#DNAjournal2 #EP4
. . The science of scent “ถอดรหัส ...วิทยาศาสตร์แห่งกลิ่น” . . ได้ดูรายการนั้นไหม ? ลองจับสิ่งนี้ดูสิ ? ลองฟังเพลงนี้ดูหรือยัง ? . . หลายครั้งที่เรามักเติมคำกริยาว่า “ดู” เข้าไปเวลาพูดถึงการใช้สัมผัสต่าง ๆ นั่นสะท้อนให้เห็นว่า เราให้คุณค่าของ “การมอง” มากกว่าประสาทสัมผัสประเภทอื่น . . ในบรรดาประสาทสัมผัสของมนุษย์ซึ่ง ประกอบไปด้วยสัมผัสทั้ง 5 คือ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส การดมกลิ่นหรือ “นาสิกสัมผัส” นั้นดูเหมือนจะมีความสำคัญน้อยกว่าผัสสะอื่นๆ จึงมักถูกมองข้ามไปอย่างน่าน้อยใจ . . ซึ่งการถูกมองข้าม ก็ส่งผลให้มีการวิจัยและการพัฒนาที่ล่าช้า จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่หลายๆท่านมีมุมมองต่อ นาสิกสัมผัส ว่าเปรียบเสมือน “เครื่องมือสำหรับสร้างความรื่นรมย์” เท่านั้น เช่น การใส่น้ำหอม เพื่อเพิ่มเสน่ห์และความดึงดูดต่อเพศตรงข้าม . . แต่จากงานวิจัยที่ออกโดยนักวิทยาศาสตร์ ได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่าง “กลิ่นกับอารมณ์” เพราะกระแสประสาทของกลิ่นจากจมูกสามารถถ่ายทอดไปที่สมองได้โดยตรง ในส่วนของสมอง “ระบบลิมบิก” (Limbic system) ที่มีหน้าที่เก็บความทรงจำทั้งในระยะสั้นและระยะยาว . . ข้อเท็จจริงนี้แสดงให้เห็นว่า กลิ่นมีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อวิถีชีวิตอย่างมหาศาล และเปิดโอกาสให้ท่านสามารถนำศาสตร์ของกลิ่นมาประยุกต์ใช้กับสิ่งอื่นๆได้อีกมากมาย คำถามคือท่านจะนำศาสตร์นี้ไปใช้ได้อย่างไร ? . . หลักสูตร #DNAbySPU2 ได้รับเกียรติจาก คุณชลิดา คุณาลัย ผู้เจนจัดในสุนทรียะแห่งกลิ่น ที่มาจุดประกายความคิดว่ากลิ่นนั้นสามารถทำอะไรได้บ้าง และทำไมกลิ่นถึงมีส่วนสำคัญในธุรกิจไม่แพ้การโฆษณา . . “กลิ่นช่วยสร้างยอดขาย” คือการใช้ศาสตร์ของกลิ่นนำมาประยุกต์เข้ากับเครื่องมือทางการตลาดที่จะส่งมอบคุณค่าที่สร้างมูลค่าให้กับลูกค้า เช่น ฟอร์ด ผู้ผลิตรถยนต์ชื่อดังที่ศึกษาและพบว่า “กลิ่นคืออีกหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญเมื่อลูกค้าเลือกซื้อรถใหม่” จึงได้ขยายห้องทดสอบกลิ่นประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค ที่นานจิง ประเทศจีน เพื่อสร้างกลิ่นที่คงสภาพในทุกสภาวะการใช้งาน เหมือนกับตอนออกรถใหม่จากศูนย์บริการ หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือ การใช้กลิ่นเพื่อสร้างบรรยากาศของความผ่อนคลายในร้านค้าปลีก ในแนวคิดของ aromatherapy หรือ “สุคนธบำบัด” . . “กลิ่นช่วยส่งเสริมการเรียนรู้” จากรายงานของมหาวิทยาลัยเยล นักจิตวิทยาชื่อ แกรี สจ๊วต ได้ทดลองถามปัญหาที่เกินความรู้ความสามารถของนักศึกษามหาวิทยาลัย เช่น การถอดสมการชุดตัวเลขที่ซับซ้อนในเวลาจำกัด กับนักศึกษาจำนวน 48 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม . . ในกลุ่มแรกก่อนถูกตั้งคำถามให้ดมกลิ่นหอมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย เช่น กลิ่นของดอกไม้ที่ผสมกับกลิ่นของผลแอปเปิ้ล ในขณะอีกกลุ่มไม่ให้ดมอะไรเลย ผลปรากฏว่ากลุ่มแรกจะมีการหายใจสบายๆช้าๆ กล้ามเนื้อมีการผ่อนคลาย ความดันเลือดไม่สูง ความเขินอาย และความตึงเครียดมีน้อยกว่าอีกกลุ่มหนึ่งอย่างเห็นได้ชัด . . “กลิ่นช่วยกระตุ้นความทรงจำ” เรื่องที่เกิดมานานแล้วลืมไปนั้น อาจทำให้หวนระลึกได้อีกด้วย “กลิ่น” นักจิตวิทยา ทริก เอ็งเกน พบว่า คนทั่วไปจำกลิ่นได้ถูกต้อง 65% แม้เวลาจะล่วงมาถึง 1 ปี ในทางตรงข้าม การหวนรำลึกถึงภาพที่เห็นจะลดลงไปราว 50% เมื่อเวลาผ่านไปเพียง 4 เดือน สาเหตุเพราะ “กลิ่น”จะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ ด้วยลักษณะเป็น “ภาพที่สมบูรณ์ของผัสสะทั้ง 5” นอกจากนั้นยังสามารถกระตุ้นอารมณ์ที่รู้สึกในครั้งนั้นได้ด้วย . . ท่านสามารถกลั่นกรองศาสตร์ของ “กลิ่น” และนำไปประยุกต์เพื่อสร้างการเชื่อมต่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดเข้ากับธุรกิจของท่าน เพื่อเติมเต็มสัมผัสทั้ง 5 เพราะ ทฤษฎีสัมผัสทั้ง 5 เป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์มากใน “การออกแบบบริการ” (Service design) . . สิ่งนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ถ้าท่านพยายามศึกษา ค้นคว้าและเรียนรู้ไปเรื่อยๆ จนวันหนึ่งท่านอาจจะได้รู้สึกถึง “กลิ่นแห่งความสำเร็จ” ก็เป็นได้ . . #itsyouYOU . . หมายเหตุ 1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU 2. ข้อมูล EP.4 ต่อยอดจากการบรรยายของ คุณชลิดา คุณาลัย ผู้เจนจัดในสุนทรียะแห่งกลิ่น ที่มาจุดประกายความคิดว่ากลิ่นนั้นสามารถทำอะไรได้บ้าง และทำไมกลิ่นถึงมีส่วนสำคัญในธุรกิจไม่แพ้การโฆษณา #Speaker #DNAbySPU2 7 October 2017 . . จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU www.DNAbySPU.com ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
0 Comments
Leave a Reply. |
DNAbySPUหลักสูตรพัฒนาพันธุกรรม Archives
June 2019
Categories |