#DNAjournal EP.7 #DNAbySPU
[Pursue the imperfect…ไล่ตามความไม่สมบูรณ์แบบ] คุณบอย สุวัฒน์ ปฐมภควันต์ ,Co-Founder #SKOOTAR . . กรอบความคิด (Mindset) อะไรที่จะทำให้เราก้าวสู่ความสำเร็จ ? . . แน่นอนว่าเมื่อถูกพูดโดยบุคคลที่ประสบความสำเร็จ คำพูดเหล่านี้จะดูมีน้ำหนักขึ้นทันที แต่มันเป็นแบบนั้นจริงๆ หรือเปล่า ?. . . ต้องเป็น “ความพยายาม” แน่ๆ เพราะความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น… แต่บ่อยครั้งที่เราจะพยายามจะอ่านหนังสือที่ซื้อมาจากงานสัปดาห์หนังสือให้จบเล่ม แต่พอผ่านไป 1 อาทิตย์ เราไม่เคยจะเปิดแม้แต่หน้าปกและลืมไปแล้วด้วยซ้ำว่าเคยซื้อมา . . หรือว่า “ความตั้งใจ” …มีหลายครั้งที่เราตั้งใจเต็มเปี่ยมที่จะลดไขมันส่วนเกิน ด้วยการตื่นเช้าสัปดาห์ละ 2 ครั้งเพื่อออกไปปั่นจักรยาน แต่พอผ่านไป 2 เดือน จักรยานเสือหมอบก็เปลี่ยนเป็นราวตากผ้าราคาแพง . . อาจจะเป็น “ความสม่ำเสมอ” ก็ได้นะ … แต่ทำไมเราป้อนข้อมูลผ่านทางแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์เกือบทุกชั่วโมง ในทุกวัน แต่ความเร็วในการพิมพ์ก็ยังเท่าเดิม หนำซ้ำเรายังต้องมองตัวอักษรอยู่เลย . . แน่นอนว่าอาจจะมีอีกมากมายหลายคำพูดคิดขึ้นมาเพื่อตอบคำถามข้างต้น ความรัก ความรับผิดชอบ ความทุ่มเท ความเอาใจใส่ ความคิดสร้างสรรค์ และอีกมากมาย . . ทำไมบางคนมีคำเหล่านั้นก้องอยู่ในหัวใจ กลับรู้สึกว่าเส้นชัยของความสำเร็จนั้นยังอยู่อีกยาวไกล . . แต่ในขณะที่บางคนไม่ได้มีคำเหล่านั้นแทรกตัวอยู่ในวิธีคิด แต่กลับมีภาพความสำเร็จหลายต่อหลายภาพ ? . . คุณบอย สุวัฒน์ ปฐมภควันต์ Co-Founder and Co-CEO SKOOTAR บริการเรียกแมสเซ็นเจอร์ออนไลน์ชื่อดังของไทย มาแชร์ความรู้และประสบการณ์ส่วนตัวบนเส้นทางของผู้ประกอบการ SME และ Startup ในหลักสูตร #DNAbySPU ตอบคำถามว่า “อะไรคือจุดเริ่มต้นให้เราก้าวสู่ความสำเร็จ ?” . . แต่มีกรอบความคิดหนึ่งระบุว่าคำพูดที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด ไม่ใช่จุดเริ่มต้น แต่เป็นแค่ “กระบวนการระหว่างทาง” เท่านั้น . . “กรอบความคิดแบบเติบโต” (Growth Mindset) เป็นแนวคิดที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการประสบความสำเร็จ ซึ่งอ้างอิงจากผลการวิจัยของศาตราจารย์ คารอล ดเว็ค (Carol S. Dweck) ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์และจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด . . แนวคิดนี้เชื่อว่า ความสามารถถูกสร้างได้ด้วยการเรียนรู้ ปัญหาและอุปสรรคเป็นโอกาสที่จะนำไปสู่การพัฒนาและเติบโต . . คนที่มี “กรอบความคิดแบบเติบโต” จะกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ ชอบที่จะเรียนรู้จากปัญหา สนุกเวลาที่เจอโจทย์ยากๆ มีความพยายามที่จะหาทางแก้ไขปัญหาอุปสรรค พัฒนาสิ่งใหม่ๆ ที่ท้าทาย มีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ มักมีคำถามในเรื่องการเรียน รวมถึงสิ่งต่างๆ รอบตัว . . โจซัว เวซกิ้น Joshua Waitzkin ชาวอเมริกัน ผู้ถูกขนานนามว่า “เด็กมหัศจรรย์” (The prodigy)จากการแชมป์หมากรุกระดับชาติ 8 สมัย ด้วยพรสวรรค์อันน่าทึ่งในด้านการเล่นหมากรุก ทำให้เรื่องราวชีวิตของเขาได้ถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ Searching for Bobby Fitcher . . หลังจากที่เขาประสบความสำเร็จในการทำงานศิลปะผ่านกระดานเดินหมากรุกแล้ว เขาได้ตัดสินใจที่จะพัฒนาตัวเองอีกขั้น คราวนี้เขาจะเริ่มต้นในสิ่งแตกต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง นั่นคือ “ไทเก็ก” (Tai Chi) ซึ่งเป็นกีฬาแบบปะทะ . . ในตอนแรกหลายคนมองว่าไทเก็ก น่าจะเป็นแค่งานอดิเรกของเขา เพราะการเล่นหมากรุกซึ่งเป็นการวางกลยุทธ์บนกระดานไม่เหมือนกับกีฬาที่ต้องใช้ทักษะในการต่อสู้และความยืดหยุ่นของร่างกายโดยสิ้นเชิง สองสิ่งนี้แตกต่างกันจนเกินไป ไม่มีทางไปด้วยกันได้ . . แต่เขากลับสร้างความตกตะลึงให้คนรอบข้าง แม้แต่ครอบครัวของเขาเอง ด้วยการก้าวเข้าสู่ตำแหน่งแชมป์โลกไทเก็ก ไม่ใช่แค่ครั้งเดียวเท่านั้น แต่เป็นถึง 2 สมัย . . หลังจากนั้นไม่นานเขาได้แต่งหนังสือเกี่ยวกับการเรียนรู้และเชิดชูในศักยภาพของมนุษย์ในชื่อ The Art of Learning: An Inner Journey to Optimal Performance . . ในหนังสือของเขา มีบทหนึ่งระบุว่า “สิ่งที่ดีที่สุดที่เคยเกิดขึ้นในชีวิตเขาคือ ความพ่ายแพ้ในระดับประเทศครั้งแรก ซึ่งทำให้เขาไม่ต้องเจอกับดักของความสำเร็จ และสิ่งที่ดีน้อยที่สุดในชีวิตเขาคือการถูกเรียกว่า “เด็กมหัศจรรย์” . . เขาให้คำนิยามของคำว่า “กับดักของความสำเร็จ” และคำว่า “เด็กมหัศจรรย์” ในแนวทางที่ใกล้เคียงกัน คือ การเชื่อว่าตนเองมีพรสวรรค์เหนือคนอื่น ทำให้เขาหยุดเรียนรู้ ไม่ต้องพัฒนาอะไรอีกแล้ว เพราะเขาได้ยืนอยู่บนจุดบนสุดแล้ว . . และจากการค้นคว้าเพิ่มเติม ทำให้เราได้ทราบว่า“กรอบความคิดแบบเติบโต” นั้นได้ถูกฝังอยู่ในวิธีคิดของบุคคลที่ประสบความสำเร็จหลายต่อหลายคน . . Walter Elias Disney ถูกไล่ออกจากบริษัทหนังสือพิมพ์ ด้วยเหตุผลว่า ไร้จินตนาการ และขาดความคิดเป็นของตัวเอง แต่ด้วย“กรอบความคิดแบบเติบโต” เขากลับมาสู้ใหม่และกลายเป็นผู้สร้างผลงานการ์ตูนที่แพร่หลาย และประสบความสำเร็จมากที่สุดของโลกคนหนึ่ง . . Michael Jeffrey Jordan เคยถูกคัดออกจากทีมบาสเกตบอลของโรงเรียน แต่ด้วย “กรอบความคิดแบบเติบโต” ทำให้เขากลายเป็นหนึ่งในนักกีฬาที่มีรายได้มากที่สุดในประวัติศาสตร์ และผู้ก่อตั้งศูนย์ เจมส์ อาร์.จอร์แดน บอยส์ แอนด์ เกิร์ลส์ คลับ แอน แฟมิลี่ ไลฟ์ เซ็นเตอร์ ซึ่งให้ความช่วยเหลือเด็กๆ จากทั่วประเทศทั้งด้านชีวิตความเป็นอยู่ การศึกษาและให้การอบรมทางด้านกีฬาแก่เยาวชนผู้สนใจด้วย . . คนประสบความสำเร็จย่อมต้องเคยล้มเหลวมาก่อน แต่สิ่งนั้นทำให้เขายอมรับในความผิดพลาดและเรียนรู้ว่า “เขายังไม่รู้อะไร” . . สำหรับผู้ประกอบการที่จะนำแนวคิดนี้เป็นประโยชน์และต้องการจะนำไปปรับใช้นั้น แทบจะไม่ต้องทำอะไรเลย ทำตัวให้เหมือนเดิมทุกอย่าง มีสิ่งที่ต้องทำอย่างเดียวเท่านั้น . . คือ การเปลี่ยนองศาของการมองของ “ปัญหา” เสียใหม่ แค่หนึ่งองศาเท่านั้น ไม่ได้ยากอะไรเลย . . แต่คราวนี้ให้จ้องมองปัญหาอย่างเข้าใจและพิจารณาอย่างสงบนิ่ง และหาวิธีแก้ปัญหาอย่างได้ผล เราจะได้ความหมายใหม่ คือ “โอกาส” . . เพราะการเดินทางจากดาวอังคารกับดาวพฤหัสแตกต่างกันแค่องศาเดียว . . อ้างอิง : – หนังสือ The Art of Learning: An Inner Journey to Optimal Performance ผู้เขียน Joshua Waitzkin – http://leader.innoobec.com/wp-content/uploads/2016/02/Mindset-Book-Final_11JUN2015.compressed.pdf – https://whitehatcrew.com/blog/a-mere-one-degree-difference . . #itsyouYOU . . 🔹🔹 #DNAbySPU2 “COME JOIN THE RIDE” 🔹🔹 www.DNAbySPU.com Speaker #DNAbySPU2 https://goo.gl/XGaKHx . หมายเหตุ : 1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU 2. ข้อมูล EP.7 ต่อยอดจากการบรรยาย คุณบอย สุวัฒน์ ปฐมภควันต์ Co-Founder and Co-CEO, SKOOTAR บริการเรียกแมสเซ็นเจอร์ออนไลน์ชื่อดังของไทย ที่มาแชร์ความรู้และประสบการณ์ส่วนตัวบนเส้นทางของผู้ประกอบการ SME และ Startup และตอบคำถามว่า “อะไรคือจุดเริ่มต้นให้เราก้าวสู่ความสำเร็จ ?”#Speaker #DNAbySPU 25 March 2017 . จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU www.DNAbySPU.com ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
0 Comments
Leave a Reply. |
DNAbySPUหลักสูตรพัฒนาพันธุกรรม Archives
June 2019
Categories |