#DNAjournal4 #EP10
Shadow Profile เมื่อระบบของ Facebook เข้าใจเรา มากกว่าเราเข้าใจตนเอง . . มีคำกล่าวจากภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งว่า “ถ้าอยากรู้ประวัติของตนเอง จงลงเล่นการเมือง เพราะขั้วตรงข้ามจะหามาแม้แต่สิ่งที่เราลืมไปแล้วก็ตาม” แต่ในตอนนี้ทุกคนสามารถถูกขุดคุ้ยข้อมูลต่างทั้งเรื่องส่วนตัว เรื่องงานและเรื่องที่ไม่ต้องการให้ผู้อื่นล่วงรู้ (เช่น เบอร์บัญชี จำนวนเงินฝาก) . . เชื่อแน่ว่าคนไทยเกือบทุกคนเป็นเจ้าของบัญชี Facebook ซึ่งเป็นหนึ่งในโซเชียลมีเดียที่มีสมาชิกอันดับต้นๆ ของโลก นอกจากท่านจะตื่นตาตื่นใจกับ Content มหาศาลที่เพื่อนๆ ของท่านผลิตออกมา ไม่ว่าจะเป็น รูปถ่าย วิดีโอ คำพูดคมๆ จนถีงการบ่นด่าเรื่องต่างๆ อีกหนึ่งสิ่งที่จะสร้างความประหลาดใจคือ “ Facebook รู้เรื่องส่วนตัวเราได้อย่างไร ?” . . “ช่วยเราให้คะแนนสถานที่แห่งนี้” “คนที่คุณอาจรู้จัก” ข้อความเหล่านี้เคยผ่านตาพวกเรา และสร้างความฉงนสงสัยไม่น้อย ว่าปัญญาประดิษฐ์บังเอิญล่วงรู้กิจกรรมต่างๆ ในชีวิตเราได้อย่างไร ? ทั้งๆ ที่เราไม่ได้บอกผ่านทางการอัพรูปหรือเช็คอินเลย หรือว่าจริงๆ เป็นความตั้งใจของผู้สร้างที่จะให้มีระบบการติดตามข้อมูลของผู้ใช้ . . ประเด็นดังกล่าวถูกจุดมาจากบทความของ Kashmir Hill คอลัมนิสต์ของ Gizmodo ที่ใช้คำเพื่อบรรยายในสิ่งที่ Facebook ทำว่าคือ “Shadow Profile” หรือ “โปรไฟล์เงา” ซึ่งทาง Facebook ไม่ค่อยชอบเท่าไหร่นัก เพราะคำนี้เหมือน Facebook รวมหัวกันทำอะไรลับหลังสมาชิก . . เธออธิบายว่าโดยทั่วไปเรามักจะคิดว่าโซเชียลมีเดียหรือแอปต่างๆ จะเข้าถึงเฉพาะ “ข้อมูลที่เราบอก” ทั้งอย่างเต็มใจ เช่น อัพเดทสเตตัส เช็คอิน โพสต์รูป เช่น ฝังสคริปต์ในเพจที่เราเข้าไปอ่านเป็นประจำ ฝังพิกเซลเพื่อจดจำสินค้าที่เราดูแล้วใช้มาเป็นฐานข้อมูลเพื่อทำ Remarketing แต่ในความเป็นจริงแล้วโซเชียลมีเดียสามารถตั้งค่าให้ล่วงรู้ข้อมูลที่เราไม่ได้เป็นคนบอก แต่คนอื่นบอกอีกด้วย . . สมมุติท่านเช็คอินในสถานที่หนึ่ง ระบบจะทำการตรวจจับคนที่เช็คอินว่ามีใครที่เป็นเพื่อนของเพื่อนของเพื่อนของท่านบ้าง ที่เช็คอินสถานที่เดียวกับท่าน รวมถึงระยะเวลาและการเคลื่อนไหว (เพราะท่านอนุญาตให้ระบบสามารถตรวจจับได้ในกรณีที่ใช้งาน GPS) ระบบจะนำข้อมูลทั้งหมด เพื่อประเมินความเป็นไปได้และเดาสุ่มว่า ท่านมีความเกี่ยวข้องกับคนนี้หรือไม่ และประมวลออกมาเป็น “คนที่ท่านอาจรู้จัก” . . พูดง่ายๆ Shadow Profile ก็คือ นักสืบที่ทำงานอย่างหนักเพื่อสืบค้นข้อมูล และนำสิ่งที่ได้ทั้งหมดมาปะติดปะต่อกัน และคาดเดาความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้นในอนาคต . . เราคงเคยเห็นโฆษณารณรงค์ไม่ให้แสดงข้อมูลส่วนตัวลงในโซเชียล เพื่อเหตุผลด้านความปลอดภัย แต่ถ้าข้อมูลส่วนตัวของเราถูกเปิดเผย โดยที่เราไม่ได้เป็นผู้เปิดเผยเอง แต่คนอื่นเปิดเผย เราจะป้องกันตัวอย่างไร ? . . มาตรการป้องกันปัญหานี้ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน เพราะแม้แต่ในช่วงที่ Mark Zuckerberg ให้การกับวุฒิสมาชิกสหรัฐเกี่ยวกับการใช้ข้อมูล เพื่อแทรกแซงการเลือกตั้งที่ Donald Trump เป็นผู้ชนะ ในประเด็น Shadow Profile Mark ตอบว่า “ผมไม่คุ้นเคยกับ Shadow Profile มาก่อนเลย” แต่ในภาพถ่ายโต๊ะทำงานและคอมพิวเตอร์ของเขา มีคนสังเกตว่าเขาเอาเทปใสปิดช่องไมค์โครโฟนและกล้องไว้ ซึ่งบอกเป็นนัยๆ ได้ว่าเขารู้ว่ามีสิ่งที่เรียกว่า Shadow Coding ในโลกนี้ แต่เขาได้นำมาใช้กับ Facebook ที่เขาสร้างขึ้นหรือเปล่า อันนี้ก็ต้องติดตามกันต่อไป . . โดยสรุปคือเราแทบจะไม่สามารถป้องกัน Shadow Profile ได้เลย เพราะ Facebook บอกว่าเมื่อสมาชิกกดยืนยันลบบัญชีแล้ว ระบบจะทำการลบข้อมูลทุกอย่างภายใน 90 วัน (แต่ไม่รู้ว่าสำรองข้อมูลไว้หรือเปล่า) แต่เราสามารถจำกัดความเสียหายได้ วิธีง่ายๆ คือเลิกเล่นเกมที่อยู่ใน Facebook เลือกคนที่จะรับเป็นเพื่อน และบอกคนใกล้ตัวให้ตระหนักถึงประเด็นนี้ ก่อนที่จะให้ข้อมูลแก่ Facebook . . เพราะคงไม่มีใครอยากให้มีกล้องนั่งเล่นที่เชื่อมต่อกับระบบ Wifi ตั้งอยู่ในบ้าน ดังนั้นนี่อาจเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่รอนักพัฒนาหรือสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ออกสินค้าหรือบริการเพื่อแก้ไขปัญหานี้ . . #itsyouYOU . . หมายเหตุ 1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU 2. ข้อมูล EP.10 ต่อยอดจากการบรรยายของคุณอาทิตย์ ธำรงธัญวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็ตทรี จำกัด และพิธีกรรายการเกาเหลาไอที มาอธิบายถึงความอันตรายของการโดนจารกรรมข้อมูลและสิ่งที่พวกเราสามารถทำได้ เพื่อหยุดยั้งและไม่เป็นส่วนหนึ่งของปัญหานั้นๆ . . #Speaker #DNA4bySPU 16February 2019 . . จัดทำโดย หลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU www.DNAbySPU.com ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
0 Comments
Leave a Reply. |
DNAbySPUหลักสูตรพัฒนาพันธุกรรม Archives
June 2019
Categories |