#DNAjournal4 #EP5 บริหารแบรนด์เฉกเช่นบริหารความสัมพันธ์มนุษย์ . . ยุคนี้เป็นยุคสมัยที่ไม่ว่าจะซื้อของหรือหาของมาขายก็ง่ายพอกัน ดังนั้นในสมัยที่ใครๆ ก็สามารถขายของได้ ท่านจะสร้างความแตกต่างได้อย่างไร ? . . นั่นเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ “แบรนด์” เป็นกลไกสำคัญของความสำเร็จ เพราะในกระบวนการ Blind test ลูกค้าแทบจะบอกไม่ได้เลยว่าแต่ละสินค้า มีความแตกต่างกันในด้านใด ? แต่เมื่อไหร่ที่กลุ่มตัวอย่างแค่เห็นแบรนด์แว้บเดียวก็รู้สึกถึงความต่างได้ทันที . . แล้ว “แบรนด์” คืออะไร ? ถ้าถอดความตามพจนานุกรมแล้ว คำว่าแบรนด์เป็นภาษาต่างประเทศ เป็นการแปลมาจากคำว่า ตรา สัญลักษณ์ ในภาษาไทย ซึ่งรวมไปถึงรูปแบบ สี ตัวอักษรและบรรจุภัณฑ์ ดังนั้นคำว่าแบรนด์คงไม่ได้หมายถึงสิ่งที่เห็นได้ด้วยตาเท่านั้น แต่คงแปลว่า “ความทรงจำ” มากกว่า . . ยกตัวอย่างง่ายๆ เวลาที่ท่านรู้สึกไม่สบายปวดเนื้อเมื่อยตัว ทำไมท่านถึงเดินไปหาคุณหมอที่โรงพยาบาล ? เพราะท่านมีความทรงจำว่าคุณหมอมีความรู้และเชี่ยวชาญในชีววิทยาและศาสตร์การใช้ยา จนสามารถวินิจฉัยและจ่ายยาเพื่อบรรเทาอาการของท่านได้ . . ด้วยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตและ Social Media ที่เปลี่ยนแปลงทุกสิ่งไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เกือบทุกศาสตร์ในโลกต้องเปลี่ยนแปลงไป เพื่อไม่ให้สูญหายไป ไม่เว้นแม้แต่วิธีคิดในการบริหารแบรนด์ . . ในสมัยก่อนตอนที่สื่อหลักเช่น โทรทัศน์ วิทยุและสิ่งพิมพ์ครองโลก การจะผลิตโฆษณาเพื่อการสื่อสารแบรนด์แต่ละชิ้นต้องใช้ขั้นตอนและเวลา ซึ่งขั้นตอนของการเสียเวลาเกือบทั้งหมดอยู่ที่การอนุมัติ ตรวจแล้วตรวจอีกไล่จากเจ้าหน้าที่ไปถึงผู้บริหาร ตรวจจนแน่ใจแล้วว่าไม่มีจุดผิด ถึงจะให้อนุมัติให้ออกอาร์ทเวิร์คได้ . . ในสมัยก่อนทำได้เพราะการจะออกสื่อแต่ละครั้งต้องใช้เวลาจองสื่อ ผลิต ถ่ายทำ ตัดต่อ ทุกขั้นตอนต้องทำอย่างดี แต่สมัยนี้ไม่ใช่แล้ว เพราะการที่อุปกรณ์ผลิตสื่อทุกอย่างมาอยู่บนมือถือสมาร์ทโฟน ทำให้ความเร็วมีความสำคัญกว่าคุณภาพ . . ข่าวฮอตในนาทีนี้อีก 15 นาทีต่อมาก็ไม่ฮอตแล้ว ดังนั้นกลยุทธ์ในการแย่งชิงพื้นที่ข่าวที่ดีที่สุดคือ “นำกระแสนั้นมาให้เป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์” และหากแบรนด์ใดมีความสามารถในการผสมเรื่องราวของตนเองเข้ากับกระแสได้เร็วกว่า สนุกกว่า สร้างสรรค์กว่า ก็ย่อมเป็นผู้ชนะในสนามแข่งความเร็วแห่งนี้ . . แต่การล้อกับกระแสด้วยความรวดเร็วก็มักจะมีข้อผิดพลาดตามมา ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ผิด ภาพไม่ชัด ตัดต่อไม่เนียน ลงวันที่หรือรายละเอียดไม่ครบถ้วน ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องคอขาดบาดตายสำหรับทีมการตลาดในสมัยก่อน แต่ในวันนี้ไม่ใช่ปัญหา เพราะเพียงแค่ยอมรับ ก้มหัวและกล่าวคำขอโทษอย่างจริงใจ ชาวเน็ตก็พร้อมจะให้อภัยแล้ว . . แง่มุมในการบริหารแบรนด์เปลี่ยนไปแม้แต่ภาษาที่ใช้ แรกเริ่มเดิมทีแบรนด์ต้องใช้ภาษาที่เป็นทางการดูเท่ห์ๆ คมๆ โทนเสียงหล่อสวย จนหลายครั้งสร้างความอึดอัดและน่ากลัวเพราะสุภาพเกินมนุษย์ แต่ตอนนี้เพจที่ได้รับความนิยมคือเพจที่ใช้ภาษาเฉพาะกลุ่ม จิกกัดให้พอแสบคันแต่ไม่ถึงขั้นพูดจาหยาบคาย . . นั่นเป็นหลักฐานที่ชี้ชัดว่า “ลูกค้ามองแบรนด์เสมือนมนุษย์คนหนึ่ง” ที่มีอารมณ์อยู่เหนือเหตุผล ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ที่มีแต่เหตุผลและไร้อารมณ์ความรู้สึก ประกอบกับ Social Media ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อเชื่อมต่อกับมนุษย์ด้วยกัน แสดงว่าการที่เขาเป็นเพื่อนกับแบรนด์ก็แสดงว่าเขาต้องการความสัมพันธ์ฉันท์มนุษย์ . . ดังนั้นถ้าแบรนด์มีตัวตนใน Social Media ก็ควรปฎิบัติตนเหมือนสิ่งมีชีวิต ที่รู้จักเห็นอกเห็นใจลูกค้า ไม่ใช่ทำตัวเหมือนจักรกลที่ไร้ชีวิตที่ทุกอย่างต้องทำตามกฏเพียงอย่างเดียว . . #itsyouYOU . . หมายเหตุ 1. #DNAjournal จัดทำเพื่ออธิบายต่อยอดข้อมูลการบรรยายของ Speaker ในหลักสูตร #DNAbySPU 2. ข้อมูล EP5 ต่อยอดจากการบรรยายของคุณมัญฑิตา จินดา ผู้อำนวยการฝ่าย Digital Marketing Workpoint Entertainment . . #Speaker #DNA4bySPU 26 January 2019 . . จัดทำโดยหลักสูตร #DNAbySPU :: Digital Network Advantage , Digital Business Management Department, Sripatum Business School, #SPU www.DNAbySPU.com ใช้ #DigitalMarketing เพื่อให้เกิดภาพจำ และเป็น DNA ของตัวเอง
0 Comments
Leave a Reply. |
DNAbySPUหลักสูตรพัฒนาพันธุกรรม Archives
June 2019
Categories |