนาพันธุกรรม Archives
June 2019
Categories |