#DNAjournal3 #EP15
เข้าใจสื่อยุคใหม่ในวัฒนธรรมไซเบอร์ Cyber Culture . . ปี 1944 Tim Berners Lee นักวิจัยแห่งสถาบันวิจัยเซิร์น ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ได้พัฒนาโปรเจคการจัดเก็บและนำเสนอข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ทในรูปแบบไฮเปอร์เท็กส์ ซึ่งในเวลาต่อมาแนวคิดของเขานั้น โลกรู้จักในนาม “เวิล์ดไวด์เว็บ” (www) บ้านเลขที่ของข้อมูลที่อาศัยอยู่บนโลกออนไลน์ แนวคิดของเขาเป็นก้าวสำคัญของยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ เพราะเอื้ออำนวยให้คนทั่วโลกสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง . . อินเทอร์เน็ตและเวิล์ดไวด์เว็บ ทำให้เกิดการปลี่ยนแปลงหลายๆ ด้าน เกิดการสร้างงาน สร้างข้อมูล สร้างธุรกิจในแบบที่คนทั่วโลกเข้ามามีส่วนร่วมซึ่งกันและกัน แต่สิ่งหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงไปมากคือ “ภูมิทัศน์สื่อ” ถ้าเป็นยุคก่อนที่จะเกิดอินเทอร์เน็ต สื่อคือตัวกลางที่จะถ่ายทอดสารไปสู่ผู้รับสาร เพื่อให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร แต่หลังจากโลกก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ “สื่อใหม่” (New Media) โดยเฉพาะ Social Media ได้กลายเป็นสื่อที่มีความสำคัญในการขับถ่ายขนย้ายข้อมูลที่เกิดขึ้นในโลกนี้มากกว่าสื่อรูปแบบเดิมที่คุ้นเคย (Traditional Media) . . สื่อใหม่นั้นไม่ใช่แค่สื่อที่เกิดขึ้นมาจากไอเดียใหม่ๆ แต่คือสื่อที่ต้องการวิธีบริหารจัดการที่แตกต่างออกไป แต่ปัญหาคือมีผู้ประกอบการและนักการตลาดหลายๆ ท่าน ยังมีความเชื่อว่าถึงแม้สื่อได้เปลี่ยนไปเป็นสื่อยุคใหม่แล้ว แต่วิธีการบริหารจัดการก็น่าจะมีความคล้ายคลึงกับสื่อดั้งเดิมที่คุ้นเคย ซึ่งเป็นวิธีคิดที่ไม่ถูกต้อง เสมือนกีฬาฟุตบอลและฟุตซอล ถึงแม้จะมีวิธีการเล่นพื้นฐานที่ผู้เล่นต้องใช้เท้า ห้ามใช้มือสัมผัสลูกเหมือนกัน แต่ก็มีรายละเอียดของกฎ กติกา เทคนิค แทคติกและวิธีการเอาชนะที่ไม่เหมือนกัน แตกต่างกันตามขนาดของสนามและเวลาแข่งขันที่เปลี่ยนไป . . หลักสูตร #DNA3bySPU ได้รับเกียรติจากคุณนครินทร์ วนกิจไพบูลย์ Editor-in-chief Thestandard.co มานำเสนอโมเดลที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง นำไปสู่ระบบความคิดที่ยิ่งใหญ่และควรค่าแก่การเรียนรู้ในการบริหารจัดการสื่อในยุคใหม่เพื่อการทำธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ . . หัวใจหลักของสื่อใหม่นั้นประกอบไปด้วย 2 ข้อ 1. อนุญาตให้ผู้เสพเข้าถึงเนื้อหาตามความต้องการ ทุกที่ทุกเวลาเพียงแค่มีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต 2. สร้างการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ได้ เช่น การแชร์ การกดไลค์ การแท็กเพื่อน และสามารถรับข้อมูลป้อนกลับได้ในเวลาจริง ซึ่งเป็นสิ่งที่สื่อคุ้นเคยไม่สามารถทำได้ . . เมื่อทำความเข้าใจในธรรมชาติของสื่อใหม่ดีแล้ว และท่านจะมีโปรเจคทำโฆษณาสักแคมเปญหนึ่ง อย่าทำเหมือนแค่ย้ายจอทีวีมาสู่จอมือถือหรือย้ายแม็กกาซีนมาลง Social Media เท่านั้น ท่านต้องคิดใหม่ ทำใหม่ ออกแบบใหม่ให้เหมาะสมกับธรรมชาติของสื่อใหม่ ไม่ว่าจะเป็น การเขียนแคปชั่นที่น่าสนใจ รูปภาพที่ดึงดูด พาดหัวที่จู่โจมจิตใจ ทั้งหมดจะทำให้ผู้เสพนั้นมีพฤติกรรม “โน้มตัวไปข้างหน้า” (Lean Forward) เพื่อแสดงความสนใจและช่วยกระจายให้แคมเปญโฆษณาของท่านไปสู่สนามต่อไปด้วยการเติบโตแบบเท่าทวี . . อาจจะเป็นการยากและต้องใช้เวลาสักพักเพื่อที่จะทำความเข้าใจในวิธีการบริหารจัดการกับสื่อใหม่ เพราะผู้ประกอบการและนักการตลาดส่วนมากเป็นกลุ่มคนที่ถูกขนานนามว่า “Digital Immigrant” (ผู้อพยพสู่โลกดิจิทัล) หมายถึงผู้เกิดก่อนยุคดิจิทัลเฟื่องฟู มีความสนใจและมองเห็นประโยชน์ จึงหันมาศึกษาและเรียนรู้พื้นฐานการใช้งาน อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก หลายคนยังคงชินมือกับระบบอนาล็อกอยู่ จึงปรับให้เข้ากับสไตล์ของตนเอง เช่น สั่งพิมพ์เอกสารบนคอมพิวเตอร์บนกระดาษเพื่อแก้ไข แทนที่จะแก้ในคอมเลย หรือโทรศัพท์ไปถามลูกค้าว่าได้รับอีเมลล์หรือยัง ? . . Bruce Lee นักศิลปะต่อสู้ ได้กล่าวไว้อย่างน่าประทับใจว่า “การมีความตั้งใจเป็นเรื่องที่ดี แต่ความตั้งใจอย่างเดียวยังน้อยไป เราต้องลงมือทำ” การเรียนรู้นั้นถึงแม้ว่ายากแต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะเป็นไปไม่ได้ ขอแค่มีความพยายามผสมกับความมุ่งมั่นตั้งใจ เคลือบไปด้วยความกล้าหาญในการทดลองลงมือทำ ไม่ว่าเส้นชัยไหนๆ ก็คงไม่มีคำว่าไกลเกินไปอย่างแน่นอน . . #itsyouYOU . . หมายเหตุ 1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU 2. ข้อมูล EP.15 ต่อยอดจากการบรรยายของคุณนครินทร์ วนกิจไพบูลย์ Editor-in-chief Thestandard.co มานำเสนอโมเดลที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง นำไปสู่ระบบความคิดที่ยิ่งใหญ่และควรค่าแก่การเรียนรู้ในการบริหารจัดการสื่อในยุคใหม่เพื่อการทำธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ . . #Speaker #DNA3bySPU 19 May 2018 . . จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU www.DNAbySPU.com ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
0 Comments
Leave a Reply. |
DNAbySPUหลักสูตรพัฒนาพันธุกรรม Archives
June 2019
Categories |