#DNAjournal2 #EP2
Think outside the box “คิดนอกกรอบ เพื่อเห็นโลกใหม่” . . "ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน" อาจารย์แพทย์ นักจิตวิทยา และนักเขียน ผู้ริเริ่มแนวความคิดเรื่อง Lateral Thinking (การคิดนอกกรอบ) และได้พัฒนาต่อเนื่องเป็นแนวคิดที่เรียกว่า "Six Thinking Hats (กระบวนการคิดแบบหมวกหกใบ) ได้กล่าวถึงความคิดสร้างสรรค์ว่า . . “ความคิดสร้างสรรค์เป็นส่วนประกอบพื้นฐานของการคิดที่มีอยู่ในศาสตร์ทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร การเงิน การตลาด แรงงานสัมพันธ์ การวิจัยและการแก้ปัญหา การวางแผน ฯลฯ ดังนั้นความเชื่อที่ว่า การคิดสร้างสรรค์เป็นเรื่องของศิลปะ เท่านั้น จึงเป็นสิ่งที่ผิดอย่างมาก” . . ความคิดสร้างสรรค์และการคิดนอกกรอบจะนำไปสู่นวัตกรรมและการค้นพบวิถีทางแก้ปัญหาใหม่ๆ ถ้าหากไม่เกิดความคิดนอกกรอบก็ย่อมจะไม่เกิดความคิดสร้างสรรค์ และ เทคโนโลยีต่าง ๆ ในโลกก็คงจะไม่ก้าวหน้าอย่างที่เป็นอยู่ . . หลายองค์กรทราบดีว่า ในยุคสมัยนี้องค์กรไม่สามารถที่จะหยุดเรียนรู้ หรือต้านทานกระแสน้ำของความเปลี่ยนแปลงได้เลย และความคิดสร้างสรรค์เปรียบเสมือนกุญแจที่จะนำไปสู่นวัตกรรมและการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ จึงได้มีนโยบายสนับสนุน การ ยกระดับความคิดสร้างสรรค์ให้กับคนและองค์กรเพื่อสร้างสรรค์งานให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อที่จะก้าวไปสู่คำว่า “องค์กรแห่งนวัตกรรม” . . . หลักสูตร #DNAbySPU2 ได้รับเกียรติจาก คุณสราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ นักเขียนเจ้าของนามปากกา “นิ้วกลม” ที่มาเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ที่จับต้องไม่ได้และเป็นสิ่งที่ไกลตัวสำหรับคนที่ไม่คุ้ยเคยให้มาเป็น “ความรู้สึก” ที่ทุกคนสามารถเชื่อมโยงและสัมผัสได้ . . เพราะทุกคนล้วนติดอยู่ใน “กรอบความคิด” โดยที่ไม่รู้ตัว และกรอบความคิดจะปิดตาท่านไว้ ไม่ให้มองเห็นความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้นสิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกคือต้องเรียนรู้เสียก่อน ว่ากรอบประกอบไปด้วยด้านไหนบ้าง ? . . เมื่อท่านรู้ถึงด้านต่างๆ ของกรอบความคิดแล้ว ท่านจะสามารถทลายกรอบความคิด ได้ด้วยคำพูดเพียงแค่คำเดียว เป็นคำพูดที่แสนเรียบง่ายแต่ทรงพลัง นั่นคือการตั้งคำถามกับสิ่งรอบตัว . . ด้านที่ 1 คือ “ความพึงพอใจ” เมื่อเราสิ้นสุดความคิดที่คำว่าดีแล้ว โดยธรรมขาติสมองของเราจะหยุดการทำงานทันที ดังนั้นเราจึงควรขยายระยะเวลาการใช้ความคิดออกไปอีกหน่อย ด้วยการตั้งคำถามต่อเนื่องว่า ดีแล้ว...หรือยัง ? เพื่อบังคับให้ทิศทางของความคิดพุ่งเป้าไปที่ความเป็นไปได้ใหม่ๆ . . ด้านที่ 2 คือ “มุมมอง” เมื่อเรามีมุมมองแค่ด้านเดียว เราจะเห็นโลกในแง่มุมที่จำกัด แต่ถ้าเราขยับตัวและยืนมองสิ่งๆนั้นในองศาที่ต่างไป เราจะมีมุมมองอีกด้าน เช่นไฟแช็คถ้าในสายตาของคนที่อยู่ในเมือง อาจจะเหมือนไร้ค่า แต่ถ้าไปอยู่ในป่าที่เต็มไปด้วยสัตว์ร้าย ไฟแช็คอันเดียวกันนั้นจะเป็นสิ่งที่ประเมินค่ามิได้ . . ด้านที่ 3 คือ “ชื่อ” เพราะเมื่อเราได้ยินชื่อ สมองของท่านจะดึงภาพของชื่อนั้นออกมาโดยอัตโนมัติ เช่น “เก้าอี้” ภาพจำคือวัตถุสำหรับรองนั่งที่ต้องมีสี่ขา แต่ถ้าเป็นวัตถุรองนั่งที่มีห้าขาเพื่อรองรับน้ำหนักได้มากขึ้นและเสริมความมั่นคง ท่านจะเรียกว่าสิ่งนั้นว่าเก้าอี้หรือไม่ ? . . ด้านที่ 4 คือ “ความรู้” อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์กล่าวว่า “ท่านไม่มีทางแก้ปัญหาได้ ถ้าท่านใช้ระบบความคิดเดียวกับที่สร้างปัญหานั้นขึ้นมา” ดังนั้นถ้าเกิดปัญหาขึ้น ท่านลองไปดูงานของอุตสาหกรรมอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย ดูซิ ท่านอาจจะเจอวิธีการที่คาดไม่ถึงก็ได้ เช่นถ้าท่านมีปัญหาเรื่องสต้อกสินค้าคงค้าง ลองไปดูวิธีบริหารสต้อกของร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ . . ด้านที่ 5 คือ “ความเชื่อมโยง” บางสิ่งทีต่างกันเมื่อท่านมองหาความเหมือนของสิ่งที่ต่างกัน แล้วนำมาเชื่อมโยงกัน จะเกิดสิ่งมหัศจรรย์ เช่น Post it คือการเชื่อมโยงกันระหว่างการและกระดาษจดขิ้นเล็กๆ . . ด้านที่ 6 คือ “ประสบการณ์” เพราะประสบการณ์คือบ่อเกิดของความคิด ถ้าท่านอยากจะมีความคิดที่หลากหลาย ท่านควรทำสิ่งที่ท้าทายโดยการเดินออกไปนอกความสนใจของตนเอง เพื่อหาเลนส์สายตาใหม่ๆ เช่นทำกิจกรรมแปลกๆ อ่านหนังสือผู้หญิงทั้งๆที่ตัวท่านเองเป็นผู้ชาย ดูหนังหรืออ่านหนังสือแนวที่ไม่คาดคิดมาก่อน . . เป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่งสำหรับองค์กรที่สรรหาคนเก่ง ๆ มาอยู่ในองค์กรแล้วไม่ได้ส่งเสริมให้คนในองค์กรได้เกิดความคิดสร้างสรรค์เพื่อมาใช้ในการพัฒนาหรือสร้างนวัตกรรม . . ดังนั้นท่านที่เป็นผู้นำขององค์กรควรตั้งคำถามกับกรอบข้างต้นเพื่อท้าทายและเพิ่มศักยภาพให้คนในองค์กรของท่าน มีสภาวะของความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา #itsyouYOU . . หมายเหตุ 1. #DNAjournal2 จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU2 2. ข้อมูล EP.2 ต่อยอดจากการบรรยายของ จาก คุณสราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ นักเขียนเจ้าของนามปากกา “นิ้วกลม” ที่มาเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ที่จับต้องไม่ได้และเป็นสิ่งที่ไกลตัวสำหรับคนที่ไม่คุ้ยเคยให้มาเป็น “ความรู้สึก” ที่ทุกคนสามารถเชื่อมโยงและสัมผัสได้ #Speaker #DNAbySPU2 31 September 2017 . . จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU www.DNAbySPU.com ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
1 Comment
10/3/2017 01:00:18 am
เป็นบทความที่ดีมาก หากมีบทความทีดีแบบนี้อีก โปรดส่งมาให้อ่าน เสมอๆ จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง
Reply
Leave a Reply. |
DNAbySPUหลักสูตรพัฒนาพันธุกรรม Archives
June 2019
Categories |